เนื่องในวันมะเร็งโลก ประจำปี 2567 โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จัดโครงการรณรงค์ Stand up to CANCER Together ภายใต้ธีม Close the Care Gap ลดวิกฤติปิดช่องว่าง ลุกขึ้นสู้มะเร็งไปด้วยกัน ร่วมรณรงค์ลดวิกฤติโรคมะเร็งในประเทศไทย สร้างการตระหนักแก่ประชาชน เพราะทุกคนสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดอุบัติการณ์โรคมะเร็งได้
พร้อมทั้งผลักดันและร่วมมือกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติของประเทศ ไทย เพื่อร่วมกันลดวิกฤติ ปิดช่องว่างให้คนไทยสามารถเข้าถึงการป้องกันดูแลและรักษาโรคมะเร็งที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม โดยมี รศ.นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ผู้อำนวยการโรง พยาบาลจุฬาภรณ์ เป็นประธานเปิดกิจกรรม พร้อมด้วยภาคีเครือข่ายได้มาร่วมกิจกรรมที่ชั้น 1 โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ขนาด 400 เตียง ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่
ภายในงานได้จัดบริการวิชาการเสวนาให้ความรู้ครอบคลุมทุกมิติของโรคมะเร็งจากคณะแพทย์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ และยังมีการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็ง อาทิ เสวนาช่วง “ยืนหยัดลุกขึ้นป้องกันมะเร็ง” เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนได้ตระหนักถึงการป้องกันและคัดกรองเพราะมะเร็งรู้เร็วรักษาทันและรู้ถึงสิทธิประโยชน์จากทางภาครัฐที่คนไทยสามารถเข้าถึงได้ พร้อมทั้งรณรงค์เชิญชวนสตรีไทยอายุระหว่าง 30-59 ปี เข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเอง HPV DNA Self-sampling ฟรี “เลิกเขิน เลิกอาย ไม่ต้องขึ้นขาหยั่ง”
...
ซึ่งเป็นชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้โครงการกองทุนส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยมีสำนักอนามัย กรุงเทพ มหานคร โดยศูนย์บริ การสาธารณสุข 53 ทุ่งสองห้องเข้าร่วมให้บริการประชาชนและการเสวนา “มะเร็งรุกมา เราลุกขึ้นสู้ด้วยกัน” ที่มาสร้างความรู้ความเข้าใจถึงนวัตกรรมความก้าวหน้าในการรักษาโรคมะเร็ง ทั้งในด้านของการตรวจวินิจฉัยและรักษาทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ที่รวดเร็วและแม่นยำ การรักษามะเร็งทางโรคเลือดด้วยการปลูกถ่ายไขกระดูกโดยการใช้เซลล์ตัวเองบำบัด (Autologous Stem Cell Transplant)
โดยโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ได้นำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งชนิด Multiple Myeloma โดยผู้ป่วยที่ใช้สิทธิข้าราชการสามารถเบิกจ่ายตรงเพื่อเข้าถึงการรักษาด้วยนวัตกรรมดังกล่าวได้อีกด้วย ปิดท้ายการเสวนาด้วยการ “เติมเต็มการดูแลเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยมะเร็ง” ทั้งในด้านการวางแผนมีบุตรสำหรับผู้เป็นมะเร็ง ที่มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ถึงการปิดช่องว่างของข้อจำกัดดังกล่าวของโรงพยาบาลจุฬา ภรณ์ ด้วยการเปิดบริการให้ยาเคมีบำบัดที่บ้าน สำหรับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ หรือ Home Chemotherapy เพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ลดวิกฤติปัญหาเรื่องเตียงเต็มและเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วยมะเร็งและญาติที่สามารถใช้ชีวิตตามปกติได้ในขณะให้ยาเคมีบำบัด เป็นต้น.
อ่าน "คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ" ทั้งหมดที่นี่