เป็นหนึ่งในศิลปินยุคใหม่ที่รังสรรค์ “อัญมณีศิลป์” ได้อย่างโดดเด่นมีเอกลักษณ์เหนือกาลเวลา สำหรับ “ซินดี้ เชา” ผู้ก่อตั้ง “CINDY CHAO The Art Jewel” แบรนด์เครื่องประดับชั้นสูงระดับโลก ล่าสุด เพิ่งฉลองครบรอบ 20 ปีแห่งความสำเร็จ ด้วยการจัดแสดงนิทรรศการใหญ่ครั้งแรกในประเทศไทย “CINDY CHAO The Art Jewel” ภายใต้แนวคิด “สองทศวรรษแห่งศิลปะ : การเดินทางแห่งความทรงจำ” เพื่อนำเสนอผลงานที่สะท้อนความเป็นเลิศในการสร้างสรรค์เครื่องประดับชั้นสูง

“ทุกผลงานของ “CINDY CHAO” เริ่มต้นจากการแกะสลักขี้ผึ้ง ตามมาด้วยการใช้เทคนิคการทำไทเทเนียม, การคัดสรรอัญมณี และการฝังอัญมณีอย่างพิถีพิถัน ความคิดสร้างสรรค์ของฉันที่ผสมผสานกับเทคนิคการผลิตล้ำสมัย ทำให้ทุกชิ้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีความเป็นเลิศในทางสถาปัตยกรรม, ประติมากรรม และมีความสวยงามเป็นธรรม ชาติ ที่แฝงอยู่ในผลงานของฉัน คือสิ่งที่ทำให้ผลงานอัญมณีศิลป์ของฉันเป็นที่จดจำ ตลอดระยะเวลา 2 ทศวรรษในอาชีพนี้ ฉันมุ่งมั่นที่จะผสมผสานฝีมือช่างของตะวันตกเข้ากับปรัชญาและวัฒน ธรรมของตะวันออกในผลงานของฉัน ฉันจะยังคงผลักดันขอบเขตของการสร้างสรรค์เครื่อง ประดับสมัยใหม่ต่อไป เพื่อนำพางานฝีมือเข้าสู่ยุคใหม่”...“ซินดี้ เชา” บอกเล่าถึงความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์ผลงานตลอด 2 ทศวรรษที่ผ่านมา

การเติบโตมาในครอบครัวศิลปิน มีอิทธิพลต่อวิธีการออกแบบเครื่อง ประดับอย่างไร?

คุณปู่ของฉันเป็นสถาปนิกที่มีชื่อเสียง ท่านออกแบบและบูรณะอาคารสไตล์จีนแบบดั้งเดิมมากกว่า 100 หลัง ในเอเชียตะวันออก ซึ่งหลายแห่งได้รับการจัดประเภทเป็นอาคารและอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ ตอนเด็กๆท่านมักพาฉันไปดูไซต์ก่อสร้าง ทำให้ฉันมีมุมมองในด้านโครงสร้างและพื้นที่ตั้งแต่ยังเด็ก ส่วนพ่อของฉันก็เป็นประติมากร ท่านสอนฉันให้สังเกตมุม, รูปทรง, การแสดงออก และแปลงสิ่งเหล่านี้ให้เป็นผลงานที่มีชีวิต ฉันเติบโตมากับความคิดสร้างสรรค์ และใช้เวลาส่วนใหญ่กับสองปรมาจารย์นี้ คุณปู่ และพ่อมีอิทธิพลอย่างมากต่อฉัน แม้ตอนแรกฉันสนใจจะศึกษาสถาปัตยกรรม แต่แม่ของฉันแนะนำให้เลือกเส้นทางที่เธอคิดว่าเป็นผู้หญิงมากกว่า ซึ่งก็คือการทำเครื่องประดับ ถึงฉันจะไม่ได้เป็นสถาปนิกเหมือนคุณปู่ แต่ทักษะการฝึกฝนพื้นฐานจากคุณพ่อและคุณปู่ยังคงอยู่ในการสร้างสรรค์เครื่องประดับของฉัน

...

การออกแบบสถาปัตยกรรมและเครื่องประดับใช้ศาสตร์และศิลป์เหมือนกันอย่างไร

ฉันค้นพบว่า สถาปัตยกรรมและเครื่องประดับมีลักษณะคล้ายกัน คำที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรม เช่น สี, โครงสร้าง, ชั้น, พื้นที่, แสง, โค้ง และมุม ต่างก็สามารถนำมาใช้ในการออกแบบเครื่องประดับได้เช่นกัน ซึ่งทำให้ฉันหลงใหลในศิลปะสามมิตินี้มากขึ้นเรื่อยๆ

ธรรมชาติมีอิทธิพลมากต่อผลงานของคุณ ค้นหาแรงบันดาลใจจากธรรมชาติอย่างไร

ฉันจำได้ว่าเมื่อยังเด็ก พ่อมักใช้เวลาหลายชั่วโมงในการสังเกตท่าทางและการเคลื่อนไหวของผู้คน เพื่อเตรียมสำหรับการสร้างสรรค์ผลงานของเขา พ่อเคยบอกว่า “การจะสร้างสรรค์ผลงานต้องสังเกตรายละเอียดเล็กๆน้อยๆในชีวิตอยู่เสมอ” ฉันนำคำสอนนี้มาใช้ในงานของฉัน โดยพยายามถ่ายทอดเสี้ยววินาทีสั้นๆของความงดงามในธรรมชาติ เช่น ขนนกที่กำลังลอยในสายลมหรือ ใบไม้ที่เปลี่ยนรูปตามฤดูกาล

คุณผสมผสานเทคนิคดั้ง เดิมกับวัสดุและเทคโน โลยีสมัยใหม่อย่างไร

ฉันไม่คิดว่าการผสมผสานระหว่างเทคนิคดั้งเดิมและนวัตกรรมเป็นเรื่องที่ต้องสร้างสมดุล แต่เป็นการผลักดันการสร้างสรรค์อัญมณีศิลป์ให้ก้าวไปข้างหน้ามากกว่า ฉันได้ทดลองกับวัสดุใหม่ๆ เช่น ไม้เมเปิล, ไม้ดำ และเขาสัตว์ ซึ่งล้วนแต่เป็นวัสดุธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์

ผลงานชิ้นไหนที่มีความหมายพิเศษสำหรับคุณ?

ในงานนิทรรศการครั้งนี้ ฉันอยากนำเสนอ “เข็มกลัด Nobility” ซึ่งประกอบด้วยทับทิม 2,275 เม็ด และเพชรขนาด 76 กะรัต รวมกันเกือบ 200 กะรัต ฉันเริ่มสร้างสรรค์เข็มกลัดนี้ในปี 2012 โดยอยากถ่ายทอดความสวยงาม ณ ช่วงเวลาสั้นๆขณะที่ริบบิ้นเพิ่งถูกผูกเสร็จใหม่ๆก่อนจะยับไป

...

...

เผชิญความท้าทายใดบ้าง ในฐานะศิลปินหญิงในอุตสาหกรรมที่ถูกครอบงำโดยผู้ชาย และคุณเอาชนะมันอย่างไร?

เมื่อ 20 ปีก่อน ฉันเป็นผู้หญิงเอเชียที่ต้องยืนหยัดต่อหน้าช่างฝีมือชาวยุโรป ซึ่งมีทั้งประสบการณ์และความเชี่ยวชาญสูง พวกเขาสงสัยในตัวฉัน แต่ด้วยความอดทนและพยายาม ในที่สุดฉันก็ได้รับความไว้วางใจ เราทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เช่น การใช้ไทเทเนียมที่แข็งแกร่งในการสร้างผลงานที่มีความ โค้งมนและนุ่มนวล

คาดหวังว่าผลงานของคุณจะสื่อสารอะไรกับผู้ชมในประเทศไทยและทั่วเอเชีย?

สำหรับฉันแล้วเครื่องประดับเป็นรูปแบบหนึ่งของศิลปะ ฉันหวังว่าผลงานของฉันจะสามารถสร้างแรงบันดาลใจ และสื่อสารกับผู้คนได้ในฐานะศิลปะชั้นสูงที่มีความละเอียดอ่อนลึกซึ้ง

...

เครื่องประดับชั้นสูงสามารถเชื่อมโยงระหว่างประเพณีและความทันสมัยได้อย่างไร?

ฉันเริ่มต้นทุกการสร้างสรรค์ด้วยการแกะสลักขี้ผึ้ง ซึ่งเป็นเทคนิคโบราณที่มีมาช้านาน จากนั้นจึงนำวัสดุสมัยใหม่และนวัตกรรมมาใช้ เพื่อสร้างผลงานที่เป็นเอกลักษณ์

คุณมีคำแนะนำอะไรบ้างสำหรับศิลปินรุ่นใหม่ ที่ต้องการยกย่องมรดกทางวัฒนธรรมของตนเอง พร้อมไปกับการพัฒนานวัตกรรมในงานฝีมือ

นอกเหนือจากพรสวรรค์ สิ่งที่สำคัญคือความเพียรและความกล้าหาญ ต้องไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค ต้องเชื่อมั่นในตัวเอง และทุ่มเทให้กับการสร้างสรรค์งานศิลปะอย่างสุดหัวใจ.


ทีมข่าวหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

อ่าน "คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ" ทั้งหมดที่นี่