เชื่อว่า "ผู้หญิง" ส่วนใหญ่ก็เป็นเหมือนกัน! ช่วงก่อนมี "ประจำดือน" มักจะมีอาการหงุดหงิด อารมณ์แปรปรวนง่าย นอนไม่หลับ ซึมเศร้า ไม่มีสมาธิ ฯลฯ ทำให้ "ผู้หญิง" จำนวนไม่น้อยมีความทุกข์ในช่วงมีประจำเดือน แล้วทำไมถึงเป็นแบบนี้? อาการเหล่านี้คืออะไรกันแน่?

ไลฟ์สไตล์ไทยรัฐ ชวนสาวๆ มารู้จักกับอาการเหล่านี้ให้มากขึ้น พร้อมวิธีรับมือเพื่อช่วยให้อาการเหล่านี้บรรเทาเบาบางลงได้บ้าง ไม่มากก็น้อย ส่วนจะต้องทำยังไง? มาดู...

อาการ PMS คืออะไร?

PMS หรือ premenstrual syndrome เป็นกลุ่มอาการเริ่มต้นของการมีประจำเดือน เป็นอาการทางกาย พฤติกรรม และอารมณ์ ที่เกิดขึ้นก่อนการมีประจําเดือน อาจมีอาการได้ถึง 2 สัปดาห์ก่อนการมีประจําเดือน อาการจะดีขึ้นและหมดไปเมื่อประจําเดือนมา 2-3 วัน

กลุ่มอาการดังกล่าวจัดอยู่ในระดับไม่รุนแรงถึงรุนแรงปานกลาง โดยทั่วไปจะไม่ส่งผลกระทบต่อหน้าที่การงาน แต่บางรายอาจมีอาการขั้นรุนแรง ที่เรียกว่า PMDD หรือ Premenstrual Dysphoric Disorder ก็เป็นไปได้เช่นกัน

...

สาเหตุการเกิด PMS

สาเหตุสำคัญเกิดจาก การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศหญิง คือ เอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน ในช่วงระหว่างการตกไข่ในแต่ละรอบเดือน (ประมาณ 7-10 วันก่อนการมีประจำเดือน) และมีปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุ ได้แก่

- การเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมอง

- ปัญหาจากความเครียด โรคทางอารมณ์ เช่น โรคซึมเศร้า

- การขาดสารอาหารพวกวิตามินและเกลือแร่

- การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือกาเฟอีนเป็นประจำ

อาการ PMS มีอะไรบ้าง?

อาการ PMS ที่มักเกิดขึ้นกับ "ผู้หญิง" ส่วนใหญ่ ได้แก่ 

- อาการทางด้านอารมณ์ : หงุดหงิด เครียด โกรธง่าย วิตกกังวล กระวนกระวายใจ อารมณ์แปรปรวนง่าย

- อาการทางด้านร่างกาย : เหนื่อยง่าย อ่อนล้า มีการบวมของร่างกาย อยากอาหารมากกว่าปกติทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ท้องเสียหรือท้องผูก คัดตึงเต้านม เป็นสิว นอนมากเกินไปหรือน้อยเกินไป และบางรายมีอาการนอนไม่หลับ

- อาการที่พบบ่อย : ตัวบวม เจ็บเต้านม ปวดศีรษะ น้ำหนักเพิ่ม นอนไม่หลับ รับประทานมากขึ้น สมาธิสั้น หงุดหงิดง่าย วิตกกังวล ซึมเศร้า และอารมณ์แปรปรวน

การรักษา PMS ใน "ผู้หญิง"

- แนะนำหลีกเลี่ยงกาแฟ บุหรี่ สุรา

- หลีกเลี่ยงของหวาน อาหารเค็ม อาหารรสจัด

- รับประทานผัก ผลไม้ และธัญพืช

...

- ออกกำลังกายเป็นประจำ (ช่วยให้ร่างกายผลิตสารเอ็นโดรฟิน ทำให้มีความสุข ลดความเครียด)

- รับประทานวิตามินบี 6 วิตามินอี แคลเซียม และแมกนีเซียม ตามคำแนะนำของแพทย์

- นอนพักให้เพียงพอ ลดความเครียด

- รักษาโดยการใช้ยาแก้ปวด หรือยาฮอร์โมน

- การรักษาโดยใช้กลุ่มยาแก้อาการซึมเศร้า คลายกังวล ช่วยลดอาการหงุดหงิด เศร้า หรือก้าวร้าว โดยการสั่งจ่ายยาในกลุ่มนี้ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์

ติดตามเรื่องราว "สุขภาพ" ดีๆ สำหรับผู้หญิงกันต่อได้ที่ : Chaste Berry ประโยชน์ดีๆ เพื่อ "ผู้หญิง" และ Thairathwomen


ที่มา : pharmacy.mahidolhonestdocshaamor

...