รายงานในวารสาร เส้นเลือดแข็งตัว ตีบตันและระบบควบคุมของเส้นเลือด (Arteriosclerosis, thrombosis, and Vascular Biology) ปี 2022
ดื่มชาดำควบคู่ไปกับอาหารพืชผักผลไม้กากใย เนื้อปลาเป็นหลัก เนื้อแดงไม่มากแถมไวน์แดง หรือชาดำ เป็นหลักช่วยป้องกันไม่ให้เส้นเลือดแข็งโดยดูจากการที่ไม่มีหินปูนเกาะที่เส้นเลือดใหญ่ที่ออกจากหัวใจ
รายงานนี้น่าจะเป็นที่สบายอกสบายใจ สำหรับคนที่ดื่มแอลกอฮอล์ไม่ได้ คือไวน์แดงและเบียร์ในปริมาณที่กำหนดคือหนึ่งถึงสองแก้วต่อวัน และสามารถมีทางเลือกอย่างอื่นได้ที่สบายใจและเป็นที่พิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพในการปกป้องเส้นเลือด
ลักษณะที่พบว่ามีหินปูนเกาะติดอยู่ที่เส้นเลือด เช่น เส้นเลือดใหญ่ที่ออกจากหัวใจทอดยาวมาที่ท้อง (abdominal aorta) เป็นเครื่องวัดที่สะท้อนว่า มีการอักเสบในร่างกายและกระทบเส้นเลือด จนกระทั่งมีความผิดปกติและหินปูนเข้าไปสอดแทรกในผนังเส้นเลือด ชั้นใน และชั้นกลาง และต่อไป มีความสัมพันธ์กันชัดเจนกับการเกิดหัวใจวายจากเส้นเลือด หัวใจตีบตัน รวมกระทั่งถึงเส้นเลือดในสมองตีบอัมพฤกษ์ และยังชี้บ่งถึงความเสี่ยง ภาวะสมองเสื่อมเมื่ออายุมากขึ้น
สาระสำคัญที่เป็นตัวหลักในการทะนุถนอมบำรุงสุขภาพก็คือ ฟลาโวนอยด์ (flavonoids) ซึ่งอยู่ในผักผลไม้ รวมทั้งแอปเปิ้ล ลูกเบอร์รี่ ถั่วชนิดต่างๆ และยังอยู่ในช็อกโกแลตดำและเครื่องดื่ม เช่น ชา เป็นต้น
...
คณะทำงานชุดนี้เคย ได้ทำการศึกษาและพบว่าการกินแอปเปิ้ล ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดหินปูนที่เกาะอยู่กับเส้นเลือดใหญ่ที่ท้อง และได้ขยายขอบเขตการศึกษาไปจนถึงการดื่มชาดำว่าจะมีประโยชน์ช่วยเพิ่มเติมหรือไม่ และแม้แต่ชาดำเป็นตัวหลักจะยังใช้ได้หรือไม่
การศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ PLSAW (Pearth longitudinal study of ageing women) โดยมีการคัดเลือกผู้เข้าร่วมการศึกษาที่เป็นสตรีและมีการประเมินอย่างเข้มงวดรัดกุมถึงพฤติกรรมการดำเนินชีวิตการบริโภคอาหารการออกกำลัง และเศรษฐานะต่างๆ จากจำนวนหลายพันคนจนเหลือ 881 คน ตัวฟลาโวนอยด์ ทั้ง 7 กลุ่ม ที่ทำการวิเคราะห์ ได้แก่ flavanones (eriodictyol, hesperetin และ naringenin), anthocya-nins (cyanidin, delphinidin, malvidin, pelargonidin, petunidin, and peonidin), flavan-3-ols (catechins and epicatechins, theaflavins, และ thearu bigins), proanthocyanidins (dimers, trimers, 4-6 mers, 7-10 mers, and polymers), flavonols (quercetin, kaemp- ferol, myricetin, and isohamnetin), flavones (luteolin and api-genin), and isoflavones (daidzein, genis tein, and glyci tein)
ปริมาณของฟลาโวนอยด์ที่กินจะนับรวมของทุกกลุ่ม โดยปริมาณของแต่ละวันจะต้องอยู่ที่ 5 มิลลิกรัมหรือมากกว่า และปริมาณพลังงานที่บริโภคจะอยู่ระหว่าง 2,100 ถึง 14,700 kJ ต่อวัน
และมีการเจาะเลือดประเมินระดับของการอักเสบภาวะของเส้นเลือดหัวใจ ตลอดจนการทำงานของระบบอวัยวะต่างๆ
สตรีที่อยู่ในการศึกษานี้อายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป ไม่เคยสูบบุหรี่ ไม่ได้ใช้ฮอร์โมนทดแทนเมื่อหมดระดูแล้ว
มีจำนวนประมาณ 58% ที่มีดัชนีมวลกายอยู่ในระดับปกติสำหรับผู้สูงอายุ คือมากกว่า 23 ถึงน้อยกว่า 29.9 กก. ต่อตารางเมตร ทั้งนี้ มีคนที่เป็นเบาหวานอยู่น้อยกว่า 7% และประมาณ 50% พบว่า มีความดันสูงและ 30% ใช้ยาลดไขมันอยู่ จากแรกเริ่มของการศึกษา โดยที่ไม่มีใครมีหินปูนจับอยู่ที่เส้นเลือด และเมื่อถึงจุดที่ทำการประเมิน ในระยะเวลาประมาณห้าปี
สตรีสูงวัยที่ดื่มชาดำเป็นประจำ หรือกินอาหารทั้งหมดที่มีระดับฟลาโวนอยด์รวมสูง โดยเฉพาะ flavan-3-ols และ flavonols จะมีความเสี่ยงที่หินปูนจับที่เส้นเลือดใหญ่น้อยลงมากกว่า 40% และสำหรับสตรีที่ดื่มชาดำสองถึงหกถ้วยต่อวันจะลดความเสี่ยงที่เกิดหินปูนจับเส้นเลือดใหญ่ดังกล่าวได้ถึง 42%
อย่างไรก็ตาม สตรีที่ไม่ได้ดื่มชาดำเลยก็ยังคงได้ประโยชน์จากการบริโภคอาหารที่มากอุดมสมบูรณ์ด้วยฟลาโวนอยด์เช่นกัน
กลไกของฟลาโวนอยด์ที่อาจจะสามารถอธิบายได้ในการป้องกันการเกาะของหินปูนที่ผนังชั้นในของเส้นเลือด น่าจะเป็นกลไกในการลดการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระและยับยั้งขั้นตอนของไขมันเลวที่จะแทรกตัวเข้าไปในผนังเส้นเลือด และตามปกติในผนังชั้นกลางของเส้นเลือดที่มีหินปูนจับนั้นจะหนาแน่นขึ้นเรื่อยๆในอายุที่สูงขึ้น มีเบาหวานและไตทำงานไม่สมบูรณ์ ซึ่งทั้งหมดบ่งบอกถึงภาวะความเสื่อมของเซลล์
กลไกเป็นขั้นตอนลำดับที่ป้องกันอันตราย (protective signaling cascades) ยังรวมถึง Nrf2 (NF- E2-related factor 2) และ Hmox-1 (heme oxygenase-1) ที่ลดความเสียหายที่เกิดจากอนุมูลอิสระและการอักเสบ นอกจากนั้นยังมีกลไกที่ขัดขวาง การสร้าง reactive oxygen species เช่น nicotinamide adenine dinucleotide phosphate oxidases และผ่านทาง nitric oxide bioavailability โดยมีกลไก กระตุ้น endothelial nitric oxide synthase (eNOS) induction ทั้ง nitric oxide มีผลในการยับยั้งเซลล์กล้ามเนื้อของเส้นเลือดที่ปรับเปลี่ยน (differ entiate) ไปเป็นหินปูน
...
ประเด็นสำคัญในการศึกษานี้ ยังพบว่าปริมาณของฟลาโวนอยด์ที่ได้รับโดยรวมนั้นจะอยู่ระหว่าง 719 ถึง 1,611 มิลลิกรัมต่อวัน โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 188 มิลลิกรัม โดยมีตัวชาดำเป็นตัวหลักถึง 75.9% และพืชผักผลไม้กากใยต่างๆลดหลั่นกันมา
แต่จุดสำคัญก็คือ ความหลากหลายของพืชผักผลไม้ที่น่าจะได้ประโยชน์กว่าการกินชนิดเดียว หรือไม่กี่ชนิดซ้ำซากอยู่ตลอด และในกลุ่มที่ดื่มชาดำน้อยหรือไม่ดื่มเลย แต่กินพืชผักผลไม้หลากหลายก็ยังได้รับประโยชน์เท่ากัน ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจจะมีสารชนิดอื่นหรืออยู่ในตระกูลอื่นที่มีประโยชน์ในการป้องกันโรคต่างๆเหล่านี้ด้วย
กล่าวโดยสรุปก็คือ การกินเข้าใกล้มังสวิรัติ ลดแป้ง ลดเนื้อแดง และมากด้วยผลไม้กากใยหลากหลาย ถั่ว พริกหวาน น้ำพริกปลาทู โดยอย่าให้เค็มมาก ลดอาหารปิ้ง ย่าง ควบไปกับชา คล้ายกับที่ ปู่ ย่า ตา ยาย เคยพูดเสมอเวลาที่กินอาหารจีน มันๆ บอกว่ากินชาล้างปากชะไขมัน ทำท่าจะเป็นความจริง และตอกย้ำว่าอะไรที่ผู้ใหญ่ผู้อาวุโสกล่าวไว้อาจจะมองข้ามไม่ได้และไม่ใช่เป็นเรื่องล้าสมัย
ทั้งนี้ ชาตามที่แบ่งประเภทไว้ก็มีทั้งชาดำ (ความจริงคือชาแดง) โดยเริ่มกำเนิดจากประเทศจีน (hong cha) และมีชาอูหลง ชาเหลือง ชาขาว และชาเขียว โดยที่ชาดำหรือแดงนี้จะมีกลิ่นและรสชาติเข้มข้นกว่าชนิดอื่น และน่าดีใจที่ว่าวัฒนธรรมของเอเชียแพร่หลายไปและเป็นประโยชน์ต่อคนทั้งโลกด้วย.
“หมอดื้อ”