เมื่อเร็วๆนี้ กลุ่มนักวิจัยจากแผนกอิเล็กทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัยมาลากา ในสเปน เผยพบวิธีที่สามารถส่งเสียงเพลงผ่านการสั่นสะเทือนสำหรับคนพิการทางการได้ยิน หรือเรียกง่ายๆว่าคนที่มีปัญหาทางการได้ยินหรือพิการทางการได้ยินสามารถฟังดนตรีผ่านการสัมผัส
กลุ่มวิจัยระบุว่า ได้พัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า “tactile audio algorithm” ซึ่งคนพิการทางการได้ยินจะสัมผัสได้ถึงเสียงเพลง โดยอธิบายว่าเหมือนการ “แฮ็ก” ระบบประสาทเพื่อให้ได้รับการตอบสนองที่แตกต่างจากสิ่งเร้าที่แท้จริงที่ส่งไป นักวิจัยได้แปลงไฟล์เพลงเป็นสิ่งเร้าแบบสั่นสะเทือน ด้วยการใช้รูปแบบ MDI (Musical Instrument Digital Interface) ซึ่งคล้ายกับเพลงการทำแผนที่ ไฟล์ประเภทนี้ไม่เพียงจะเล่นและสร้างเสียงได้เท่านั้น แต่ยังแสดงรหัสได้ด้วย สิ่งที่นักวิจัยต้องการก็คือการบรรลุในระยะยาว ให้คนที่ไม่ได้ยินสามารถฟังเพลงได้ และด้วยวิธีนี้ ดนตรีจะกลายเป็นภาพลวงตาที่สัมผัสได้ ซึ่งให้ความเปลี่ยนแปลงแบบไม่หยุดนิ่งกับการสั่นสะเทือนด้วยการเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนทิศทางหรือเปลี่ยนตำแหน่ง
นักวิจัยระบุว่า ความท้าทายก็มีอยู่ เช่น ช่วงความถี่ที่รับรู้ได้ของผิวหนังนั้นต่ำกว่าระบบการได้ยิน ทำให้สูญเสียคุณลักษณะบางอย่างของเพลงไป แต่ในบรรดาผลลัพธ์ที่ได้รับจากอาสาสมัครที่เข้าร่วมมากกว่า 50 คน พบว่า สิ่งเร้าสร้างอารมณ์เชิงบวกนั้น มีมากกว่าอารมณ์เชิงลบ อย่างไรก็ตาม เครื่องมือนี้ยังเป็นเพียงตัวต้นแบบ ทีมกำลังคิดค้นวิธีติดตั้งอัลกอริทึมบนอุปกรณ์พกพาที่ผู้ใช้งานจะนำไปใช้ในคอนเสิร์ตหรือพบปะเพื่อนฝูงได้.
Credit : University of Malaga