ยาลดน้ำมูก เป็นยากลุ่มยาแก้แพ้ที่ใช้บรรเทาอาการน้ำมูกไหล ยาลดน้ำมูกไม่ได้กำจัดน้ำมูกหรือเสมหะโดยตรง แต่มีฤทธิ์ในการยับยั้งผลของสารกระตุ้นภูมิแพ้ต่อร่างกาย ที่มีผลให้เกิดอาการคันจมูก มีน้ำมูกเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ บางคนกินยาแก้แพ้ ยาลดน้ำมูกแล้วมีอาการง่วงนอนไปด้วย ผู้ที่ต้องใช้เครื่องจักรเป็นเวลานานๆ จึงต้องระวังเวลาได้รับยาลดน้ำมูก

ยาลดน้ำมูก ทำไมกินแล้วง่วง

จะรู้ได้อย่างไรว่ายาลดน้ำมูกตัวไหนกินแล้วง่วงหรือไม่ง่วง วิธีการที่ง่ายที่สุด คือเลือกซื้อยากับร้านที่มีเภสัชกรเป็นผู้จ่ายยา เพราะว่าจะได้ช่วยวินิจฉัยและเลือกยาได้ตรงกับอาการ หากไปซื้อยาจากร้านทั่วไปไม่มีเภสัชกร นอกจากอาจได้รับยาผิดประเภท รักษาไม่หายแล้ว ก็ต้องเสียเวลากลับไปหายาลดน้ำมูกตัวใหม่มา ใช้เวลานานกว่าจะหาย

ยาลดน้ำมูก หรือ ยาแก้แพ้นั้น ทำไมกินแล้วง่วง เนื่องจากยาแก้แพ้กลุ่มดั้งเดิม ทางการแพทย์เรียกว่า Conventional Antihistamines สารที่ร่างกายดูดซับจะส่งผลต่อสมอง เกิดผลข้างเคียงคืออาการง่วงนอน 

ยาแก้แพ้ออกฤทธิ์ด้วยการยับยั้งการทำงานของสารสื่อประสาท ที่ทำให้ต่อมในโพรงจมูก ช่วยบรรเทาอาการน้ำมูกไหลจากอาการแพ้ และไข้หวัดได้ 

กลุ่มดั้งเดิม (Conventional Antihistamines) มีผลข้างเคียงทำให้ง่วง ได้แก่ 

  • คลอเฟนิรามีน (Chlorpheniramine)
  • บรอมเฟนิรามีน (Brompheniramine)
  • ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine)
  • ไดเมนไฮดริเนต (Dimenhydrinate)
  • ไฮดรอไซซีน (Hydroxyzine)
  • ทริโปรลิดีน (Triprolidine)

...

ผลข้างเคียงนอกจากอาการง่วงนอน ได้แก่

1. ปากแห้ง
2. คอแห้ง
3. ตาพร่า
4. ท้องผูก
5. ปัสสาวะคั่ง 

ยาลดน้ำมูก แบบไม่ง่วง

  • เซทิริซีน (Cetirizine)
  • เลโวเซทิริซีน (Levocetirizine)
  • เฟโซเฟนาดีน (Fexofenadine)
  • ลอราทาดีน (Loratadine)

ผลข้างเคียง น้อยกว่ากลุ่มที่ทำให้ง่วงนอน และดูดซึมเข้าสู่สมองได้น้อยกว่า

นอกจากนี้ยาแก้แพ้ ยาลดน้ำมูก แบบไม่ง่วงนอน เมื่อรับประทานไปแล้วบางคนก็ยังมีอาการง่วงนอนอยู่ก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นเมื่อรับประทานแล้วก็ต้องสังเกตตัวเอง หากยังพบว่ามีอาการง่วงนอน ก็ต้องหลีกเลี่ยงการขับรถ การใช้งานเครื่องจักร หรือการทำงานที่ต้องใช้สติสัมปชัญญะควบคุม เพื่อลดความผิดพลาดของการทำงาน ลดการเกิดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้จากความง่วง

ยาลดน้ำมูก เด็ก ผู้ใหญ่ มียี่ห้อไหนบ้าง

ยาลดน้ำมูก แก้คัดจมูก ผู้ใหญ่ ที่จำหน่ายในร้านขายยา มีอะไรบ้าง

  • ยาซีร์เทค (Zyrtec)

ยาซีร์เทค (Zyrtec) ประกอบด้วยตัวยาเซทิริซีน (Cetirizine) เป็นยาประเภท Antihistamine กลุ่มสารต้านฮีสตามีน ใช้ในการลดอาการแพ้อากาศ เช่น เมื่อมีอาการอาการจาม คัดจมูก น้ำมูกไหล คันตา ตาแดง น้ำตาไหล ลมพิษ มีทั้งแบบเม็ด สำหรับผู้ใหญ่ และแบบน้ำสำหรับเด็ก

  • แอเรียส (aerius)

แอเรียส (aerius) เป็นชื่อทางการค้าของยา เดส-ลอราทาดีน (Desloratadine) และ cetirizine (เซทิไรซิน) เป็นยาในกลุ่มที่ออกฤทธิ์ต้านฮีสตามีน (antihistamines) ลดอาการแพ้จากอาการภูมิแพ้ แอเรียสแบบเม็ดจะมีลักษณะเป็นยาเม็ดสีฟ้า และแบบน้ำสำหรับเด็ก ใช้หลอดดูดยาเฉพาะเพื่อให้เด็ดดูดยารับประทานเข้าไปได้ง่าย

...

  • คลาริทิน (Clarityne)

ยาแก้แพ้ คลาริทิน (Clarityne) ตัวยาลอราทาดีน ชนิดเม็ด และชนิดน้ำ คลาริทินเป็นยาต้านฮิสตามีนที่ออกฤทธิ์เนิ่นและอยู่ในกลุ่มไม่ทำให้ง่วง แต่ยานี้อาจทำให้ง่วงในผู้ป่วยบางราย คลาริทิน เป็นยาที่ออกฤทธิ์แรงและนานในการต้านสารพวกฮีสตามีน โดยเป็นชนิด selective peripheral H1 - receptor antagonist ใช้บรรเทาอาการแพ้ระบบทางเดินหายใจ เช่น จาม น้ำมูกไหล คันจมูก คันตา แสบตา เนื่องจากโรคภูมิแพ้บรรเทาอาการของลมพิษเรื้อรังและอาการแพ้ทางผิวหนังอื่นๆ

...

  • ฟีนาเฟค (FENAFEX)

ฟีนาเฟค (FENAFEX) เป็นยาแก้แพ้ประกอบด้วย ตัวยา Fexofenedine Hydrochloride (เฟคโซเฟนีดีน ไฮโดรคลอไรด์) ความแรง 60 มิลลิกรัม และ 180 มิลลิกรัม ใช้บรรเทาอาการเยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ และอาการลมพิษ ผื่นคันเรื้อรังที่ไม่ทราบสาเหตุในผู้ใหญ่และเด็กอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป

  • ไดมีแท็ป (Dimetapp)

...

ไดมีแท็ป (Dimetapp) มีตัวยา Brompheniramine และ Phenylephrine HCL เป็นยาบรรเทาอาการภูมิแพ้ นำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกา วิธีใช้ต้องปรึกษาเภสัชกรก่อนเลือกใช้กับเด็กอายุ 6 ขวบขึ้นไป


ยาลดน้ำมูกที่เป็นยาแก้แพ้บางยี่ห้อ ไม่ควรรับประทานติดต่อกันนานๆ หากมีอาการภูมิแพ้ น้ำมูกไหล ไม่หายสักที ควรพบแพทย์ และปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตเพื่อหลีกเลี่ยงสภาพอากาศ และสารก่อภูมิแพ้ เนื่องจากการรับประทานยาชนิดใด ชนิดหนึ่งนานๆ ก็ย่อมส่งผลต่อการทำงานของร่างกาย เพราะฉะนั้นแล้ว ก่อนเลือกยารับประทาน ก็ต้องมั่นใจว่าเป็นยาที่รักษาถูกโรค และรู้จักวิธีการใช้ยาอย่างชัดเจน

ที่มา : 

1. “น้ำมูกไหล ทำไมเภสัชจ่ายยาแก้แพ้”., นศภ. อนุชิต ตุงธนบดี., คลังข้อมูลยา มหาวิทยาลัยมหิดล.,https://pharmacy.mahidol.ac.th/DIC/knowledge_full.php?id=35 [สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2566]

2. ยาแก้แพ้ชนิดไม่ง่วง กินแล้วไม่ง่วงจริงหรือ., สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา., https://ocpbconnect.ocpb.go.th/Content/FDA?SUB_CATEGORY_ID=27&MEDIA_ID=881.,[สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2566]