เป็นคัมภีร์แฟชั่นระดับโลกที่ทรงอิทธิพลต่อวิธีคิด วิถีชีวิต และแฟชั่นของคนยุคใหม่ โว้ก ประเทศไทย (VOGUE Thailand) มีปณิธานที่ต้องการส่งเสริมและยกระดับงานศิลปหัตถกรรมของไทย โดยเฉพาะผ้าไทยให้เป็นที่ยอมรับและนิยมทั้งในประเทศและในระดับสากล รวมทั้งสนับสนุนชุมชนต่างๆจากหลากหลาย จังหวัดในการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น และเปิดโอกาสให้ผลงานของชาวบ้านได้มีช่องทางในการเผยแพร่ไปสู่สายตาของเวทีโลก

...

โดยตลอดระยะเวลากว่าสิบปีที่ผ่านมา โว้ก ประเทศไทย สนับสนุนศิลปหัตถกรรมไทยผ่านกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ ทั้งการมีส่วนร่วมในการจัดทำ THAI TEXTILES TREND BOOK ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงของนักออกแบบ ชุมชน และผู้ประกอบอาชีพทุกสาขา รวมถึงการนำผ้าไทยมาเป็นโจทย์ในการดีไซน์ของโครงการ Vogue Who’s on Next และการร่วมกับกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม เปิด THAI TONE SHOP เชิญไทยดีไซเนอร์แบรนด์ชั้นนำสร้างสรรค์สินค้าคอลเลกชันพิเศษด้วยวัตถุดิบจากชุมชน เพื่อยกระดับวัตถุดิบท้องถิ่นให้กลายเป็นผลงานดีไซน์ร่วมสมัย

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายกิจกรรมและหลายโครงการที่ได้นำวิถีแฟชั่นเข้าไปผสมผสานกับเสน่ห์ความดั้งเดิมของหัตถกรรมไทย ภายใต้ความหวังที่อยากให้ภูมิปัญญาคราฟต์ไทยยังคงอยู่และถูกสานต่อโดยคนรุ่นใหม่ที่มองเห็นคุณค่า ซึ่งหนึ่งในกิจกรรมที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีภายใต้ปณิธานนี้คือ Vogue Gala กาลาดินเนอร์ที่จัดขึ้นมาเพื่อส่งเสริมผ้าไทยให้ไปสู่เวทีโลก ผ่านการนำงานผ้าและหัตถกรรมของช่างฝีมือจากชุมชนต่างๆในประเทศไทยมาเพิ่มมูลค่าด้วยการส่งต่อให้ดีไซเนอร์และแบรนด์ระดับโลกรังสรรค์ผลงานที่มีแค่ชิ้นเดียวในโลก ก่อนนำมาประมูลเพื่อนำรายได้กลับไปสู่ชุมชน โดยปีนี้นับเป็นปีที่ 10 แล้วที่ นิตยสารโว้ก ประเทศไทย จัดงาน Vogue Gala ณ โรงแรมคาเพลลา กรุงเทพฯ พร้อมมีการประมูลผลงานจากผ้าไทยและหัตถกรรมไทย

...

ซึ่งประกอบไปด้วย เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า รวมไปถึงเฟอร์นิเจอร์ที่ออกแบบและผลิตขึ้นสำหรับงานนี้โดย เฉพาะ จาก 12 แบรนด์ชั้นนำ ได้แก่ Christian Loubou tin, Coccinelle, Fendi casa, Fritz Hansen, Giuseppe Zanotti, Jimmy Choo, Karl Lagerfeld, Max Mara, MCM, Rene Caovilla, Roger Vivier และ Tod’s และอีกหนึ่งชิ้นพิเศษ กระเป๋าย่านลิเภาประดับเพชรที่ทรงออกแบบโดย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา โดยความพิเศษของปีนี้คือ นอกจากผ้าไหมไทยยังมีการนำผ้าฝ้ายทอมือ ผ้าบาติก และย่านลิเภา มาเป็นองค์ประกอบหลักในการสร้างสรรค์ผลงาน นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้เหล่าดีไซเนอร์และแบรนด์ต่างๆ ได้ทำงานร่วมกับชุมชนอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่การออกแบบลายผ้าเพื่อให้ชาวบ้านย้อม มัดหมี่ และทอเป็นผืนผ้าลายตามแบบฉบับของแบรนด์ ไปจนถึงการทำงานร่วมกับศิลปินย้อมครามในการทำสีเก้าอี้หนังให้เกิดเป็นชิ้นงานใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีมาก่อน

สองผู้บริหารโว้ก ประเทศไทย... สิรี อุดมฤทธิรุจ, กุลวิทย์ เลาสุขศรี
สองผู้บริหารโว้ก ประเทศไทย... สิรี อุดมฤทธิรุจ, กุลวิทย์ เลาสุขศรี

...

กุลวิทย์ เลาสุขศรี บรรณาธิการบริหาร นิตยสารโว้ก ประเทศไทย กล่าวว่า อุตสาหกรรมผ้าและสิ่งทอไทย นับเป็นรากเหง้าสำคัญของวงการแฟชั่นที่ โว้ก ประเทศไทย ให้ความสำคัญ จึงมุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนชุมชนผ้าทอและหัตถกรรมไทยให้พัฒนาเป็นผลผลิตทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าบนเวทีระดับประเทศ ในขณะเดียวกันก็ย้อนกลับสู่การอุ้มชูรากฐานความเป็นไทยในรูปแบบที่มากกว่าคำว่าอนุรักษ์ ภายใต้ปณิธานอันแน่วแน่ที่ต้องการจะยกระดับผ้าไทยจากชุมชนสู่เวทีโลก.

...

อ่าน "คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ" ทั้งหมดที่นี่