อาการโควิดล่าสุดรอบใหม่ ได้รับการยืนยันจากศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าเป็นสายพันธุ์อังกฤษ (B.1.1.7) และระบาดได้รวดเร็วกว่าสายพันธุ์ปกติ 1.7 เท่า ในเดือนเมษายนเดือนเดียว มีผู้ป่วยสะสมกว่า 3 หมื่นราย พบในจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมากที่สุด พบข้อมูลผู้เสียชีวิตที่มีอายุน้อยลงเรื่อยๆ ผู้ป่วยที่พบเชื้อไวรัสในร่างกายจำนวนมากไม่แสดงอาการป่วย
อาการโควิดเบื้องต้นยังเหมือนเดิม สายพันธุ์ใหม่ระบาดเร็วขึ้น ไม่เพิ่มความรุนแรง
นักวิจัยต่างประเทศศึกษาอาการโควิดล่าสุดโดยเฉพาะในสายพันธุ์อังกฤษ (B.1.1.7) ว่าก่อให้เกิดอาการรุนแรงหรือไม่ ด้วยแอปพลิเคชันติดตามอาการในผู้ป่วยโควิด 36,920 ราย ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน ถึง 27 ธันวาคม 2563 เพื่อศึกษาระยะเวลาแสดงอาการของโรค และความสามารถในการแพร่เชื้อ
บทความนี้ตีพิมพ์ในวารสาร The Lancet Infectious Diseases พบว่าผู้ป่วยโควิด-19 สายพันธุ์อังกฤษ (B.1.1.7) ไม่มีแนวโน้มที่จะเสียชีวิตมากกว่าผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ต่างกัน
...
ลักษณะทางกายภาพของเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์อังกฤษ (B 1.1.7)
พบเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์ในอินเดีย เรียกโควิดเบงกอล (B 1.618)
Worldometers รายงานยอดผู้ติดเชื้อในอินเดียขึ้นเป็นอันดับ 2 มีจำนวนผู้ติดเชื้อ 17 ล้านคน ประกอบด้วยสายพันธุ์แอฟริกาใต้ (B.1.3.5.1), สายพันธุ์บราซิล (P1) และสายพันธุ์อังกฤษ (B.1.1.7) และพบการกลายพันธุ์ระบาดหนักในรัฐเบงกอลตะวันตก นักวิจัยอินเดียรายงานสายพันธุ์โควิดเบงกอล (B.1.618) ในวันที่ 17 มีนาคม 2564 เป็นการกลายพันธุ์บริเวณ Spike gene จากสายพันธุ์ที่ระบาดหนักในอเมริกา, สวิตเซอร์แลนด์, สิงคโปร์ และฟินแลนด์ ซึ่งต้องรอผลการศึกษาอาการโควิดเบงกอลจากจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มเติม จึงใช้วิธีการรักษาเช่นเดียวกับอาการโควิดเบื้องต้นทั่วไป
B.1.618 - a new lineage of SARS-CoV-2 predominnatly found in India and characterized by a distinct set of genetic variants including E484K , a major immune escape variant. pic.twitter.com/dtfQJp2S2B
— Vinod Scaria (@vinodscaria) April 20, 2021
...
วันที่ 9 พ.ค. 64 พบรายงานผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์อินเดียทั้ง B.1.617.1 และ B.1.617.2 ในสถานกักตัวผู้เดินทางข้ามประเทศ แต่ยังไม่พบการระบาดในระดับชุมชน
อาการเริ่มแรกเมื่อติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์อังกฤษ (B 1.1.7) ในช่วง 14 วันแรก คือ
- มีไข้
- หนาวสั่น
- ไอ
- หายใจถี่
- หายใจลำบาก
- ปวดศีรษะ
- สูญเสียการได้กลิ่น
- เจ็บคอ
- มีน้ำมูก
- อ่อนเพลีย
- ปวดเมื่อยตามร่างกาย
- อาเจียนหรือท้องเสีย
อาการโควิดล่าสุด 2564 วันต่อวัน
- วันที่ 1-14 โควิดไม่แสดงอาการ
อาการโควิดรอบใหม่นี้ พบผู้ป่วยไม่ได้แสดงอาการหลังจากได้รับเชื้อระยะแรก จึงทำให้ได้รับการวินิจฉัยล่าช้า จนมีโอกาสเกิดอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ในระยะเวลา 14 วันแรกเป็นช่วงที่เชื้อเพิ่มจำนวนในร่างกายมากที่สุด - วันที่ 8-14 อาการโควิดระยะแรก
อาการโควิดที่พบส่วนมากร้อยละ 81 มีไข้, เมื่อยล้า, ไอแห้ง เกิดอาการโควิดลงปอด เกิดจุดขาวพร่าในปอด ปอดบวม มีเพียงร้อยละ 14 ที่หายใจวิกฤติ อาการหนักเกิดภาวะแทรกซ้อนจำเป็นต้องเข้ารับการรักษา ICU - วันที่ 12-20 อาการวิกฤติ
อาการโควิดขั้นโคม่าเกิดขึ้นเพียงร้อยละ 5 ส่วนใหญ่เกิดประมาณวันที่ 16 เกิดภาวะทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน โดยผู้ป่วยมีอาการทรุดในระบบอื่นๆ ของร่างกายร่วมด้วย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว
...
- ผื่นโควิดพบน้อย ใช้ระบุอาการโควิดไม่ได้
เชื้อไวรัสโคโรนาโควิด-19 ก่อให้เกิดอาการที่ผิวหนังได้เช่นกัน ซึ่งมักเป็นบริเวณนิ้วเท้า (Covid Toe) ในลักษณะผื่นแดง หรือตุ่ม บางรายมีอาการทางเดินหายใจเกิดก่อนหรือหลังที่ผื่นเกิดขึ้น เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้หากติดเชื้อโควิดแต่พบน้อยจึงไม่ถูกนำมาเป็นเกณฑ์วินิจฉัยโรคตามหลักของกรมการแพทย์
- อาการโควิดลงปอดคืออะไร
ภายในปอดประกอบด้วยถุงลมเล็กๆ จำนวนมาก เพื่อแลกเปลี่ยนก๊าซกับเส้นเลือด อาการโควิดลงปอด เกิดจากของเหลวประเภทโปรตีนคั่งอยู่ในถุงเล็กๆ ของปอด ขัดขวางการฟอกเลือดที่เคยทำได้ในภาวะปกติ หากติดเชื้อจำนวนมากจะส่งผลต่อระบบหายใจล้มเหลวเฉียบพลันได้
...
ขั้นตอนการรักษาโควิดของแพทย์
ล่าสุด วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2564 กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข แสดงข้อมูลแนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย และการรักษาผู้ป่วยโควิด สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุขไว้ดังนี้
1. แผนกเวชระเบียน คัดกรองประวัติผู้ป่วย เฝ้าระวังในโรงพยาบาล ผู้ป่วยที่มีไข้ให้สอบถามข้อมูลที่เข้าเกณฑ์อาการโควิด-19
2. ผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ให้สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา พักรอ ณ จุดที่จัดไว้ บุคลากรทางการแพทย์สวมชุด PPE และอุปกรณ์ป้องกันเฉพาะบุคคล ตั้งแต่กระบวนการเก็บตัวอย่าง
3. ส่งผลตัวอย่างตรวจหาเชื้อ SARS-CoV-2 หากพบเชื้อ รับไว้ในโรงพยาบาลห้องแยกเดี่ยว หรือหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ (Hospitel) หรือโรงพยาบาลสนาม หากมีอาการรุนแรง ต้องทำ Aerosol Generating Procedure และให้การรักษาตามแนวทางการดูแลรักษา
หากไม่พบเชื้อ เข้าสู่กระบวนการรักษาที่เหมาะสม แนะนำให้ผู้ตรวจหาเชื้อกักตัวสังเกตอาการอีก 14 วันที่บ้าน หากมีอาการรุนแรงให้พิจารณารับเข้ารักษาในโรงพยาบาลเพื่อตรวจวินิจฉัยรักษาตามความเหมาะสม
4. สำหรับผู้ที่หายแล้ว แนะนำให้กลับไปพักฟื้นที่บ้าน แต่ยังคงต้องกักตัวแยกจากผู้อื่นอีก 14 วัน เพราะยังอยู่ในระยะแพร่เชื้อ
ประสิทธิภาพของวัคซีนโควิด-19 ตัวไหน ป้องกันโควิดสายพันธุ์ใหม่ได้ดีที่สุด
สำนักข่าว The Straitstimes ของสิงคโปร์ เผยแพร่ผลการศึกษาประสิทธิภาพวัคซีนต่อเชื้อโควิดสายพันธุ์ที่กำลังระบาดทั่วโลก จากสถาบัน National University of Singapore’s Yong Loo Lin School of Medicine พบว่าวัคซีนแต่ละตัวป้องกันอาการโควิดสายพันธุ์อังกฤษ (B.1.1.7) ได้ดีทั้งสิ้น ได้แก่
- Pfizer มีประสิทธิภาพ 90-95%
- Moderna มีประสิทธิภาพ 90-95%
- AstraZeneca มีประสิทธิภาพ 70-80%
- Novavax มีประสิทธิภาพ 85%
- Johnson & Johnson มีประสิทธิภาพ 70%
โควิด-19 สร้างความเสียหายด้านสุขภาพไปทั่วโลก Worldometers รายงานจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมสูงสุดคือสหรัฐอเมริกา มีผู้ติดเชื้อสะสม 32.8 ล้านคน ส่วนประเทศไทยอยู่อันดับ 105 มีจำนวนผู้ติดเชื้อสะสม 57,508 คน คิดเป็นจำนวนคร่าวๆ จากประชากรทั้งหมดจะพบผู้ป่วย 82 คน ต่อประชากร 100,000 คน และทั่วโลกเร่งฉีดวัคซีนให้กับประชากรเพื่อให้ถึงเกณฑ์ปลอดภัย ซึ่งต้องมากกว่า 70% ของจำนวนประชากรทั้งหมด
ที่มา :
1. Scitechdaily.com. COVID Variant B117 Is More Transmissible, but Does Not Increase Severity of Symptoms. 2020, แหล่งที่มา : https://scitechdaily.com/covid-variant-b117-is-more-transmissible-but-does-not-increase-severity-of-symptoms [26 เมษายน 2564]
2. Petoskeynews.com. New strains, same symptoms — what the new COVID-19 variants mean for communities. 2021, แหล่งที่มา : https://www.petoskeynews.com/charlevoix/new-strains-same-symptoms-what-the-new-covid-19-variants-mean-for-communities/article_09447a81-f721-501a-bc8c-1b2bbb0af51d.html [26 เมษายน 2564]
3. Thelancet.com. Genomic characteristics and clinical effect of the emergent SARS-CoV-2 B.1.1.7 lineage in London, UK: a whole-genome sequencing and hospital-based cohort study. 2021, แหล่งที่มา : https://www.thelancet.com/journals/laninf/article/PIIS1473-3099(21)00170-5/fulltext [26 เมษายน 2562]
4. Nature.com. Characteristics of SARS-CoV-2 and COVID-19. 2020, แหล่งที่มา : https://www.nature.com/articles/s41579-020-00459-7. [26 เมษายน 2564]
5. Indianexpress.com. Explained: B.1.617 variant and the Covid-19 surge in India 2021, แหล่งที่มา : https://indianexpress.com/article/explained/maharashtra-double-mutant-found-b-1-617-variant-and-the-surge-7274080. [26 เมษายน 2564]
6. Hfocus.org. โควิดทองหล่อ เป็นสายพันธุ์อังกฤษ ทำแพร่ระบาดง่ายและเร็วกว่าปกติ 1.7 เท่า วอนเลี่ยงเคลื่อนย้ายช่วงสงกรานต์. 2021, แหล่งที่มา : https://www.hfocus.org/content/2021/04/21355. [26 เมษายน 2564]