เป็นโชคดีของมนุษย์โลกที่ในสหรัฐฯมีกฎหมายความโปร่งใสของข้อมูลที่ต้องเปิดเผย ดังนั้นทำให้เราได้รับทราบจากเอกสาร 1400 หน้า และมีสื่อต่างประเทศนำมาเปิดเผยมากมายจาก US right to know รวมทั้งจาก Jim Haslam

ระลอกที่หนึ่งของการเปิดโปง Ralph Baric มหาวิทยาลัย North Carolina ในปี 2018 ได้ประกาศถึงความสำเร็จในการประกอบร่างจากลูกผสมสองชิ้น (ไคมีรา chimera) จากค้างคาว ซึ่งมีความแตกต่าง 20% จากซาร์สหนึ่งที่ได้เคยระบาดไปแล้วในปี 2003

สองชิ้นที่ว่า ชิ้นส่วนแรกเป็นส่วนของท่อนที่จะจับติดกับมนุษย์ คือส่วนหนาม S1 จากค้างคาว 293 ซึ่งต่างจากซาร์สหนึ่ง 20 เปอร์เซ็นต์ และชิ้นที่สองคือส่วน S2 จากค้างคาวเช่นกัน HK3 โดยมีความต่าง 20%

ทั้งนี้ โดยมีความนัยว่า การสร้างไวรัสใหม่ชนิดนี้จะสามารถครอบคลุมไวรัสที่จะแพร่และเกิดโรคระบาดในมนุษย์ได้ทั้งสิ้น และสามารถที่จะสร้างวัคซีนให้มนุษย์ก่อนได้ ทั้งนี้ เมื่อเกิดการระบาดของโควิด ปรากฏว่าโควิดนั้นมีความต่างจากซาร์สหนึ่ง 22% ความคิดในการสร้างไวรัสที่มีความต่างจากซาร์สหนึ่ง ในลักษณะเช่นนี้ Baric ได้เปิดเผยในที่ประชุมของไวรัสโคโรนา โดยอธิบายว่าถ้ามีความต่างมากกว่า 25% จะไม่สามารถสร้างลูกผสมที่จะติดมนุษย์ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆได้

...

Baric ขนานนามทฤษฎี 25% นี้ว่าเป็น bookend ซึ่งคงไม่ได้หมายความว่าเป็นคันที่ตั้งหนังสือ แต่หมายถึงจุดที่จะจบแล้วของกระบวนการไวรัสโคโรนาที่จะระบาดในมนุษย์ โดยมีตัวที่เป็นมาตรฐานของไวรัสโคโรนาที่จะระบาดทั่วโลก Baric พยายามที่จะหาตัวอย่างไวรัสจากค้างคาวที่มีความต่างไม่เกิน 25% โดยนำจากค้างคาวชื่อ ไวรัส RaTG13 ที่เก็บในสถาบันวิจัยไวรัสอู่ฮั่นตั้งแต่ปี 2013 โดยมีความต่าง 24.6%

หกเดือนก่อนหน้า การระบาดของโควิดในปี 2019 ทฤษฎีนี้ ได้เสนอขอทุนจากสถาบันสาธารณสุข สหรัฐฯ NIH NIAID ในชื่อโครงการ CREID (center for Research in emerging infectious diseases) และได้รับอนุมัติทุนไปแล้ว ที่สำคัญก็คือมีการให้ทุนในประเทศไทยด้วย และมีหน่วยงานภาครัฐ สถาบันวิชาการ องค์กรในไทยปฏิบัติงานภายใต้ CREID นี้

โครงการนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะหาไวรัสที่มีความต่างไม่เกิน 25% และไวรัสโควิดที่ปรากฏตัวแพร่ระบาดทั่วโลกตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นมามีความต่าง 22% จึงอาจจะเรียกได้ว่าแผนปฏิบัติงานเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว

ไม่เพียงแต่เท่านั้น ในโครงการนี้ยังมุ่งที่จะเน้นหาไวรัสที่เกิดการระบาดไปแล้ว นั่นก็คือไวรัสในกลุ่มอีโบลา (Filoviruses) และ กลุ่มนิปาห์ (Nipah virus ที่เกิดการระบาดสมองอักเสบและปอดบวม) โดยหาไวรัสจากค้างคาวที่มีความต่างไม่เกิน 10% และนี่เป็นเหตุผลว่าองค์กรและสถาบันวิชาการของประเทศไทยทำไมถึงยังคงหาไวรัสในกลุ่มของโควิดกลุ่มของอีโบลาและนิปาห์อยู่ โดยให้ความต่างน้อยที่สุดไม่เกิน 10% เพื่อที่จะสามารถเข้าติดเชื้อในมนุษย์และเกิดการระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

ระลอกที่สองของการเปิดโปง คือ ความเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยดุ๊ก Duke NUS medical school ของสิงคโปร์ Linfa Wang และ Danielle Anderson ในปี 2018 ที่มีการเสนอขอทุนโครงการ DEFUSE ซึ่งเป็นต้นแบบของ CREID โดยเสนอต่อ DARPA กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ แต่ไม่ได้รับการอนุมัติ เพราะสุ่มเสี่ยงต่ออันตราย แต่ในที่สุดก็ พลิกแพลงเสนอต่อ NIH แทน ในนามโครงการ CREID

Duke มีบทบาทที่สถาบันอู่ฮั่นในการทดลองวัคซีนที่ใช้กับค้างคาว โดยในโครงการ DEFUSE นั้น Danielle เป็นคนรับผิดชอบในการทดลองในสัตว์ โดยที่มีความเชี่ยวชาญในการศึกษาในไวรัสและสัตว์ทดลองหลายชนิด ในปี 2019 ปฏิบัติงานเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านภูมิคุ้มกันในค้างคาวที่สถาบันวิจัยไวรัสอู่ฮั่น และในเดือนพฤศจิกายน 2019 ได้ออกจากสถาบันอู่ฮั่นโดยไม่ทราบเหตุผลและไม่เคยเปิดเผยบทบาทในโครงการ DEFUSE ที่ขอ DARPA Linfa Wang ถือเป็นปรมาจารย์ในเรื่องค้างคาว ของโลกและเป็นบรรณาธิการในวารสาร อันดับหนึ่งรวมทั้งวารสาร virology และลาออกจาก ผู้อำนวยการของสถาบันโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ของ Duke

ส่วน Danielle เป็นผู้อำนวยการของห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับสาม ที่ Duke รับผิดชอบงานในสัตว์ทดลองโดยมีความเชี่ยวชาญในด้านอณูชีววิทยา และกลุ่มไวรัส RNA

...

ระลอกที่สามของการเปิดโปง Valentine Brutelle วิเคราะห์ให้เห็นว่าไวรัสโควิดนั้นเป็นผลของการเอ็นจิเนียร์ (reverse genetic system) ทางห้อง lab จากชิ้นส่วนพันธุกรรม cDNA หกท่อนที่นำมาเรียงต่อกันโดยใช้ restriction endonuclease ที่สำคัญ โดยที่ Baric ด้วยซ้ำ ได้ตีพิมพ์การสร้างไวรัสจากท่อนของ DNA ให้กลายเป็นสายเต็มของพันธุกรรมเช่นโควิด และมีการเปิดเผยใน YouTube ที่แสดงให้เห็นถึงการประกอบร่างของไวรัส ในโครงการ DEFUSE 2018 Baric ได้ให้รายละเอียดของการใช้เอนไซม์ BsmBI ที่พบในไวรัสโควิดเช่นเดียวกัน และได้มีการตีพิมพ์ในวารสาร Cell ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2020 (หลังจากที่มีการระบาดของโควิดแล้ว) โดยแสดงการสร้างไวรัสโควิด ว่ามีความง่ายเพียงใด และศึกษาเนื้อเยื่อตำแหน่ง ที่ไวรัสโควิดชอบไปอยู่ เช่น ตามระบบทางเดินหายใจในส่วนต่างๆ โดยที่ไม่ได้มีการพูดถึงที่คณะของตนเองมีการวางแผนล่วงหน้าในการสร้างไวรัสโควิดอยู่แล้ว และในปี 2020 Baric ผันไปใช้ restriction enzymes ตัวอื่น ในการประกอบร่างโควิด ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่าเป็นการเบี่ยงเบนความเชื่อมโยงกับโควิด

ระลอกที่สี่ของการเปิดโปง Baric ได้สร้างสรรค์ผลงานที่ตนเองภูมิใจ ทั้งในการที่สามารถสร้างไวรัสโควิดในหลอดทดลอง และที่สำคัญก็คือตำแหน่งที่ทำให้มีความสามารถติดเชื้อในมนุษย์และเกิดโรคได้ นั่นก็คือ furin cleavage site ซึ่งชิ้นส่วนรหัสพันธุกรรมนี้ Baric เองเป็นคนแสดงในการที่จะตัดต่อส่วนนี้เข้าไปที่รอยต่อของส่วนหนาม S1 กับ S2 (R667)

...

ระลอกที่ห้าของการเปิดโปง Tim Sheahan ทีมของ Baric ถือเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านพันธุกรรมและมีลูกทีมหลายคนที่รับผิดชอบในแต่ละส่วนของการเชื่อมสายพันธุกรรมของไวรัส

ในวันที่ 11 ธันวาคม 2019 Tim ได้แชร์สกรีนช็อต จากหน้าจอคอมพิวเตอร์ แสดง BatSRBD ซึ่งเป็นข้อมูลรหัสพันธุกรรม ที่จำเพาะ consensus sequence ของ UNC มหาวิทยาลัย North Carolina ที่ตีพิมพ์ ในวารสาร PNAS “synthetic recombinant bat SARS-like coronavirus is infectious in cultured cells and in mice” ในปี 2008 ทั้งนี้เป็นการสังเคราะห์ในห้องทดลอง ทั้งหมดของตัวไวรัสโคโรนาที่มีขนาด 27.9 kb เรียกว่า bat SARS like coronavirus (Bat-SCoV) โดยถือว่าสามารถเป็นตัวแทนต้นกำเนิดของการระบาดซาร์ส และมีความสามารถในการติดเชื้อในเซลล์และในสัตว์ทดลอง

นอกจากตัวนี้แล้ว ไวรัสโควิดเองถือเป็นการคัดเลือกจัดสรรจากจีโนม ไวรัสโคโรนาของค้างคาวซึ่งรวมทั้ง RaTG13 Laos Banal Thailand Cambodia ทั้งนี้ ตัวอย่างไวรัสจากค้างคาวนานาชนิดที่มีศักยภาพในการทำให้เกิดโรคระบาดจะเก็บในตู้เย็นที่ North Carolina ของ Baric และทำเป็น Genetic แพลตฟอร์ม ที่จะสร้างเป็นตัวไวรัสโควิดที่ดีที่สุด และในที่สุดแล้วก็ได้ตัว 293 และ HK3 ดังได้กล่าวในข้างต้น

...

ในการแถลงข่าวร่วมกันของ Baric กับ Fauci ในปี 2020 Baric ได้กล่าวถึง 25% bookend ที่จะต้องศึกษาวิจัยเพื่อ ป้องกันการระบาดทั่วโลกในครั้งต่อไป โดยไม่ได้แถลงถึงการวิจัยที่ผ่านมาในการสร้างไวรัส โดยที่มีพิมพ์เขียว อยู่แล้วของโควิด

Baric ให้สัมภาษณ์ก่อนหน้าที่จะมีการเปิดโปง ในเดือน กันยายน 2021 ของโครงการ DEFUSE โดยได้ปฏิเสธว่า “ไม่เคยส่งข้อมูลพันธุกรรมของไวรัสลูกผสม clones หรือตัวไวรัส” ให้สถาบันวิจัยไวรัสอู่ฮั่น

อย่างไรก็ตาม Fauci ได้อนุมัติเงินทุน 65,000,000 เหรียญ ให้กับ UNC Baric ในโครงการพัฒนายาต้านไวรัส rapidly emerging anti-viral drug development initiative (READDI)

และอย่าลืมว่าสิทธิบัตรของข้อมูลพันธุกรรมของไวรัสโควิดเป็นของ Baric และ NIH ตั้งแต่ปี 2018.

หมอดื้อ

คลิกอ่านคอลัมน์ "สุขภาพหรรษา" เพิ่มเติม