โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคยอดฮิตของผู้สูงอายุในไทย เกิดได้จากกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม การวัดความดันเป็นจุดเริ่มต้นบ่งบอกสุขภาพร่างกายคร่าวๆ ได้ก่อนที่คุณหมอจะตรวจและให้ยา โดย “ความดันโลหิต” เป็นค่าที่สามารถบ่งบอกความเสี่ยงโรคต่างๆ ได้ ค่าความดันปกติของคนเราอยู่ที่เท่าไหร่มาดูกัน

ความดันของคนปกติอยู่ที่เท่าไหร่

ความดันปกติ หรือ ความดันโลหิตที่เหมาะสม ของผู้ที่อายุ 18 ปีขึ้นไป อยู่ที่ 120/80 มิลลิเมตรปรอท โดยค่าตัวบน หมายถึง Systolic Blood Pressure (SBP) ซึ่งเป็นค่าความดันโลหิตสูงสุดขณะที่หัวใจห้องล่างบีบตัว และ ค่าตัวล่าง หมายถึง Diastolic Blood Pressure (DBP) 

การตรวจความดันโลหิต มักจะต้องวัดก่อนตรวจรักษากับแพทย์เสมอ เพื่อการวินิจฉัยร่วมกับอาการของโรค และรวมอยู่ในแพ็กเกจตรวจสุขภาพประจำปีด้วย แต่คนที่มีภาวะเสี่ยงความดันผิดปกติก็ต้องตรวจซ้ำถี่ขึ้น โดยการแปลผลค่าความดันปกติ พร้อมคำแนะนำ ดังนี้

...

  • กลุ่มความดันปกติ <130 / <85 ควรตรวจทุกปี
  • กลุ่มความเสี่ยงสูง 130-139 / 85-89 ควรตรวจทุกปี
  • กลุ่มความดันสูงเล็กน้อย 140-159 / 90-99 ควรตรวจใหม่ภายใน 2 เดือน
  • กลุ่มความดันสูงปานกลาง 160-179 / 100-109 ควรตรวจใหม่ภายใน 1 เดือน
  • กลุ่มความดันสูงรุนแรง 180-209 / 110-119 ควรตรวจใหม่ภายใน 1 เดือน
  • กลุ่มความดันสูงรุนแรงมาก >210 / >120 ควรรักษาทันที

ความดันปกติของผู้สูงอายุอยู่ที่เท่าไหร่

ผู้สูงอายุที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป มักเจอโรคประจำตัวจากไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต หรือจากพันธุกรรม การอ่านค่าความดันโลหิตสามารถบอกภาวะเสี่ยงโรคต่างๆ ได้มากขึ้น เช่น ความดันของคนอายุ 50 เกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท ถือว่ามีความดันโลหิตสูงกว่าปกติ เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ, โรคหลอดเลือดในสมอง, เส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง

การติดตามความดันปกติของคนอายุ 50 - 60 ปี เมื่ออ่านค่าความดัน 3 ตัวด้านบนไม่ควรเกิน 120 และตัวล่างไม่ควรเกิน 80 มิลลิเมตรปรอท

วิธีการดูแลตัวเองของผู้ป่วยโรคความดันสูง

ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ควรรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง และติดตามผลความดันของตัวเอง รวมถึงดูแลสุขภาพรอบด้านเพื่อลดค่าความดัน ด้วยวิธีการดังนี้

- ลดน้ำหนักตัว หากเป็นผู้ที่มีน้ำหนักเกิน
- หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด รสเค็ม
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- งดสูบบุหรี่
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

วิธีการดูแลตัวเองของผู้ป่วยโรคความดันต่ำ

ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตต่ำ หมายถึง มีค่าความดัน Systolic Blood Pressure (หรือค่าความดัน 3 ตัวบน) ต่ำกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท ส่งผลให้เกิดใจเต้นแรง เวียนศีรษะและตาพร่าเบลอได้ง่าย มีวิธีการดูแลตัวเองดังนี้

- หลีกเลี่ยงการพักผ่อนน้อย
- หลีกเลี่ยงการยืน หรือ นั่งนานๆ
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนในตอนกลางคืน
- ลุกและนั่งให้ถูกท่า หากมีอาการวิงเวียนให้ค่อยๆ นั่งลงหรือนอนพักให้เท้าอยู่สูงกว่าระดับหัวใจ เพื่อให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมอง
- ออกกำลังกายและเคลื่อนไหวในช่วงเช้าเพื่อกระตุ้นการเต้นของหัวใจที่เหมาะสม

วิธีการวัดความดันโลหิตด้วยตัวเอง

...

กรณีที่คุณซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตมาไว้วัดความดันตัวเองที่บ้าน เพื่อติดตามผลด้วยตัวเอง ดูแลตัวเอง ลดความดันโลหิตสูงด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่ใช้ยา มีวิธีการวัดดังนี้

1. เลือกวัดความดันช่วงเช้า หรือช่วงเย็น โดยวัดซ้ำ 2 ครั้งต่อรอบ ห่างกันครั้งละ 1-2 นาที ช่วงเช้าทำหลังตื่นนอน 2 ชั่วโมง และก่อนรับประทานยาความดัน
2. ไม่ดื่มชา กาแฟ ก่อนวัดความดันอย่างน้อย 30 นาที
3. ก่อนวัดความดัน ปัสสาวะให้เรียบร้อย
4. นั่งพิงเก้าอี้ให้หลังพิงพนัก และไม่เกร็งเท้าทั้ง 2 ข้าง วางแขนราบกับพื้นเพื่อให้ผ่อนคลายอย่างน้อย 5 นาที ก่อนวัดความดัน
5. ไม่กำมือ ไม่ขยับตัวหรือพูดคุย

การวัดความดันเป็นการติดตามความเสี่ยงอาการป่วยของร่างกายได้เบื้องต้น ปัจจุบันนี้มีเครื่องวัดความดันที่ได้มาตรฐาน ราคาไม่แพง สามารถซื้อติดบ้านเพื่อใช้ติดตามสุขภาพของตัวเองได้ แต่หากพบค่าความดันโลหิตที่ผิดปกติ ควรวัดซ้ำ และปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพเพื่อความปลอดภัย


ที่มา : siphhospital.commahidol.ac.th