ราชกิจจานุเบกษา (Royal Thai Government Gazette) เกิดขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2401 โดยเป็นเอกสารระบุข้อบังคับกฎหมายที่ใช้กับพลเมืองในประเทศ ปัจจุบันนอกจากเก็บเป็นเล่มกระดาษแล้วยังเก็บเป็นไฟล์ดิจิทัลให้ค้นหาได้บนเว็บไซต์อีกด้วย

ราชกิจจานุเบกษา คืออะไร

ราชกิจจานุเบกษา คือ หนังสือของทางราชการที่ออกเป็นรายสัปดาห์โดยสำนักงานราชกิจจานุเบกษา สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำหรับลงประกาศเกี่ยวกับกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนประกาศของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ รวมทั้งประกาศเกี่ยวกับการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท

ราชกิจจานุเบกษาเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประชาชนทุกคน ในส่วนผู้ที่ต้องสืบค้นหาราชกิจจานุเบกษาบ่อยๆ มักเกี่ยวข้องกับการเวนคืนที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างต่างๆ เพื่อยืนยันว่าจะมีการก่อสร้างในพื้นที่นั้นๆ รวมถึงการประกอบธุรกิจต่างๆ ที่จะไม่ขัดกับข้อกฎหมาย

ค้นหา ราชกิจจานุเบกษา อย่างง่าย

วิธีค้นหาราชกิจจานุเบกษา สืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ที่ http://www.ratchakitcha.soc.go.th

วิธีการสืบค้นหาราชกิจจานุเบกษา

1. เข้าไปที่เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา

...

2. คลิกคำว่า “ประกาศราชกิจจานุเบกษา”

3. กด “ค้นหาราชกิจจานุเบกษา”
4. ค้นหาจากชื่อเรื่อง หรือข้อมูลที่ทราบ เช่น ชื่อเรื่อง, ประเภท, เล่ม ตอน, กำหนดช่วงเวลาการค้นหาจากปี พ.ศ.

การแสดงผลราชกิจจานุเบกษาจะเป็นรูปแบบไฟล์ PDF ผู้คนหาสามารถบันทึกเพื่อนำไปใช้ในการสืบค้นได้ เมื่อได้ข้อมูลที่ต้องการแล้วก็บันทึกลงในเครื่องอุปกรณ์ของคุณ หรือสั่งพิมพ์ราชกิจจานุเบกษาที่ต้องการได้

ประโยชน์ของราชกิจจานุเบกษา

ประโยชน์ของการค้นหาราชกิจจานุเบกษา ช่วยให้ประชาชนเข้าถึงการใช้กฎหมายที่ไม่ขัดต่อจารีต ขนบธรรมเนียม ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับทางนิติศาสตร์

ราชกิจจานุเบกษา ใครลงนาม

การประกาศใช้ราชกิจจานุเบกษา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 มีข้อกำหนดว่า สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ร่างพระราชบัญญัติ นายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อถวายให้พระมหากษัตริย์เป็นผู้ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้เป็นกฎหมาย

สรุปแล้ว ราชกิจจานุเบกษา คือ หนังสือของทางราชการที่เป็นตัวกลางสื่อสารระหว่างรัฐกับประชาชน เพื่อให้ประชาชนทราบข้อบังคับใช้กฎหมายเรื่องสำคัญต่างๆ และเป็นหลักฐานทางนิติศาสตร์ที่ให้ศึกษาข้อมูลเรื่องสำคัญต่างๆ ของชาติที่บันทึกไว้อีกด้วย