ลองโควิด (Long COVID) หรือภาวะแทรกซ้อนหลังป่วยโควิด-19 (Post COVID Syndrome) เป็นสิ่งที่ผู้หายจากอาการโควิดอาจเผชิญหลังจากติดเชื้อ แม้ว่ารักษาโควิดหายแล้วแต่ก็มีสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับระบบต่างๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือผู้ที่ร่างกายแข็งแรงก็อาจเผชิญกับภาวะนี้ได้
ลองโควิด (Long COVID) คืออะไร
องค์การอนามัยโลกประกาศนิยามของ ลองโควิด คือ อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นใหม่หรือต่อเนื่องภายหลังการติดเชื้อโควิด-19 ส่วนมากตั้งแต่ 3 เดือน นับจากวันตรวจพบเชื้อ และมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 เดือน โดยอาการดังกล่าวเกิดขึ้นได้หลายระบบ และอาการที่เกิดขึ้นไม่สามารถอธิบายได้ด้วยการวินิจฉัยสาเหตุอื่นๆ
ปัจจุบันมีเพียงสมมติฐานที่คาดว่า ลองโควิด คือ ภาวะที่เกี่ยวข้องกับส่วนหนึ่งของชิ้นส่วนสารพันธุกรรมของไวรัส หรือ แอนติเจนของไวรัส (Fragments of viral genome or viral antigens) ที่หลงเหลืออยู่ในร่างกาย แต่ไม่ส่งผลต่อการติดเชื้อโควิด-19 แล้ว ซึ่งสามารถส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยโควิดที่หายแล้ว
ชิ้นส่วนสารพันธุกรรมที่หลงเหลือของไวรัสเหล่านั้นอาจส่งผลให้ร่างกายเกิดการอักเสบ ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง คือ เพศหญิง ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภาวะอ้วน ผู้ที่มีโรคประจำตัว ซึ่งจะพบอาการมากกว่า 5 อย่าง ในช่วง 1 สัปดาห์แรกของอาการป่วยลองโควิด (Long COVID Syndrome)
อาการลองโควิด (Long Covid Syndrome)
...
กรมการแพทย์และกรมสุขภาพจิต หารือร่วมกับคณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิผู้แทนทีมจากราชวิทยาลัย สมาคมแพทย์เฉพาะทางต่างๆ พบ 6 อันดับอาการลองโควิดที่พบมากที่สุด ผ่านการสำรวจผ่านผู้ที่ได้รับผลกระทบระยะยาวจากโควิด-19 จำนวน 1,300 คน ทางเว็บไซต์กรมการแพทย์ พบอาการลองโควิด 10 อันดับแรก ดังนี้
1. อ่อนเพลีย
2. หายใจลำบาก หอบเหนื่อย
3. ไอ
4. นอนไม่หลับ
5. ปวดศีรษะ
6. ผมร่วง
7. เวียนศีรษะ
8. วิตกกังวล เครียด
9. ความจำสั้น
10. เจ็บหน้าอก
อาการลองโควิด ในภาพรวมต่างประเทศที่ได้จากชุดข้อมูลจำนวนมาก สามารถระบุอาการที่พบบ่อยได้ดังนี้
การรักษาลองโควิด
- การซักประวัติผู้ป่วย ได้แก่
1. ซักประวัติผู้ป่วย ได้แก่ เพศ อายุ สภาพร่างกาย โรคประจำตัว และยาที่ใช้เป็นประจำ
2. ซักประวัติการติดเชื้อ อาการ ความรุนแรงของโรค ยาที่เคยได้รับ จำนวนวันที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาล ประวัติการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤติ และภาวะแทรกซ้อนระบบต่างๆ
3. ซักประวัติอาการที่สงสัยภาวะ Long COVID เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย นอนไม่หลับ ปวดเมื่อย ใจสั่น และหลงลืม หรืออาการอื่นๆ ตั้งแต่เริ่มมีอาการจนกระทบถึงการดำเนินชีวิตประจำวัน
- การตรวจร่างกาย ได้แก่ การตรวจอุณหภูมิ, ชีพจร, ความดันโลหิต, ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด และการตรวจร่างกายอื่นๆ ที่สอดคล้องกับอาการ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ การตรวจเลือด, ตรวจปัสสาวะ, เอกซเรย์ปอด, ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
แนวทางการรักษาผู้ป่วยลองโควิด
1. เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย อ่อนล้า
วิธีการรักษา : เอกซเรย์ปอด ตรวจสมรรถภาพปอด หรือตรวจการนอนหลับ เพื่อได้รับการแนะนำเพิ่มเติม
...
2. ใจสั่น เจ็บหน้าอก เหนื่อยเรื้อรัง
วิธีการรักษา : ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
3. หลงลืม ขาดสติ
วิธีการรักษา : ตรวจภาพถ่ายรังสีสมอง ด้วยวิธี CT Scan หรือ MRI Brain
4. แขนขาอ่อนแรง หรือใบหน้า แขน ขา ข้างใดข้างหนึ่งชา
วิธีการรักษา : ตรวจภาพถ่ายรังสีสมอง ด้วยวิธี CT Scan หรือ MRI Brain
5. กล้ามเนื้อลีบ
วิธีการรักษา : วัดมวลกล้ามเนื้อ ตรวจไฟฟ้าวินิจฉัยเพื่อศึกษาเกี่ยวกับโรคของระบบประสาทส่วนปลายและกล้ามเนื้อ
6. ผมร่วง
วิธีการรักษา : ตรวจผิวหนังผ่านกล้องขยาย
หลังจากแพทย์ประเมินอาการผู้ป่วยแล้วจึงพิจารณาส่งต่อผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขา เพื่อวินิจฉัยและเข้าสู่กระบวนการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแต่ละระบบ
ลองโควิดต้องตรวจ RT-PCR หรือไม่
ตามคำแนะนำระบุว่าในช่วง 3 เดือนแรก ไม่แนะนำให้ส่งตรวจ RT-PCR ซ้ำเพราะมีโอกาสเจอสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสในสารคัดหลั่งได้ แต่หากเป็นผู้ป่วยที่มีประวัติสัมผัสเสี่ยงสูง ก็ต้องตรวจซ้ำ
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :