อาการปวดหลังขณะตั้งครรภ์นับเป็นอาการปกติสำหรับคุณแม่ที่ต้องแบกรับน้ำหนักลูกในท้อง แต่ในกรณีที่คลอดลูกแล้วแต่อาการปวดหลังยังคงอยู่ เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง และอันตรายหรือไม่

แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังเตือนคุณแม่หลังคลอดอาจต้องเผชิญกับอาการปวดหลัง แนะอย่าชะล่าใจ เพราะนี่อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคกระดูกสันหลังได้

นพ.ชุมพล คคนานต์ แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเอส สไปน์ เผยว่า เนื่องจากการตั้งครรภ์ทำให้โครงสร้างร่างกายคุณแม่เกิดการเปลี่ยนแปลง เพื่อแบกรับน้ำหนักของทารกที่เพิ่มขึ้นตามอายุครรภ์ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังระหว่างตั้งครรภ์ และถ้าหากไม่มีการดูแลตัวเองในช่วงหลังคลอดอย่างถูกวิธี ก็อาจทำให้คุณแม่ฟื้นตัวได้ช้าและมีอาการปวดหลังรุนแรงมากขึ้น จนโครงสร้างกระดูกผิดปกติ หมอนรองกระดูกมีปัญหา กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรืออาจอันตรายถึงขั้นพิการได้

ภาพจาก iStock
ภาพจาก iStock

เพราะโดยปกติแล้วในช่วงหลังคลอดร่างกายจะปรับสู่สภาพปกติได้ใน 1-2 เดือน แต่หากไม่ระวังอิริยาบถ คือมีลักษณะท่าทางการอุ้มลูกที่ผิด หรือท่าทางในการให้นมที่ไม่ถูกต้อง ก็อาจส่งผลให้คุณแม่ปวดคอ และปวดกล้ามเนื้อหลัง เพราะอาการปวดมันเกิดจากการที่กระดูกสันหลังทำงานหนักมากเกินไป ทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อม ทำให้ปวดหลังจากน้ำหนักเยอะ โดยเฉพาะคนที่มีลูกแฝดก็จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดหมอนรองกระดูกเสื่อมได้มากกว่า

...

นพ.ชุมพล คคนานต์ แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเอส สไปน์
นพ.ชุมพล คคนานต์ แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเอส สไปน์

อาการปวดหลังของคุณแม่หลังคลอด

อย่างไรก็ตาม อาการปวดหลังหลังคลอดในบางรายส่วนใหญ่จะหายไปเอง เพราะพอน้ำหนักลงก็จะทำให้อาการปวดมักจะดีขึ้น แต่ว่าในรายที่มีหมอนรองกระดูกเสื่อมหรือปลิ้นตอนช่วงที่ท้องอยู่ อันนี้มันอาจจะมีอาการหลงเหลืออยู่ เมื่อไรก็ตามที่ไปอุ้มลูกเยอะๆ เดินเยอะๆ ยกของหนักเหมือนกัน ก็จะมีอาการปวดหลังร้าวลงขา หรือมีอาการชาที่น่องหรือปลายนิ้วเท้า ทั้งนี้ คุณแม่ควรสังเกตอาการตัวเอง คือ

  1. ถ้าอุ้มลูกแล้วมีอาการปวดหลัง
  2. ถ้าอุ้มลูกแล้วมีอาการปวดสะโพกร้าวลงขาชัดเจน ควรรีบพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อหาสาเหตุ

วิธีป้องกันอาการปวดหลังของคุณแม่หลังคลอด

นอกจากนี้ นพ.ชุมพล ยังแนะนำท่าอุ้มลูกที่ถูกต้องเพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรคกระดูกสันหลัง คือ

  1. เวลาต้องอุ้มลูกก็คือต้องหลังตรง คุกเข่า ย่อเข่าลง อุ้มลูกขึ้นมาก่อนแล้วก็ค่อยยืนขึ้นแบบหลังตรง ที่ต้องใช้กล้ามเนื้อต้นขาจากสะโพก แขน หลัง
  2. ออกกำลังเพื่อเสริมกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรง เพราะแน่นอนน้ำหนักของลูกต้องโตขึ้นทุกวัน ทำให้น้ำหนักลูกเพิ่มขึ้นทุกวัน ดังนั้นการใช้งานจะต้องเพิ่มขึ้น เราจึงต้องเสริมกล้ามเนื้อหลังของเราด้วยการออกกำลังกาย ส่วนกีฬาที่ดีที่สุดคือการว่ายน้ำ หรือถ้าไม่สะดวกว่ายน้ำ อาจจะต้องมีท่ากายบริหารทุกวันเพื่อให้กล้ามเนื้อหลังแข็งแรง และใช้งานได้โดยไม่มีอาการปวด
ภาพจาก iStock
ภาพจาก iStock

วิธีรักษาอาการปวดหลังของคุณแม่หลังคลอด

วิธีรักษาอาการปวดหลังของคุณแม่หลังคลอดสามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยว่าอยู่ในระดับใด ซึ่งมีตั้งแต่การกินยา การทำกายภาพบำบัด ไปจนถึงการผ่าตัด

...

นพ.ชุมพล ยกตัวอย่างเคสคุณแม่ที่เจอล่าสุดคือ มีอาการปวดสะโพกร้าวลงขา ความปวดอยู่ระดับ 9-10 เมื่อมาตรวจแล้วคนไข้ตัดสินใจผ่าตัดเลย เพราะไม่อยากกลับไปวนลูปกินยา กายภาพบำบัด และไม่หายสักที ซึ่งก่อนหน้านี้เขาซื้อยากินเอง ไปคลินิกใกล้บ้านก็ได้ยามากิน ไม่ได้ x-ray หรือ MRI แต่มาที่โรงพยาบาลเอส สไปน์ แพทย์จะทำการ x-ray ร่วมกับการทำ MRI จึงพบว่าสาเหตุของอาการปวดเกิดจากหมอนรองกระดูกปลิ้นกดทับเส้นประสาทเยอะพอสมควร พอรักษาเสร็จอาการปวดสะโพกร้าวลงขาของเขาหายไปเหมือนไม่มีอาการปวด

นพ.ชุมพล ยังฝากทิ้งท้ายว่า หากคุณแม่มีความกังวลเรื่องอาการปวดหลัง อยากให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เฉพาะทางและโรงพยาบาลที่น่าเชื่อถือ เพราะการรักษาที่มีความแม่นยำอาศัยเทคโนโลยีที่ดีที่สุด จะทำให้การรักษาลุล่วงไปด้วยดีและปลอดภัย

ภาพจาก : iStock