ไม่ใช่เรื่องเหนือความคาดหมายสำหรับวันที่ประเทศไทยจะเดินมาถึงจุดวิกฤติของการรักษาโควิด-19 ใน รพ. เมื่อเตียงไม่พอ หมอไม่มี บุคลากรด่านหน้ารับมือไม่ไหว การเพิ่มโรงพยาบาลสนามไม่ทันกับการเพิ่มจำนวนของคนไข้

นโยบายและมาตรการ Home Isolation จึงถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึง และถูกผลักดันให้เป็นนโยบายเร่งด่วน จนกลายเป็นวลียอดฮิตสำหรับ “เถียงนาโมเดล” ที่โฆษก ศบค.พูดถึง

"Home Isolation" มาตรการ “กักโรค” ในวันที่..เตียงรพ.ถึงขั้นวิกฤติ

จะว่าไปแล้ว การทำ Home Isolation ถือเป็นทางออกและมาตรการที่เหมาะสมที่สุดในการแก้ไขปัญหา และไม่ใช่แค่ประเทศไทย โมเดลนี้ มีใช้ในต่างประเทศ เช่น อังกฤษ สหรัฐฯ โดยให้ผู้ป่วย “โควิด-19” อาการไม่หนักดูแลตัวเองที่บ้าน ตั้งแต่ในช่วงการ ระบาด Wave 2 โดยให้คนไข้ดูแลตนเอง ทั้งการวัดไข้ กินยา สังเกตอาการแต่สำหรับประเทศไทยต้องบอกว่า การทำ Home Isolation ดู เหมือนจะดีกว่าต่างประเทศ เพราะมีการให้อุปกรณ์วัดไข้ เครื่องวัดออกซิเจนไปที่บ้านเพื่อวัดค่าต่างๆ มีแพทย์โทรศัพท์หรือวิดีโอคอลตรวจสอบอาการทุกวันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง มีการส่งอาหารและน้ำให้วันละ 3 มื้อ หากอาการทรุดลงก็จะส่งยาฟ้าทะลายโจรและยาฟาวิพิราเวียร์ไปให้ที่บ้านหรือส่งรถไปรับมานอนที่โรงพยาบาล

...

เรียกว่าไม่ผลักภาระให้ผู้ป่วยมากจนเกินไป การดูแลหรือ Care เหมือนอยู่ รพ.เพียงแต่คนไข้พักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน

ในช่วงแรกที่มีการระบาด ประเทศในยุโรปเกือบทั้งหมดใช้มาตรการนี้ แม้แต่นายกรัฐมนตรีอังกฤษ บอริสจอห์นสัน ตอนที่ป่วยก็เข้าสู่มาตรการ Home Isolation เช่นเดียวกับคนไข้คนอื่นๆใครบ้างที่สามารถเข้าสู่กระบวนการ Home Isolation

"Home Isolation" มาตรการ “กักโรค” ในวันที่..เตียงรพ.ถึงขั้นวิกฤติ

มีข้อกำหนดอยู่ประมาณ 7 ข้อ เริ่มจากต้องเป็นคนไข้โควิดสีเขียว หมายถึงเป็นผู้ติดเชื้อโควิดที่สบายดี หรือไม่มีอาการ (asymptomatic cases) มีอายุน้อยกว่า 60 ปี มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง อยู่คนเดียว หรือมีผู้อยู่ร่วมที่พักไม่เกิน 1 คน ไม่มีภาวะอ้วน (ภาวะอ้วน หมายถึง ดัชนีมวลกาย >3030 กก./ม.2 หรือน้ำหนักตัว > 90 กก.) ไม่มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) โรคไตเรื้อรัง (CKD Stage 3, 4) โรคหัวใจและหลอดเลือด
โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ หรือโรคอื่นๆตามดุลพินิจของแพทย์ และสุดท้าย คือยินยอมแยกตัวในที่พักของตนเอง

ถ้าเข้าเกณฑ์ทั้ง 7 ข้อนี้ ก็สามารถที่จะกักตัวเองอยู่ที่บ้าน เป็นการกักโรคไม่ให้ไปแพร่กระจายด้วย

"Home Isolation" มาตรการ “กักโรค” ในวันที่..เตียงรพ.ถึงขั้นวิกฤติ

มาตรการนี้ ทั้งยุโรป เอเชีย เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี ล้วนแล้วแต่มีโมเดลที่ได้ผลดี นอกจากจะเป็นการสกัดการระบาดของโรคไม่ให้รุนแรงขึ้นแล้ว ยังช่วยลด Work load ของบุคลากรทางการแพทย์ลงได้มากด้วย

สิ่งสำคัญสำหรับมาตรการนี้คือ ระบบที่ดี โดยเฉพาะการตรวจสอบ ติดตามอาการ จะผ่านทางโทรศัพท์ หรือวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ไลน์ วิดีโอ ก็ได้ เพื่อให้ทราบความคืบหน้าอาการของผู้ป่วย

"Home Isolation" มาตรการ “กักโรค” ในวันที่..เตียงรพ.ถึงขั้นวิกฤติ

...

ในสวีเดนมีรายงานยืนยันทางการแพทย์ชัดเจนว่า การทำ Home Isolation ช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อ และหากมีระบบที่ดี เช่น การจ่ายยาให้อย่างรวดเร็ว การติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยประมาณ 80% จะหายได้เอง และไม่พัฒนาจากผู้ป่วยสีเขียว เป็นสีเหลือง มีเพียง 20% เท่านั้นที่อาจมีข้อจำกัด และต้องถูกส่งตัวไป รพ.

ในประเทศอังกฤษ การทำ Home Isolation ช่วยลดการป่วยและนอนไอซียูลงได้มาก สำคัญที่การวินิจฉัยเร็ว ให้ยาเร็ว และติดตามอาการอย่างใกล้ชิด

"Home Isolation" มาตรการ “กักโรค” ในวันที่..เตียงรพ.ถึงขั้นวิกฤติ

สำหรับประเทศไทย สิ่งสำคัญที่ต้องเริ่มก่อนคือ การให้ความรู้ ความเข้าใจกับประชาชนให้เห็นว่าการรักษาตัวที่บ้าน ในกรณีที่เป็นน้อย หรือแทบไม่มีอาการ เป็นผลดีทั้งต่อตัวเองและสังคมโดยส่วนรวม เป็นการช่วยตัวเองเพื่อช่วยชาติ เพื่อผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปด้วยกัน.