ยาลดกรด ยี่ห้อไหนดี ยาลดกรดเป็นยาสามัญประจำบ้านที่ซื้อติดบ้านไว้ได้ บรรเทาอาการไม่สบายท้อง มีกรดไหลย้อนเล็กน้อย ยาลดกรดที่จำหน่ายทั่วไปมีหลายแบบ ตามสาเหตุของอาการปวดท้อง แน่นท้อง ยาลดกรดในกระเพาะอาหารมีทั้งแบบเม็ด และแบบน้ำ ยาลดกรดกินตอนไหน มีข้อห้ามอย่างไร ติดตามได้ที่บทความนี้
ยาลดกรด คืออะไร ต้องกินเมื่อไหร่
ยาลดกรด ไม่ได้มีแค่ยาลดกรดในกระเพาะแบบเม็ด หรือยาลดกรดไหลย้อนแบบน้ำเท่านั้น ยาลดกรดมีทั้งยากิน ไปจนถึงยาฉีด ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย ผู้ที่มีอาการระคายเคืองกระเพาะอาหารแรกๆ โดยที่ไม่เคยมีประวัติโรคกระเพาะมาก่อนก็อาจหาซื้อยาลดกรดมาลดบรรเทาอาการจุกเสียดได้ชั่วคราว แต่ผู้ที่มีอาการโรคกรดไหลย้อน หรือมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่กินอาหารบางประเภท จนร่างกายสูญเสียสมดุลสร้างกรดขึ้นมามากเกินไป ก็ต้องกินยาลดกรดตามแพทย์สั่ง เพื่อให้ยับยั้งการสร้างกรดจากต่อมผลิตน้ำย่อย
ยาลดกรด แบบเม็ด มียี่ห้อไหนบ้าง
ยาลดกรดแบบเม็ด แบ่งคร่าวๆ ได้ 2 แบบ คือยาเม็ดแบบเคี้ยว ลดจุกเสียด เคลือบกระเพาะ มีตัวยา อะลูมิเนียม ไฮดรอกไซด์,แมกนีเซียม ไทรซิลิเคต และ ไซเมทิโคน ซื้อเป็นยาสามัญประจำบ้านติดบ้านไว้ได้ แต่หากเป็นยาประเภทยับยั้งการสร้างกรดจากผนังเซลล์ทางเดินอาหาร เพื่อรักษาโรคกระเพาะอาหารและทางเดินอาหาร จะเป็นยาลดกรดกลุ่ม PPIs จ่ายตามแพทย์สั่ง
...
แอนตาซิล (Antacil)
แอนตาซิล (Antacil) เคลือบแผลในกระเพาะอาหาร ลดอาการปวดท้อง ท้องอืด จุกเสียด วิธีรับประทาน ใน 1 เม็ด ประกอบด้วย 1. ดราย อะลูมิเนียม ไฮดรอกไซด์ เยล 250 มก. 2. แมกนีเซียม ไทรซิลิเคต 350 มก. 3. คาโอลีน 50 มก. เคี้ยวแล้วดื่มน้ำตาม ครั้งละ 1-2 เม็ด หลังอาหาร 1-2 ชั่วโมง
แอร์เอ็กซ์ (AirX) เม็ดเคี้ยว แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
แอร์เอ็กซ์ (AirX) เป็นยาลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ไม่ใช่ยาลดกรดในตัวยา 1 เม็ด ประกอบด้วย Simethicone 80 มก. รับประทานครั้งละ 1 เม็ดเมื่อมีอาการ วันละ 4 ครั้ง ใน 1 วันไม่ควรกินเกิน 6 เม็ด
เครมิล (Kremil) บรรจุแผงละ 10 เม็ด
เครมิล (Kremil) บรรเทาอาการแผลในกระเพาะอาหาร ลดกรด บรรเทาอาการท้องอืด แน่น จุกเสียด บรรเทาอาการแสบร้อนกลางอก จากกรดไหลย้อน ใน 1 เม็ด ประกอบด้วยตัวยา AHMC Type F-MA II* 325 mg. (Equivalent to Aluminium Hydroxide 188.8 mg., Equivalent to Magnesium Carbonate 136.2 mg., Simethicone 60 mg.) ครั้งละ 1-2 เม็ด กลืนแล้วดื่มน้ำตาม ไม่ต้องเคี้ยว หลังอาหาร เพื่อใช้ลดกรดในกระเพาะอาหาร แต่หากใช้บรรเทาอาการที่เกิดจากแผลในกระเพาะอาหาร รับประทาน 2-4 เม็ดทุก 4 ชั่วโมง หรือตามที่แพทย์สั่ง
อัลไกคอน (Algycon) บรรจุแผงละ 12 เม็ด
...
อัลไกคอน (Algycon) ยาเม็ดสีขาวกลมๆ บรรจุแผงละ 12 เม็ด รักษาอาการโรคกรดไหลย้อน แก้อาการแสบร้อนกลางอก ปกป้องผนังทางเดินอาหาร เป็นยาเม็ดที่ต้องเคี้ยว ออกฤทธิ์เร็วภายใน 15 นาที จัดเป็นยากลุ่ม Alginates เป็นยาที่ใช้รักษาภาวะกรดและน้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อน
ดิออกไซม์ (Dioxzye) บรรจุแผงละ 10 เม็ด
ดิออกไซม์ (Dioxzye) เป็นยาลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ไม่ใช่ยาลดกรด มีรสมินต์ กินง่าย สูตรไม่มีน้ำตาล (Sugar Free) รับประทานครั้งละ 1 เม็ดเมื่อมีอาการ วันละ 4 ครั้ง ใน 1 วันไม่ควรกินเกิน 6 เม็ด ใน 1 เม็ด ประกอบด้วยตัวยา Simethicone 80 มก.
**ยาลดกรด แบบเม็ดกลุ่ม PPIs (Proton-pump Inhibitors) รับประทานตามแพทย์สั่ง
ยาลดกรดกลุ่ม PPIs คือยาลดกรดที่แพทย์จ่าย ยับยั้งการสร้างกรดจากเซลล์ผนังกระเพาะอาหารในขั้นตอนสุดท้ายของการผลิตกรด มีคุณสมบัติช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร ปัจจุบันมียาลดกรดกลุ่ม PPIs ที่ขึ้นทะเบียน ดังนี้
- รักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น
- รักษาแผลในทางเดินอาหาร บรรเทาอาการอักเสบในกลุ่มที่ไม่ใช้สเตียรอยด์
- รักษากรดไหลย้อน
- รักษาภาวะการหลั่งกรดมากเกินไป
- รักษาการติดเชื้อ Helicobacter Pylori (H. Pylori)
- รักษาหลอดอาหารอักเสบชนิดปานกลางถึงรุนแรง
...
ยี่ห้อยาลดกรดกลุ่ม PPIs อาทิ Omeprazole (Miracid, Losec MUPS, O-sid), Esomeprazole (Nexium MUPS), Lansoprazole (Prevacid FDT), Pantoprazole (Controloc) และ Rabeprazole (Pariet) ซึ่งล้วนเป็นยาที่ควรได้รับจากแพทย์สั่ง เนื่องจากต้องกินตามน้ำหนักตัวแต่ละบุคคล รวมถึงมีระยะเวลาการกินตามอาการของโรค
ยาลดกรด แบบน้ำ มียี่ห้อไหนบ้าง
ยาลดกรดแบบน้ำ ภาษาการจดทะเบียนยาเรียกว่า ยาน้ำแขวนตะกอน (Suspension) เป็นตัวยาบรรจุมาในขวด ต้องเขย่าขวดป้องกันการตกตะกอน และเข้าสู่ร่างกายผ่านการกิน ดังนั้นเนื้อยาจะผ่านหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร มีผลเคลือบผิวทางเดินอาหาร บรรเทาอาการแสบร้อนกลางอก เนื่องจากกรดไหลย้อน
แอนตาซิล เยล เอช เอช (Antacil Gel HH)
...
แอนตาซิล เยล เอช เอช แบบขวด ขนาด 240 มิลลิลิตร เป็นยาน้ำขวดสีขาว ฉลากสีเขียว เคลือบแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ส่วนต้น ในปริมาณ 15 มิลลิลิตร ประกอบด้วยตัวยา ALUMINIUM HYDROXIDE COMPRESSED GEL 960 มิลลิกรัม 2. MAGNESIUM HYDROXIDE 330 มิลลิกรัม 3. SIMETHICONE (AS SIMETHICONE EMULSION) 60 มิลลิกรัม รับประทานหลังอาหาร 1-2 ชั่วโมงครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ วันละ 4 ครั้ง
อาโมจิน-เยล (AMOGIN-Gel)
อาโมจิน-เยล (AMOGIN-Gel) ยาน้ำแขวนตะกอน ขวดสีขาว กลิ่นมินต์ ใน 15 มิลลิลิตร ประกอบด้วยตัวยา Dried Aluminum hydroxide gel 0.6 กรัม Magnesium hydroxide 0.3 กรัม, Actuvated dimethylpolysiloxane 0.021 กรัม ผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน
กาวิสคอน ดูอัล แอคชั่น (Gaviscon Dual Action)
กาวิสคอน ดูอัล แอคชั่น (Gaviscon Dual Action) ยาน้ำลดกรด ขวดสีชมพู และมีจำหน่ายในรูปแบบซองฉีกกินต่อมื้อ ผลิตโดย บริษัท เรกคิทท์ เบนคีเซอร์ เฮลธ์แคร์ ใน 10 มิลลิลิตร ประกอบด้วย โซเดียม อัลจิเนต 500 มิลลิกรัม, โซเดียม ไบคาร์บอเนต 213 มิลลิกรัม และแคลเซียม คาร์บอเนต 325 มิลลิกรัม เด็กอายุ 12 ปีขึ้นไปและผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 10-20 มิลลิลิตร 4 เวลาหลังอาหารและก่อนนอน
เบลสิด ฟอร์ท ซัสเพนชั่น (Belcid Forte)
ยาน้ำลดกรด ขวดสีขาว เบลสิด ฟอร์ท ซัสเพนชั่น (Belcid Forte) เป็นยาน้ำบรรเทาอาการแสบร้อนกลางอกเนื่องจากกรดไหลย้อน ลดกรดและเคลือบแผลในกระเพาะอาหาร มีตัวยา Aluminium, Magnesium และ Simethicone ใน 5 มิลลิลิตร ประกอบด้วย: อะลูมิเนียม ไฮดรอกไซด์ 306 มิลลิกรัม, แมกนีเซียม ไฮดรอกไซด์ 110 มิลลิกรัม, ไซเมธิโคน 30 มิลลิกรัม ผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้งหลังอาหาร 1 ชั่วโมง และก่อนนอน ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจหรือโรคไต และไม่ควรรับประทานติดต่อกันเกิน 2 สัปดาห์ หากต้องรับประทานร่วมกับยาอื่น ต้องเว้นห่างกัน 2 ชั่วโมง
ไบร์เยล (Brygel)
ไบร์เยล (Brygel) ยาลดกรดแบบน้ำ ช่วยเคลือบแผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้ ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีตัวยา Aluminium hydroxide+magnesium hydroxide 1 ขวดบรรจุ 240 มิลลิลิตร จัดจำหน่ายโดย บริษัท ไบร์วู๊ดฟาร์มาซูติคอล จำกัด
- Brygel ขวดสีเขียว เป็นยาน้ำลดกรด ช่วยเคลือบแผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้ ท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอเปรี้ยว จุกเสียด แน่นท้อง บรรเทาอาการแผลในกระเพาะอาหาร ลดอาการแสบร้อนกลางอกจากกรดไหลย้อน
- Brygel S ขวดสีชมพู จะช่วยเรื่องขับลม, ลดแก๊ส, เคลือบกระเพาะ, ท้องอืด ท้องเฟ้อ ผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ หลังอาหาร และก่อนนอน
ยาลดกรดกินตอนไหน
ยาลดกรดกินตอนไหน ยาบางประเภทเป็นยาลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ไม่ใช่ยาลดกรด หากกินแล้วไม่ดีขึ้นใน 2-3 วัน ต้องรีบไปพบแพทย์ ส่วนยาลดกรดทั่วไปรับประทานตามคำแนะนำของแพทย์และเภสัชกร ตามข้อกำหนดว่า
- ควรกินจำนวนวันละกี่ครั้งต่อวัน
- ควรกินก่อนหรือหลังอาหาร
- ควรกินไม่เกินกี่วัน
- ผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคตับ โรคไต กินได้หรือไม่
ยาลดกรดบางตัวกินหลังอาหาร ก่อนนอน และบางตัวมีส่วนผสมของแมกนีเซียมเป็นส่วนประกอบ จะมีผลต่อการดูดซึมยาตัวอื่นๆ จึงห้ามกินพร้อมกับยาโรคประจำตัวบางโรค
ยาลดกรดห้ามกินกับยาอะไร
ยาลดกรดห้ามกินกับยาอะไร ยาลดกรดห้ามกินพร้อมกับยาปฏิชีวนะ และแคลเซียม เพราะฉะนั้นหากต้องกินยาเหล่านี้ร่วมกันจะต้องเว้นระยะห่าง
- ยาลดกรดห้ามกินกับยาปฏิชีวนะ ต้องเว้นห่างกัน 1-2 ชั่วโมง
ยาลดกรดมีแคลเซียม และอะลูมิเนียมเป็นส่วนประกอบ สองแร่ธาตุนี้จะจับกับยาฆ่าเชื้อทำให้ออกฤทธิ์ลดลงกว่าครึ่ง ทำให้ประสิทธิภาพที่ได้จากยาฆ่าเชื้อลดลง
- ยาลดกรดห้ามกินกับแคลเซียม ให้กินกันคนละมื้อ
แคลเซียมจะดูดซึมได้ดีในภาวะที่เป็นกรด เมื่อร่างกายรับยาลดกรด ภายในระบบลำไส้จะมีความเป็นกรดลดน้อยลง ทำให้ประสิทธิภาพในการดูดซึมแคลเซียมลดลง หากต้องกินยาแคลเซียมเป็นประจำ ให้แยกมื้อกินยาลดกรด
ยาลดกรด จัดว่าเป็นยา ดังนั้นหากไม่มั่นใจว่ากินกับยารักษาโรคประจำตัวแล้วจะตีกันหรือไม่ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร หากปรึกษาร้านขายยาก็ให้มั่นใจว่าผู้ให้คำปรึกษาคือเภสัชกร ผู้ป่วยที่มีโรคตับ ไต โรคหัวใจที่ต้องกินยาลดการแข็งตัวของเลือด และมีอาการกรดไหลย้อนเป็นประจำ ควรปรึกษาแพทย์
อ้างอิง
1. เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ ยาลดกรด กลุ่ม “PPIS”., https://redcross.or.th/news/infographics/17662/
2. โรคกระเพาะอาหาร รักษาอย่างไร ถึงได้ผลดี., https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/stomach-disease
3. หลักการใช้ยาในผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน., https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=992
4. อันตราย…จากยาตีกัน., https://somdej.or.th/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99/3267/