ชวนเช็กจังหวะการเต้นของหัวใจให้พร้อมก่อนออกกำลังกายทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิต และสุขภาพที่ดี เพราะบางครั้งโรคที่เกี่ยวกับหัวใจมักซ่อนอยู่ในร่างกายของคุณโดยที่ยังไม่รู้ตัว 

การออกกำลังกายจะเป็นเรื่องที่ดีต่อสุขภาพอย่างปฏิเสธไม่ได้ แต่การดูแลสุขภาพ และหมั่นเช็กร่างกายก็เป็นอะไรที่สำคัญไม่แพ้กัน นอกจากจะเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนออกกำลังกายแล้ว ยังสามารถวินิจฉัยโรค และสังเกตสุขภาพของตัวเราเองได้อีกอย่างดี

ทุกวันนี้มีผู้ป่วยจากภาวะหัวใจล้มเหลว หัวใจวาย และหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน มากถึงร้อยละ 50 เปอร์เซ็นต์โดยส่วนใหญ่บุคคลเหล่านี้มักจะมีภาวะที่แทรกซ้อนเกี่ยวกับโรคหัวใจอยู่ในร่างกาย ทำให้การเช็กจังหวะการเต้นของหัวใจจึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก สำหรับคนที่ชอบออกกำลังกาย 

สาเหตุของโรคหัวใจ หัวใจล้มเหลว หัวใจวาย

อาการเกี่ยวกับโรคหัวใจส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นได้กับ ผู้ที่มีความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับหัวใจ ผู้ที่มีประวัติพันธุกรรมเกี่ยวกับโรคหัวใจ การใช้ชีวิต และสุขภาพ เช่น หลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคลิ้นหัวใจ, โรคเบาหวาน, ไขมันในเลือดสูง, โรคอ้วน และโรคความดันโลหิตสูง 

...

วิธีสังเกตสุขภาพของหัวใจ

ทุกคนสามารถพึงระวัง และสังเกตสุขภาพของหัวใจของตัวเองได้จากกิจวัตรประจำวัน การทำกิจกรรม เล่นกีฬา และออกกำลังกาย สังเกตได้จาก การมีอาการเหนื่อยหอบง่ายมากกว่าปกติ, มีอาการเจ็บจี๊ดบริเวณหน้าอกบ่อยครั้ง ใจสั่น และหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ มีอาการมึนหัว วิงเวียนศีรษะ วูบ และหน้ามืดบ่อยๆ เป็นต้น

รวมทั้งการคำนวณอัตราการเต้นของหัวใจ ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ผู้ออกกำลังกายนิยมกันเป็นอย่างมาก โดยอัตราการเต้นของหัวใจที่ดี “เมื่อออกกำลังกายนั้นต้องอยู่ไม่เกิน 75 % ของอัตราการเต้นสูงสุดของหัวใจ” โดย “อัตราการเต้นของหัวใจปกติแล้วจะอยู่ที่ 70-80 ครั้ง ต่อนาที”

วิธีคิดอัตราการเต้นของหัวใจ

(220 - อายุ) x 75 / 100 เท่ากับ ‘จำนวนครั้งต่อนาทีที่เหมาะสม’ เช่น

ยกตัวอย่างเช่น อายุ 28 ปี (220 - 28) = 192 , 192 x 75 = 2,880, 2,880 / 100 = 144 ครั้ง เป็นจำนวนการเต้นของหัวใจที่เหมาะสมในต่อการออกกำลังกาย

ออกกำลังกายแต่พอดี

การออกกำลังกายเป็นเรื่องที่ดีมากต่อสุขภาพร่างกาย แต่สิ่งที่ควรเน้นย้ำต่อผู้ออกกำลังกายทุกคนคือ การออกกำลังกายแต่พอดี หากเป็นผู้ที่เพิ่งเริ่มออกกำลังกายให้ค่อยๆ ปรับสภาพร่างกายไปทีละขั้นตอน ส่วนผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำก็ไม่ควรที่จะหักโหมจนเกินไป

  • วอร์ม และอบอุ่นร่างกายทุกครั้ง ก่อนการออกกำลังกาย เช่น การยืดกล้ามเนื้อ, การควบคุมลมหายใจ, การออกกิจกรรมเบาๆ ก่อนไปจนถึงหนักเป็นต้น
  • ไม่ควรหยุดกิจกรรมการออกกำลังกายแบบกะทันหันจนทันที เช่น หากเหนื่อยมากๆ และลงไปนั่งพักทันที หรือวิ่งบนลู่วิ่งไม่ควรที่จะหยุดทันที ควรมีการปรับระดับการวิ่งของตนเองทีละขั้นตอน 
  • ไม่ควรฝืนร่างกาย ตนเองในขณะออกกำลังกาย หากเหนื่อยในระดับที่ไม่สามารถรับได้แล้ว ให้พักโดยทันที เพื่อไม่ให้ร่างกายของเรานั้นเกินขีดจำกัดจนเกินไป เพราะอาจจะส่งผลอยากมากต่อการเต้นของหัวใจโดยตรง

ตรวจสุขภาพหัวใจ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

การตรวจสุขภาพของหัวใจ ก็เป็นอีกหนึ่งหนทางที่ทำให้เรารู้โรคภัยเกี่ยวกับหัวใจที่กำลังหลบซ่อนอยู่ในตัวได้เป็นอย่างดี และสามารถป้องกันภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน หลอดเลือดตีบ และหัวใจวายได้ ดังนี้ 

...

  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography : EKG)
  • การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test : EST )
  • ตรวจเอกซเรย์หลอดเลือดหัวใจ (Coronary CCTA)
  • การสวนหัวใจ (Cardiac Catheterization Angiography : CAG) 
  • ตรวจคราบหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Calcium Scoring)

การตรวจสุขภาพเกี่ยวกับหัวใจ ในแต่ละวิธีนั้น อาจจะต้องปรึกษา ขอคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ข้อมูล : สสส. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ