ประกันสุขภาพเด็กเป็นแผนกรมธรรม์ประกันสุขภาพส่วนบุคคลที่มีการต่ออายุปีต่อปี เช่นเดียวกับการทำประกันสุขภาพของผู้ใหญ่ โดยมักพ่วงมาเป็นสัญญาแนบท้ายกับประกันชีวิต (หมายความว่าเราต้องทำประกันชีวิตก่อน จึงจะทำประกันสุขภาพได้)
ทำไมประกันสุขภาพเด็กต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันสูงกว่าประกันของผู้ใหญ่ และการทำประกันสุขภาพทำได้กับเด็กแรกเกิดหรือไม่ หากคุณมีคำถามเหล่านี้อยู่ในใจ ไทยรัฐออนไลน์มีคำตอบค่ะ
ประกันสุขภาพ คืออะไร
ข้อกำหนดการประกันภัยนั้นอยู่ในความดูแลของ คปภ. (สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย)
โดยให้นิยาม “ประกันสุขภาพ” คือประกันที่ครอบคลุมค่าใช้จ่าย 7 อย่าง ต่อไปนี้
1) ค่ารักษาพยาบาล เมื่อป่วย หรือบาดเจ็บ จนต้องนอนโรงพยาบาล ได้แก่ ค่าห้องและค่าอาหาร, ค่าบริการ, ค่าใช้จ่ายฉุกเฉินหลังเกิดอุบัติเหตุ
2) ค่าใช้จ่ายเมื่อต้องผ่าตัด
3) ค่าแพทย์เยี่ยม
4) ค่ารักษาแผนกผู้ป่วยนอก (OPD)
5) ค่าคลอดบุตร
6) ค่ารักษาฟัน
7) ชดเชยรายได้
...
การทำประกันสุขภาพเด็กนี้เป็นทางเลือกให้กับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการหลักประกันค่าใช้จ่ายเผื่อวันหนึ่งลูกต้องเข้ารับการรักษาตัวนอนโรงพยาบาลจากโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง หลักการซื้อประกันสุขภาพลูกน้อย มีดังนี้
ตรวจสอบความคุ้มครองสิทธิรักษาพยาบาลพื้นฐาน
ก่อนที่คุณจะจัดสรรค่าใช้จ่ายสำหรับประกันสุขภาพเด็ก จะต้องทราบข้อมูลสิทธิรักษาพื้นฐานก่อน เพราะการเบิกเคลมประกันกับบริษัทประกัน สามารถใช้ร่วมกับสิทธิ์รักษาพื้นฐานได้แก่ บัตรทอง (บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือที่เรียกว่า บัตร 30 บาทรักษาทุกโรค), สิทธิรักษาพยาบาลกรณีเป็นบุตรของข้าราชการ หากมีสิทธิรักษาเหล่านี้อยู่แล้ว การทำประกันเด็กเพิ่มเติมก็ช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายส่วนเกินได้
นอกจากนี้หากเด็กๆ เข้าโรงเรียนแล้ว ทางโรงเรียนจะทำประกันอุบัติเหตุให้ คุณพ่อคุณแม่ควรทราบวงเงินความคุ้มครอง เพื่อใช้พิจารณาทุนประกันที่กำลังจะซื้อ
ประกันสุขภาพเด็ก มีวิธีเลือกอย่างไร
การทำประกันสุขภาพเด็กมีวิธีตัดสินใจเลือกซื้อจากวัตถุประสงค์ของคุณพ่อคุณแม่ ได้แก่
- เพื่อลดความเสี่ยงค่าใช้จ่ายในกรณีรักษาพยาบาล
- เพื่อเป็นหลักประกันคุ้มครองรายได้ในอนาคต กรณีพบโรคประจำตัวเพิ่มเติม จะได้มีทุนไว้รักษาพยาบาล
ส่วนผลประโยชน์ด้านการเก็บออมนั้น ไม่ตรงกับการทำประกันสุขภาพ แต่จะตรงกับวัตถุประสงค์การทำประกันชีวิตมากกว่า โดยเป็นแผนประกันชีวิตที่คุ้มครองผู้ชำระเบี้ยด้วย หากเกิดเหตุไม่คาดฝันกับผู้ปกครอง ทางบริษัทประกันภัยก็จะคุ้มครองต่ออัตโนมัติ
ประกันสุขภาพเด็กแรกเกิด
ประกันสุขภาพเด็กแรกเกิดจะมีผลคุ้มครองตั้งแต่อยู่ในท้อง, แรกเกิด 15 วัน และแรกเกิด 30 วัน ขึ้นอยู่กับบริษัทประกันภัยกำหนด
ประกันสุขภาพลูกน้อย 2563 ได้แก่
- iHealthy ประกันสุขภาพคุณแม่คุ้มครองการคลอดบุตร โดยกรุงไทยแอกซ่า
เป็นแผนประกันภัยที่นอกจากจะประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายแล้ว ยังรวมถึงความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสำหรับการตั้งครรภ์และคลอดบุตร ในกรณีที่เกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างคลอดด้วย ดูแลค่าหออภิบาลเด็กแรกเกิด และยังคุ้มครองกรณีเจ็บป่วยจากโควิด-19 ด้วย - “ก้าวแรก” โดยไทยประกันชีวิต
เป็นแผนประกันชีวิตและสุขภาพคุณแม่ตั้งครรภ์จากไทยประกันชีวิต ต้องทำให้กับคุณแม่ที่กำลังตั้งท้อง และมีผลคุ้มครองลูกที่เกิดมาตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 90 วัน ด้วยเงื่อนไขว่าเมื่อคลอดบุตรแล้วบริษัทไทยประกันจะรับคุ้มครองทำประกันบุตรอายุแรกเกิด - 90 วัน โดยไม่ต้องกังวลว่าเด็กเกิดมาจะไม่ตรงกับเงื่อนไขการรับรองผู้เอาประกันภัยหรือไม่ - ทรัพย์ทวี 400 เพื่อลูกรักโดยไทยประกันชีวิต
เป็นประกันสุขภาพ ที่เพิ่มเงื่อนไขคืนเงินทุกรอบ 4 ปีกรมธรรม์ ครั้งละ 30% ของวงเงินเอาประกันภัย เมื่ออยู่ครบสัญญา ได้เงินคืน 290% - ประกันสุขภาพเด็กดี 2500 และ 3500 โดยกรุงไทยแอกซ่า
เป็นแผนประกันภัยที่รวบให้ความคุ้มครองประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และประกันอุบัติเหตุ โดยคุ้มครองกรณีผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก รวมโรคร้ายแรง 70 โรค เบี้ยประกันภัยเริ่มต้นในทารกอายุ 30 วัน เพศชายอยู่ที่ 32,798 บาท เพศหญิง 32,014 บาท และเบี้ยจะลดลงเมื่อน้องอายุ 6 ปี ขึ้นไป - ประกันสุขภาพเด็ก Super Kids จากสินมั่นคงประกันภัย
เป็นแผนประกันสุขภาพที่รับผู้เอาประกันอายุ 1-14 ปี เฉพาะการนอนโรงพยาบาลด้วยโรคเด็กยอดฮิต ได้แก่ ไข้หวัดใหญ่, ไข้เลือดออก, ตาแดง, มือเท้าปาก ให้ค่าทันตกรรม 2,000 บาทต่อปี และวงเงินคุ้มครองอุบัติเหตุ เริ่มต้น 25,000 บาทต่อครั้ง โดยมีระยะเวลารอคอย 15 วัน เบี้ยประกัน 4,300 บาทต่อปี - ประกันสุขภาพเด็กเหมาจ่าย จาก Allianz Ayudhya
รับประกันภัยแก่เด็กอายุ 1 เดือน 1 วันถึง 10 ปี และสามารถต่ออายุได้ความคุ้มครองจนถึง 84 ปี นอกจากความคุ้มครองหลักในการนอนโรงพยาบาลแบบผู้ป่วยในแล้ว ยังให้ความคุ้มครองแบบเหมาจ่ายผู้ป่วยนอก และคุ้มครองอุบัติเหตุตามสัญญาแนบท้ายด้วย
...
เนื่องจากประกันสุขภาพเด็ก มีวัตถุประสงค์หลักคือช่วยวางแผนค่าใช้จ่ายกรณีรักษาพยาบาลอย่างไม่คาดฝัน ให้คุณแบ่งเงินเก็บไว้เป็นค่ารักษาพยาบาลในยามฉุกเฉินได้ จึงต้องแยกเหตุผลในการทำประกันให้ลูกให้ชัดเจน หากต้องการเลือกเก็บออม ควรเลือกแผนประกันอื่นที่ให้ปันผล หรือจ่ายคืนเมื่อครบกำหนดสัญญา
เพื่อการใช้จ่ายอย่างถูกวิธี จึงควรพิจารณาแผนประกันภัยให้ครบถ้วนก่อนเลือกซื้อประกันสุขภาพสักฉบับนะคะ
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง