ปัจจุบันนี้วิธีการส่งยาไปยังดวงตานั้น จะใช้การรักษาโดยทายาไปตรงที่ตาชั้นนอกหรือฉีดยาเข้าไปในดวงตา ทว่ายาที่ใช้กันนั้นอาจไม่ซึมลึกเข้าไปในดวงตา และยาที่ฉีดเข้าไปบางครั้งอาจทำให้เจ็บปวดและอาจทำให้เกิดการอักเสบ นักวิทยาศาสตร์จึงพยายามคิดค้นแนวทางใหม่ในการรักษาโรคทางดวงตามายาวนาน
เมื่อเร็วๆนี้ ทีมวิจัยนำโดยนักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเพอร์ดู และมหาวิทยาลัยมิชิแกน ในสหรัฐอเมริกา ร่วมกับทีมวิจัยจากหลายสถาบันการศึกษาในเกาหลีใต้ รายงานว่า ได้พัฒนาชนิดของคอนแทกเลนส์ที่มีการฝังเข็มนาโนที่ใช้วัสดุพื้นฐานคือซิลิกอน สำหรับรักษาโรคดวงตา ซึ่งผลิตภัณฑ์แบบใหม่นี้ต่อยอดมาจากความคิดที่จะฝังเข็มขนาดนาโนเข้าไปในดวงตาที่เสื่อมสภาพเมื่อเวลาผ่านไป โดยเข็มนาโนจะมีขนาดเล็กมากจนไม่ทำให้เกิดอาการปวดหรือรู้สึกไม่สบาย ทั้งนี้ วิธีการส่งเข็มนาโนเข้า ไปในดวงตา ก็คือแนบไปกับคอนแทกเลนส์ที่จะละลายทันทีหลังจากทาบลงที่ดวงตา
ทีมวิจัยได้ทดสอบผลิตภัณฑ์ใหม่ กับแบบจำลองกระต่าย และพบว่าการหดตัวของหลอดเลือดที่กระจกตาลดลงเกือบสมบูรณ์ภายในเวลาเพียง 28 วัน อย่างไรก็ตาม ทีมระบุว่าจะต้องพัฒนาการทำงานมากยิ่งขึ้น ก่อนที่จะนำการบำบัดด้วยเข็มนาโนไปรักษาผู้ป่วยในมนุษย์ โดยจะต้องผ่านการทดสอบทั้งด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยก่อน อีกทั้งจะต้องพัฒนาวิธีการเก็บเลนส์ที่ผลิตขึ้นด้วยเช่นกัน.
Credit : Unsplasn/CCO Public Domain