“ภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำ” เกิดจากการที่มีลิ่มเลือดไปอุดหลอดเลือดแดงใหญ่ที่ปอด และอาจแตกออกเป็นชิ้นเล็กๆ ไปอุดตันหลอดเลือดฝอยที่ปอด หรืออาจจะหลุดไปอุดทั้งก้อน ทำให้ไม่สามารถเติมออกซิเจนให้เลือดได้ เมื่อออกซิเจนในเลือดต่ำมาก เซลล์ที่อยู่บริเวณที่ไกลหัวใจ เช่น มือ เท้า อาจได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ทำให้เซลล์เสียหาย จะพบว่ามีปลายมือและปลายเท้าเริ่มมีสีคล้ำ หากลิ่มเลือดไปอุดตันในหลอดเลือดดำลึก จะทำให้มีอาการขาบวม เจ็บ ปวด ทำให้มีการเสื่อมสภาพของลิ้นหลอดเลือดดำและผนังหลอดเลือดดำ ลิ่มเลือดแตกออกเป็นชิ้นเล็กๆ

หากลิ่มเลือดมีขนาดใหญ่ขึ้น บางส่วนแตกออกเป็นชิ้นเล็กๆ ลิ่มเลือดที่แตกออกเป็นชิ้นเล็กๆ หรืออาจหลุดไปทั้งก้อนไหลไปยังหัวใจ และไปอุดตันหลอดเลือดแดงไปที่ปอดได้

ปัจจัยเสี่ยง

การนั่งอยู่กับที่เป็นระยะเวลานาน เช่น การขับรถ การนั่งเครื่องบินเป็นเวลานาน ผู้สูงอายุที่เดินไม่ได้ต้องนั่งรถเข็น ทำให้กล้ามเนื้อน่องไม่ได้มีการบีบตัว ซึ่งการบีบตัวของกล้ามเนื้อน่องเป็นตัวช่วยให้เลือดไหลกลับเข้าสู่หัวใจ อาจเป็นความเสี่ยงทำให้เกิดลิ่มเลือดภายในหลอดเลือดดำส่วนลึกบริเวณกล้ามเนื้อน่อง

การนอนอยู่กับที่เป็นระยะเวลานาน เช่น การนอนโรงพยาบาลเป็นระยะเวลานาน หรือผู้ป่วยอัมพาต ทำให้กล้ามเนื้อน่องไม่ได้เกิดการเคลื่อนไหว อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำลึกที่ขา

การตั้งครรภ์ เป็นการเพิ่มแรงดันในหลอดเลือดอุ้งเชิงกรานและขา สตรีที่มีประวัติความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือดทางกรรมพันธุ์ จะมีความเสี่ยงสูงในการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำลึกที่ขาขณะตั้งครรภ์ โดยความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำลึกที่สัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ สามารถมีได้ยาวนานต่อเนื่องถึงประมาณ 6 สัปดาห์หลังจากตั้งครรภ์

...

อ้วนหรือน้ำหนักเกิน ทำให้เกิดการเพิ่มแรงดันของหลอดเลือดดำในอุ้งเชิงกรานและขา ทำให้มีการเคลื่อนไหวน้อยกว่าปกติ

การสูบบุหรี่ มีผลกับการแข็งตัวของเลือดและการไหลเวียนโลหิต เป็นสาเหตุให้มีความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำลึก

การบาดเจ็บ หรือการผ่าตัด การมีการบาดเจ็บของหลอดเลือดดำ หรือการได้รับการผ่าตัด อาจเป็นสาเหตุให้การไหลเวียนของเลือดช้าลง เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ

โรคมะเร็ง (cancer) โรคมะเร็งบางชนิดสามารถเพิ่มปริมาณสารในเลือด ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ รวมถึงการรักษามะเร็งบางชนิดก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ

การเป็นโรคลำไส้อักเสบ (inflammatory bowel disease) อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่งของการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำส่วนลึก

โรคหัวใจล้มเหลว (heart failure) เนื่องจากผู้ที่เป็นโรคหัวใจล้มเหลวจะสูญเสียสมรรถภาพของหัวใจในการสูบฉีดเลือด ผู้ป่วยหัวใจเคลื่อนไหวลดลงเป็นสาเหตุให้มีความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำลึก

ผู้ที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ (pacemaker) หรือการใส่ท่อยืดหยุ่นได้ชนิดบาง (thin, flexible tube) ในหลอดเลือดดำ การใช้ หรือใส่เครื่องมือเหล่านี้ ทำให้เกิดการระคายเคืองผนังหลอดเลือดและลดการไหลเวียนโลหิต เป็นสาเหตุให้มีความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำลึก

การใช้ยาคุมกำเนิด หรือฮอร์โมนทดแทน

การมีประวัติเกิดภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำลึก หรือภาวะลิ่มเลือดไปอุดตันหลอดเลือดฝอยภายในปอดมาก่อน

การมีประวัติคนในครอบครัวเกิดภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำลึก หรือภาวะลิ่มเลือดไปอุดตันหลอดเลือดฝอยภายในปอด

ผู้ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป

เพศชายที่มีความสูงมาก

สัปดาห์หน้ายังมีเรื่องราวน่ารู้ของการวินิจฉัยภาวะหลอดเลือดดำมีลิ่มเลือดอุดตัน การรักษาและการป้องกัน รอติดตามกันนะครับ

แหล่งข้อมูล

คู่มือความรู้ภาคประชาชนเรื่อง โรคหลอดเลือดดำ โดย ศ. นพ.จุมพล วิลาศรัศมี ภาควิชาศัลยศาสตร์คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล