28 มิ.ย. 64 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ยืนยันผู้ป่วยโควิดสายพันธุ์เบตา หรือโควิดสายพันธุ์แอฟริกาใต้คนแรกที่พบในกรุงเทพมหานคร 1 ราย จึงทำให้ผู้คนต่างสงสัยว่า “โควิดสายพันธุ์เบตา” นี้คืออะไร มีอาการอย่างไร และอันตรายกว่าสายพันธุ์อื่นหรือไม่
โควิดเบตาคืออะไร
โควิดเบตา คือ โควิดสายพันธุ์แอฟริกา พบผู้ติดเชื้อในไทยแล้วกว่า 100 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้ติดเชื้อในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พบครั้งแรกในคลัสเตอร์ตากใบ จ.นราธิวาส อาการของผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์เบตาสอดคล้องกับตำแหน่งที่กลายพันธุ์ ซึ่งลดประสิทธิภาพการตรวจจับของชุดตรวจแบบเดิม
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี เผยข้อมูลโควิดเบตาผ่านเพจ Center for Medical Genomics เกี่ยวกับคุณสมบัติและความรุนแรงของโควิดสายพันธุ์เบตานี้ว่าได้จัดเป็นไวรัสกลายพันธุ์ที่น่ากังวลใจ (Variant of Concern : VOC)

โควิดสายพันธุ์เบตา มีชื่อเรียกว่า 501Y.V2 หรือ B.1.351 พบการกลายพันธุ์ที่แอฟริกา แต่ภายหลังที่พบการแพร่กระจายเป็นวงกว้างทั่วโลก เพื่อให้ง่ายต่อการเรียกชื่อของบุคคลทั่วไป โควิดสายพันธุ์กลายที่น่ากังวลใจหลายตัวจึงได้รับการจัดสรรชื่อใหม่ ดังนี้
...
- โควิดสายพันธุ์อัลฟา (Alpha) คือ โควิดสายพันธุ์อังกฤษ (B.1.1.7)
- โควิดสายพันธุ์เบตา (Beta) คือ โควิดสายพันธุ์แอฟริกา (B.1.351)
- โควิดสายพันธุ์แกมมา (Gamma) คือ โควิดสายพันธุ์บราซิล (B.1.1.28.1)
- โควิดสายพันธุ์เดลตา (Delta) คือ โควิดสายพันธุ์อินเดีย (B.1.617.2)
- โควิดสายพันธุ์เดลตา (DeltaPlus) คือ โควิดสายพันธุ์อินเดีย (B.1.617.1)
โควิดเบตาอาการเป็นอย่างไร

ผู้ป่วยโควิดเบตา มีอาการเบื้องต้นของโรคเช่นเดียวกับโควิดสายพันธุ์อื่นๆ ได้แก่ มีไข้ ไอแห้ง และอ่อนเพลีย สิ่งที่ทำให้ตรวจพบโรคโควิดสายพันธุ์เบตานี้ได้เร็ว คือ ผู้ป่วยมีประวัติเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง และสัมผัสกับผู้ติดเชื้อยืนยัน
อาการที่พบอื่นๆ ได้แก่ ปวดเมื่อยเนื้อตัว, เจ็บคอ, ท้องเสีย, ปวดศีรษะ, ตาแดง, สูญเสียความสามารถในการดมกลิ่นและรับรส, มีผื่นขึ้นที่บริเวณผิวหนัง หรือ นิ้วมือนิ้วเท้าเปลี่ยนสี
อาการโควิดที่รุนแรง เมื่อโควิดลงปอด คือ ผู้ป่วยหายใจลำบาก ติดขัด หายใจถี่ มีเสมหะอยู่ในปอด เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก สูญเสียความสามารถในการพูดและเคลื่อนไหว
หลังจากที่ได้รับเชื้อแล้วผู้ป่วยมักจะแสดงอาการในวันที่ 5-14 วัน จึงเป็นช่วงเวลาที่ผู้เดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง ควรกักตัว อยู่ในที่พักอาศัย เพื่อเฝ้าระวังโรคติดต่อนี้
เนื่องจากโควิดสายพันธุ์เบตานี้ถูกจัดเป็น VOC จึงต้องเฝ้าระวังการติดต่อแพร่กระจายที่อาจเร็วกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมในอัตราที่สูงขึ้น และคาดว่ามีความรุนแรงของโรคมากกว่า รวมถึงอาจลดประสิทธิภาพคุ้มคุ้มกัน ลดประสิทธิภาพการรักษาที่มีอยู่ และอาจลดประสิทธิภาพของมาตรการด้านสาธารณสุขในสังคม

ปัจจุบันนี้มีสายพันธุ์โควิด 5 สายพันธุ์ที่ถูกจัดเป็นการกลายพันธุ์ที่น่ากังวลใจ (Variant of Concern : VOC) และอีก 6 สายพันธุ์ที่จัดเป็นสายพันธุ์ที่น่าจับตามอง (Variant of Interest : VOI)

...
ภาพรวมในระดับโลก โควิดอัลฟา หรือ โควิดกลายพันธุ์สายพันธุ์อังกฤษ B.1.1.7 คือสายพันธุ์ที่พบมากที่สุด รวมถึงประเทศไทยด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดีเมื่อพบสายพันธุ์อันตราย VOC ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ การเฝ้าระวังโควิดกลายพันธุ์จึงเป็นเรื่องที่ควรติดตามเพื่อป้องกันการระบาดสู่วงกว้าง
ที่มาภาพ : Center for Medical Genomics
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :