การที่บริโภคอาหารที่มีสัดส่วนของ isoflavone จะล้อตามไปกันกับการเน้นรับประทานผัก ออกกำลังกายมาก และการที่มีคะแนน AHIE สูง เมื่อมามองดูที่การบริโภคเต้าหู้ ถั่วเหลือง ก็พบความสัมพันธ์อย่างเดียวกันโดยมักจะเป็นบุคคลที่มีคะแนน AHIE สูง เน้นผักผลไม้ และลดการบริโภคเนื้อสัตว์และไขมันทรานส์
การบริโภคอาหารที่มี isoflavone สูง จะผกผันกับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ทั้งนี้ โดยปรับตัวแปร คะแนน AHIE อายุ เพศ เชื้อชาติ เศรษฐฐานะ ระดับการศึกษา เชื้อชาติ สูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ ระดับของการออกกำลัง การเสริมวิตามิน การใช้ยาป้องกันเส้นเลือดตีบแอสไพรินประวัติความดันสูง ไขมันสูง ประวัติ เส้นเลือดหัวใจตันในครอบครัว ภาวะของประจำ เดือน การใช้ฮอร์โมนหลังหมดประจำเดือน การใช้ยาคุมกำเนิดลักษณะขนาดน้ำหนักตัว (BMI) และเฉลี่ยของพลังงานที่ได้จากการกิน
การบริโภคเต้าหู้และเหตุของโรคหัวใจและโรคของเส้นเลือดตัน พบประโยชน์ในลักษณะเดียวกัน แต่มีข้อแตกต่างตรงที่น้ำเต้าหู้เกือบจะไม่แสดงประโยชน์อย่างเต้าหู้
...
ทั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้ให้ความเห็นว่า อาจจะเป็นเนื่องจากในน้ำเต้าหู้นั้นจะมีการปรุงแต่งโดยการใส่น้ำตาลหรือมีสารประกอบชนิดอื่น ซึ่งอาจจะลดทอนผลประโยชน์ที่ได้จาก isoflavones
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสภาพฮอร์โมนเพศหญิง พบว่าการบริโภคเต้าหู้อย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อสัปดาห์ เมื่อเทียบกับไม่บริโภคเลย จะพบว่าเต้าหู้จะให้ประโยชน์กับสตรีที่ยังไม่หมดระดูและสตรีที่ไม่ใช้ฮอร์โมนทดแทนเมื่อหมดระดูหรือประจำเดือนไปแล้ว สตรีที่ใช้ฮอร์โมนทดแทน จะไม่ได้ประโยชน์จากเต้าหู้
ในอีกรายงานหนึ่ง ซึ่งพวกเราทุกคนคงจะดีใจมากขึ้นไปอีก เป็นรายงานในวารสาร Alzheimer’s and dementia : Translation of research and clinical interventions วันที่ 18 มิถุนายน 2020 พบว่าเมื่อบริโภคเต้าหู้ซึ่งเป็นอาหารประจำอยู่แล้ว ในคนญี่ปุ่นปรากฏว่าทั้งบุรุษและสตรีจะมีความผิดปกติของสมองในส่วนที่เป็นสีขาว
ที่ประกอบด้วยเส้นสายโยงใย เพื่อเชื่อมโยงการทำหน้าที่ของเซลล์ประสาทส่วนต่างๆ และทุกระบบเข้าด้วยกันการที่มีเส้นใยประสาทผิดปกติเป็นตัวการสำคัญไม่แพ้กันกับตัวเซลล์ประสาท
ทั้งนี้ กลไกที่เกิดประโยชน์นั้น เนื่องจากเต้าหู้เมื่อตกถึงกระเพาะและลำไส้จะถูกทำการย่อยสลายด้วยแบคทีเรียกลุ่มจำเพาะ และทำให้ผลิตสารชื่อ equol โดยทั้งนี้ปรากฏว่าคนที่มีปริมาณของสารนี้น้อยจะมีความผิดปกติในสมองส่วนสีขาวมากกว่าถึง 50%
ทั้งนี้ การศึกษาทำในคนญี่ปุ่นสูงวัยจำนวน 91 ราย ที่มีการทำงานของสมองปกติ ตั้งแต่เริ่มต้นและประเมินระดับของสาร equol จากนั้นทำการวิเคราะห์สมองด้วยการตรวจคอมพิวเตอร์หกถึงเก้าปีหลัง พร้อมกับดูการ สะสมตัวของโปรตีนพิษเอมีลอยด์ ที่เป็นผู้ร้ายหลักตัวหนึ่งของโรคอัลไซเมอร์
โดยพบว่าถึงแม้การสะสมตัวของโปรตีนพิษจะไม่แตกต่างกันเลยในกลุ่มที่มีสาร equol มากหรือน้อย แต่การที่มีสาร equol สูงจะได้ประโยชน์ในสมองส่วนสีขาว ทั้งนี้ โดยที่การบริโภคเต้าหู้หรือส่วนประกอบของเต้าหู้ที่มี isoflavones สูงก็ตาม จะไม่ได้ประโยชน์กับสมองถ้าไม่สามารถแปลงเป็นสาร equol ได้ ทั้งนี้ สารนี้ได้มีการรายงานมาก่อนว่าสามารถปกป้องโรคหัวใจได้เช่นกัน
ผลที่ได้จากรายงานนี้อาจจะอธิบายผลลัพธ์ที่อาจจะไม่คงที่หรือต่างกัน เมื่อประเมินคุณค่าของอาหารหรือส่วนประกอบของอาหารแต่ละชนิดว่าจะมีประโยชน์มากมายแค่ไหน ทั้งนี้ยังต้องขึ้นอยู่กับจำนวนชนิดและความหลากหลายของแบคทีเรียในลำไส้ โดยพบว่า 40-70% ของคนญี่ปุ่นจะมีแบคทีเรียในลำไส้ชนิดที่ให้คุณ ในขณะที่คนอเมริกันจะมีแบคทีเรียชนิดนี้เพียงแค่ประมาณ 20 ถึง 30%
ในส่วนของถั่วชนิดต่างๆจากวารสาร Nutrients ปี 2018 เช่น bean chick pea green pea lentils peanuts ถั่วเหลือง พบว่าถั่วเหลืองจะให้พลังงานต่อ 100 กรัม ได้ 446 กิโลแคลอรี โปรตีน 36.49 กรัม คาร์โบไฮเดรต 30.16 ไขมัน 19.94 ไฟเบอร์ 9.3 กรดไขมันไม่อิ่มตัว (PUFA) 11.255 ธาตุเหล็ก 15.7 มก. และแคลเซียม 277 มก.
นอกจากนั้นปริมาณของถั่วเหลืองและ isoflavones ที่มีการบริโภคต่อวัน ยังมีความแตกต่างกันในคนจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี ทั้งนี้ โดยที่คนญี่ปุ่นจะบริโภคถั่วเหลืองและอาหารที่มีถั่วเหลืองในปริมาณ 50.7 ถึง 102.1 กรัม โดยมี isoflavones อยู่ที่ 22.6 ถึง 54.3 มิลลิกรัม และระดับในคนจีน (23.5 ถึง 135.4 และ 6.2 ถึง 75.7 ตามลำดับ) และเกาหลี (21.07 และ 14.88 ตามลำดับ) อาจจะต่ำกว่า
...
ถั่วเหลืองที่มีการปลูกในประเทศต่างๆ ตั้งแต่อเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย บราซิล จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน จะมีระดับแตกต่างกันบ้าง ในปริมาณของ isoflavones แต่ทั้งนี้น่าจะเป็นในเรื่องของปริมาณการบริโภคของคนในแต่ละประเทศมากกว่าในการที่จะได้ isoflavones มากหรือน้อย
ในส่วนที่อาจมีความกังวลในเรื่องที่ถั่วเหลืองจะปฏิบัติตัวเหมือนกับเป็นฮอร์โมนเพศหญิง โดยที่จับกับ estrogen receptor จากการที่โครงสร้างคล้ายกับ 17beta estradiol แต่แท้จริงแล้ว ฤทธิ์ดังกล่าวจะน้อยกว่ามากเมื่อเทียบกับ estradiol อีกทั้งตัว isoflavones จะเป็น phytoestrogens ที่ไม่ได้ออกฤทธิ์ตรงไปตรงมาเหมือนกับฮอร์โมนเพศหญิงจริงๆ แต่มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระแทน ดังนั้น ข้อห้ามในการบริโภคถั่วเหลือง หรือถั่วชนิดอื่นๆที่มี isoflavones ในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งอาจจะยังไม่ชัดเจนนัก
จากข้อมูลเหล่านี้ดูเป็นที่น่าตื่นเต้น แต่แท้ที่จริงแล้ว อย่างที่ได้กล่าวตั้งแต่ต้น การกินเต้าหู้ ถั่วเหลือง เป็นสิ่งที่ประพฤติ ยึดถือปฏิบัติกันมาช้านาน
ทั้งนี้ คำว่าต้องวิจัยก่อนจึงจะพิสูจน์ว่าดีหรือไม่ดี ต้องไม่ลืมว่าที่บรรพบุรุษทำมาและยึดถือมาให้ลูกหลาน แท้จริงแล้วเป็นการวิจัยเช่นกัน และได้ผลิตผลที่มีคุณค่า ผ่านการยืนหยัดประเมินทดสอบมาเป็น 100 ปี จึงยังคงกิน คงใช้อยู่
...
ภูมิใจกันนะครับในความเป็นคนไทยและที่เราอยู่ในประเทศไทยและทวีปเอเชีย.
หมอดื้อ