รู้หรือไม่? รสชาติความอร่อยในอาหารที่หลายๆ คนคุ้นเคยอย่างรสหวานจัด เค็มจัด ของทอดของมัน เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเกิดโรคร้าย ที่เรียกว่า “NCDs” (Non-Communicable Diseases) หรือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งกลุ่มโรคเหล่านี้ คือสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของคนไทย...(5 ประโยชน์ข้าวโพดแดง "ทับทิมสยาม" ผู้หญิงกินแล้วไม่แก่!)

ไลฟ์สไตล์ไทยรัฐ มีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับการเลือกกินเพื่อสุขภาพที่ดี จากคำแนะนำของ ศ.ดร.วิสิฐ จะวะสิต ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารศึกษา คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ และอาจารย์สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เอามาฝากกัน

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับโรคในกลุ่ม NCDs กันสักหน่อย โรคร้ายในกลุ่มนี้ ได้แก่ โรคเบาหวาน กลุ่มโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โรคมะเร็ง โรคถุงลมโป่งพอง โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วนลงพุง

มักเกิดจาก การกินอาหารรสจัดมากเกินไป ไม่ว่าจะเป็นในอาหารแปรรูป ขนม หรือเครื่องดื่มต่างๆ ที่มีส่วนผสมของน้ำตาลสูง ไขมันสูง และโซเดียมสูง ซึ่งในแต่ละวันเราควรรู้จักเลือกกินอาหารที่มีรสชาติ 'หวาน มัน เค็ม' ให้น้อยลง แล้วต้องกินในปริมาณเท่าไรถึงจะพอดี? มาดูกัน...

...

1. อาหารหวานจัด น้ำตาลสูง

ในแต่ละวันเราควรรู้จักนับปริมาณน้ำตาล ที่เติมลงไปเพื่อเพิ่มรสชาติในอาหาร รวมถึงน้ำตาลที่อยู่ในอาหาร ขนม และเครื่องดื่มต่างๆ เพื่อไม่ให้เราเผลอกินน้ำตาลมากจนเกินไป หากกินมากเกินไปก็จะทำให้อ้วนง่าย โดยปกติแล้วร่างกายจะนำพลังงานจากน้ำตาล มาใช้ในกระบวนการเผาผลาญ หากกินมากเกินไปร่างกายจะเปลี่ยนน้ำตาลส่วนเกินเป็นไขมันสะสม ทำให้เสี่ยงเป็นโรคอ้วนและโรคเบาหวาน

การกินหวานที่เหมาะสมนั้น ผู้ใหญ่ควรบริโภคน้ำตาลที่เติมลงในอาหารหรือเครื่องดื่มไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน (หรือ 24 กรัม) ส่วนเด็กไม่เกิน 4 ช้อนชาต่อวัน (หรือ 16 กรัม) โดย 1 ช้อนชาเท่ากับ 4 กรัม

นอกจากน้ำตาลจะทำให้เสี่ยงเป็นโรคแล้ว ยังทำให้แก่เร็วอีกด้วย เนื่องจากปริมาณน้ำตาลที่สูงเกินไปจะเข้าไปทำลายคอลลาเจนในผิวหนังนั่นเอง สาวๆ ทราบแล้วต้องหลีกเลี่ยงด่วน!

2. อาหารมันเยิ้ม ไขมันสูง

อาหารทอดแบบ Deep Fried น้ำมันชุ่มฉ่ำมาเต็ม อาหารประเภทนี้แหละที่เป็นศัตรูตัวร้าย หากกินมากเกินไป ร่างกายก็จะรับเอา “ไขมัน” เกินความจำเป็น นอกจากน้ำมันในการประกอบอาหารแล้ว ยังรวมถึงไขมันที่อยู่ในขนมขบเคี้ยวแสนอร่อยทั้งหลาย เช่น มันฝรั่งทอดกรอบ และอาหารแปรรูปต่างๆ ที่มีไขมันแฝงตัวอยู่ เช่น ไส้กรอก ทูน่ากระป๋อง ขนมเค้ก ของหวานน้ำกะทิ เบเกอรี่ เป็นต้น

ปริมาณไขมันที่สูงเกินไปจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคอ้วนและความดันโลหิตสูง ควรบริโภคไขมันไม่เกิน 65 กรัมต่อวัน หรือใช้น้ำมันประกอบอาหารไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน

...

3. อาหารเค็มจัด โซเดียมสูง

โซเดียม คืออีกหนึ่งภัยอันตรายต่อสุขภาพ การกินเค็มมากเกินไปทำให้เสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูงและโรคไต ควรบริโภคโซเดียมไม่เกินวันละ 1 ช้อนชาต่อวัน (หรือ 2,000 มิลลิกรัม) นอกจากต้องระวังเรื่องของเกลือแล้ว ต้องไม่ลืมว่าแหล่งที่มาของโซเดียม ไม่ใช่แค่เกลืออย่างเดียว แต่ยังรวมถึงโซเดียมแฝงในอาหาร เช่น อาหารสำเร็จรูป อาหารแปรรูป ขนมขบเคี้ยว อาหารหมักดอง

และที่สำคัญ คือ เครื่องปรุงรสนานาชนิด ที่เรานิยมใช้ปรุงแต่งรสชาติอาหารให้อร่อย เช่น น้ำปลา ซีอิ๊วขาว ซอสปรุงรส ซอสหอยนางรม ซอสมะเขือเทศ ซอสพริก ฯลฯ ดังนั้น เราจึงควรชิมก่อนปรุง และปรุงรสชาติอาหารแต่พอเหมาะ

อย่างไรก็ตาม ด้วยไลฟ์สไตล์ของคนเมืองในยุคนี้ ในแต่ละวันมีชีวิตที่เร่งรีบ จึงอาจจะไม่มีเวลาใส่ใจเรื่องอาหารการกินมากนัก ที่ไหนมีอาหารรสชาติอร่อยจัดจ้าน ก็มักจะเผลอกินกันไปอย่างเพลิดเพลิน ทั้งๆ ที่มีภัย “หวาน มัน เค็ม” แฝงตัวอยู่

ศ.ดร.วิสิฐ จะวะสิต ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารศึกษา คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ
ศ.ดร.วิสิฐ จะวะสิต ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารศึกษา คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ

...

แต่สมัยนี้จะเห็นว่าในท้องตลาดเริ่มมี "อาหารทางเลือกสุขภาพ" วางบนชั้นขายของ ให้ผู้บริโภคได้เลือกกินมากขึ้น เป็นอาหารที่ลดน้ำตาล-โซเดียม ให้น้อยลง โดยสังเกตจากสัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ” (Healthier Choice)

ศ.ดร.วิสิฐ จะวะสิต เล่าถึงสัญลักษณ์ “ทางเลือกสุขภาพ” ว่า มหาวิทยาลัยมหิดล มาช่วยสนับสนุนการดำเนินงานทางวิชาการ ร่วมกับ สสส., คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ, อย. เพื่อใช้สัญลักษณ์นี้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารข้อมูลโภชนาการที่ลดความซับซ้อนลงให้กับผู้บริโภค

จากเดิมข้อมูลทางโภชนาการจะอยู่ด้านหลังผลิตภัณฑ์ มีความซับซ้อน ตัวเล็ก อ่านยาก ทำให้ผู้บริโภคอาจไม่มีเวลาอ่านฉลากเหล่านั้นได้อย่างถี่ถ้วน แต่เมื่อมี "สัญลักษณ์ทางเลือกเพื่อสุขภาพ" ที่เป็นรูปโลโก้ที่ติดอยู่ด้านหน้าของผลิตภัณฑ์ ช่วยให้ผู้บริโภคมองเห็นได้ง่าย เข้าใจง่าย ตัดสินใจเลือกซื้ออาหารที่ดีต่อสุขภาพได้ง่ายขึ้น 

สำหรับอาหารทางเลือกสุขภาพที่มีจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า ร้านค้า ร้านสะดวกซื้อทั่วประเทศนั้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เนสกาแฟอเมริกาโน่, เนสกาแฟ แบล็ค ไอซ์, ไมโล ทรีอินวัน สูตรน้ำตาลน้อย, เนสวิต้า, นมตราหมี ยูเอชทีรสจืด, รวมถึงไอศกรีมเนสท์เล่ 14 ชนิด เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีน้ำอัดลม ชาเขียวพร้อมดื่ม คุกกี้ ขนมขบเคี้ยวต่างๆ อีกมากมาย ที่มีสัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพเช่นกัน

...

ที่มา : เนสท์เล่ (ไทย)