ตามที่ได้บอกไปแล้วว่า สนามพระวิภาวดี จะปรับ โฉมใหม่ ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ ๒๒ ก.ย. โดยจะมี ครึ่งหน้า ก็มีท่านผู้ชมโวยมาว่าลดทำไม อาทิตย์นึงมีแค่วันเดียว แต่วันนี้พอทุกท่านได้เห็น ก็เลิกบ่นเพราะ ถึงจะครึ่งหน้า เราก็ยังมีพระ เครื่องมาเต็มสนาม ต่างที่ ข้าพเจ้าอดเม้าท์เวิ่นเว้อแบบเดิม--แต่แอบชอบอ่ะ เพราะงานน้อยลง แต่เงินเดือนเท่าเดิม

เราเริ่มกันด้วย พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์อกครุฑใหญ่ กรุเก่า วัดใหม่อมตรส กรุงเทพฯ ที่มีพบเฉพาะ “กรุบางขุนพรหม” แยกเป็น ๓ พิมพ์ย่อย พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก อย่างองค์นี้ของ เสี่ยโจ๊ก ลำพูน เป็น พิมพ์ใหญ่ ซึ่งส่วนมากเป็น “กรุเก่า” ที่มีเนื้อมวลสารเข้มข้น เนื้อจัด มีคราบฝ้ารากรุจับแน่นเข้าเนื้อเบาๆ บอกอายุถึงยุค ปัจจุบันหายากมาก โดยเฉพาะองค์งามๆ “คลาสสิก” เดิมๆ อย่างนี้ ที่ว่ากันหลายๆล้าน

พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์อกครุฑใหญ่ วัดใหม่ อมตรส ของ โจ๊ก ลำพูน.
พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์อกครุฑใหญ่ วัดใหม่ อมตรส ของ โจ๊ก ลำพูน.

...

พระสมเด็จเกศไชโย พิมพ์ ๖ ชั้น อกตัน วัดไชโยวรวิหาร ของพรรค คูวิบูลย์ศิลป์.
พระสมเด็จเกศไชโย พิมพ์ ๖ ชั้น อกตัน วัดไชโยวรวิหาร ของพรรค คูวิบูลย์ศิลป์.

องค์ต่อไปคือ พระสมเด็จเกศไชโย พิมพ์ ๖ ชั้น อกตัน วัดไชโยวรวิหาร อ่างทอง พระแท้ดูง่าย ของ เสี่ยพรรค คูวิบูลย์ศิลป์ เป็นพระสภาพสวย เสียดายที่ผิวพระมีเนื้อหลุดหาย ที่น่าจะเกิดจากการล้างทำความสะอาดคราบหนักมือไป ทำให้เสียแต้มพระแชมป์ไปนิด แต่เข้าทางคนที่ชอบพระหลัก ราคาเบา

องค์ที่สามคือ พระนาคปรก พิมพ์ใหญ่ กรุวัดปืน ลพบุรี พระกรุ-พระเก่า ซึ่งเป็น พระพิมพ์ปางนาคปรก ที่ได้รับความนิยมสูงสุด ด้วยพุทธศิลป์สมัยลพบุรี กับอานุภาพแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี พบจากกรุพระในวัดปืน ที่อยู่ใกล้ป้อมปืนกรมทหาร ลพบุรี ที่ปัจจุบันเป็นวัดร้าง พื้นที่กลายเป็นตลาด ไม่เหลือหลักฐาน

พระที่พบเป็น พิมพ์ปางนาคปรก เนื้อโลหะชินเงิน หล่อแบบครึ่งซีก มีพิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็ก พิมพ์จิ๋ว พิมพ์ซุ้มเรือนแก้ว--องค์นี้ของ เสี่ยเอก มรดกไทย เป็นพระพิมพ์ใหญ่นิยมสุด เดิมๆที่หายากมาก จนน่าจะกลายเป็นพระในฝัน ส่วนราคาเดิมๆ สนิมเดิมๆ งามจับตาแบบนี้ หลักล้านมานานแล้ว

พระพิมพ์สมเด็จหลังค้อน สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดระฆังฯ ของศุภชัย สายัณห์.
พระพิมพ์สมเด็จหลังค้อน สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดระฆังฯ ของศุภชัย สายัณห์.

ต่อไปเป็น พระสมเด็จวัดระฆังฯ หลังค้อน สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว.เจริญ) วัดระฆังฯ กรุงเทพฯ ท่านสร้างพระพิมพ์ทรงพระสมเด็จ เป็นเนื้อโลหะผสม สมนาคุณผู้บูรณะพระอุโบสถ ขณะเป็น พระพิมลธรรม พระขนาดเล็ก กว้าง ๑.๒ ซม. ด้านหน้าเป็นองค์พระนั่งปางสมาธิปรกโพธิ์เหนือฐานบัว ในซุ้มครอบแก้ว ด้านหลังเรียบ สร้าง ๒ วาระ ครั้งแรก พ.ศ.๒๔๖๒ พิธียิ่งใหญ่ โดยส่งแผ่นโลหะให้พระคณาอาจารย์ทั่วประเทศลงจารอักขระเลขยันต์ ปลุกเสก และนำมาหลอมกับเนื้อโลหะ ที่เหลือจากการตกแต่งหลวงพ่อพระพุทธชินราช (จำลอง) ที่ ร.๕ ทรงสร้างประดิษฐาน ณ วัดเบญจม บพิตร ยังมีเนื้อชนวนจากทองเหลืองเก่าจากฝาบาตรและถาดทอง เหลือง ที่สมัยนั้นมีมาก นิยมเรียกเป็น ทองใบหรือทองลำย่อย เมื่อเทเป็นองค์พระจะมีเนื้อเข้มจัดคล้าย “ทองดอกบวบ” และยังมีบางส่วนที่เทหล่อเป็น เนื้อโลหะสำริด และ เมฆสิทธิ์ ประกอบพิธีเททอง ณ วัดระฆังฯ โดยมีพระคณาจารย์-เกจิฯร่วมพิธีปลุกเสก ๖๐ รูป อาทิ หลวงพ่อพริ้ง หลวงพ่อไปล่ สมเด็จกรม หลวงชินวรสิริวัฒน์ หลวงพ่อคง หลวงพ่อฉุย หลวงพ่อเดิม หลวงปู่ศุข ฯลฯ

...

วาระ ๒ ใช้แม่พิมพ์เดิมสร้าง ซึ่งพิมพ์พระจะดูตื้นกว่า เนื้อจะซีด จืดกว่าพระที่สร้างครั้งแรก ซึ่งส่วนหนึ่งมีรอยตกแต่งทุบด้วยค้อนที่ด้านหลัง เป็นที่มาของชื่อ “พระหลังค้อน” ซึ่งปัจจุบันเป็น ๑ ในสกุลพระสมเด็จ วัดระฆังฯ ราคาหลักหมื่นถึงหลักแสน องค์นี้ของ เสี่ยศุภชัย สายัณห์ เป็นพระรุ่นแรก ที่มีพิมพ์ลึก เนื้อโลหะเข้มข้น ผิวตึง ด้านหลังส่องเห็นมีรอยค้อนทุบบางๆ ด้วย

รูปเหมือน หล่อลอยองค์ (เบตง) พ.ศ.๒๕๐๕ หมายเลข ๗๙๖ หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ ของนิวส์ วัดสะแก
รูปเหมือน หล่อลอยองค์ (เบตง) พ.ศ.๒๕๐๕ หมายเลข ๗๙๖ หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ ของนิวส์ วัดสะแก

องค์ที่ ๕ เป็น พระหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ ปัตตานี พ.ศ.๒๕๐๕ เลขใต้ฐาน ๗๙๖ พระรูปเหมือนหล่อลอยองค์จำลอง ที่ได้รับความนิยมสูงสุด จัดสร้างโดย ท่านสวัสดิ์ โชติพานิช ตอนเป็นผู้พิพากษา อ.เบตง โดยได้รับอนุญาตจาก พระอาจารย์ทิม เจ้าอาวาส

...

โดยเอารูปเหมือนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ที่ หลวงปู่นาค สร้างไว้ เป็นต้นแบบ ใต้ฐานตอกเลขกำกับ อย่างองค์นี้ของ เสี่ยนิวส์ วัดสะแก ที่สวยแชมป์เดิมๆ ราคาอยู่ที่หลักแสนปลาย

พระพิมพ์สมเด็จแหวกม่าน มารวิชัย อกใหญ่ พ.ศ. ๒๕๐๐ หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม ของเอ๋ เดิมบาง.
พระพิมพ์สมเด็จแหวกม่าน มารวิชัย อกใหญ่ พ.ศ. ๒๕๐๐ หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม ของเอ๋ เดิมบาง.

องค์ที่ ๖ เป็น พระพิมพ์สมเด็จแหวกม่าน ปางมารวิชัย (อกใหญ่) พ.ศ.๒๕๐๐ หลังจารลายมือ ยันต์ครู หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม ชัยนาท พระเกจิฯยุคหลังปีกึ่งพุทธกาล ผู้มีวิชาพุทธาคมเข้มขลัง เทียบได้กับพระเกจิฯยุคก่อน พระสมเด็จแหวกม่าน นี้ สร้างออกเป็นยุคแรกๆ เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๐ ในวาระที่เป็นปีกึ่งพุทธกาล ปัจจุบันเป็นพระพิมพ์เนื้อผงพุทธคุณเบอร์ต้น ที่ เสี่ยเอ๋ เดิมบาง บอกว่าราคามากล้านแล้ว

...

พระพุทธรูปบูชา พุทธศิลป์สมัยเชียงแสน สิงห์ ๓ ทรงเครื่อง หน้าตัก ๖ นิ้ว ของปรีดา คูวิบูลย์ศิลป์.
พระพุทธรูปบูชา พุทธศิลป์สมัยเชียงแสน สิงห์ ๓ ทรงเครื่อง หน้าตัก ๖ นิ้ว ของปรีดา คูวิบูลย์ศิลป์.

ถัดไปเป็น พระพุทธรูปบูชา เชียงแสน สิงห์ ๓ ทรงเครื่อง หน้าตัก ๖ นิ้ว ของ เสี่ยปรีดา คูวิบูลย์ศิลป์ เป็นพระถึงยุค ถึงศิลป์ที่แสดงให้เห็นว่าปาฏิหาริย์มีจริง เพราะพระที่อายุการสร้างกว่า ๗๐๐ ปี แต่ยังงามสมบูรณ์ไม่มีที่ติ จึงถือเป็นทรัพย์แผ่นดิน เป็นบุญวาสนาของผู้ครอบครอง

รูปหล่อแม่นางกวัก เนื้อโลหะผสม หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา ของเต๋อ สุพรรณ.
รูปหล่อแม่นางกวัก เนื้อโลหะผสม หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา ของเต๋อ สุพรรณ.

สุดท้ายเป็น รูปหล่อแม่นางกวัก เนื้อโลหะผสม หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา อ.เดิมบางนางบวช สุพรรณ บุรี พระเกจิฯชื่อเสียงเกรียงไกร ร่วมยุคกับหลวงปู่ศุข หลวงพ่อเดิม ท่านสร้างพระเครื่องของขลังเป็นเนื้อโลหะ (ทอง เหลือง) ไว้หลายรูปแบบ อย่าง รูปเหมือนแม่นางกวัก ของ เสี่ยเต๋อ สุพรรณ เป็นวัตถุมงคลยอดนิยม เพราะอานุภาพดี ด้านโชคลาภ ซื้อง่ายขายคล่องร่ำรวยรวดเร็ว ปัจจุบันหลักหมื่นปลายๆแล้ว ถึงสัมปทานจะลดลง แต่เรื่องปิดท้ายสไตล์สนามพระฯต้องมี วันนี้ กล่าวถึง เสี่ยสมัคร เศรษฐีที่ดินสุพรรณ ซึ่งลูกชาย สุธี กำลังจะจบมัธยม และตั้งใจจะสอบตรงเข้ามหาวิทยาลัย พ่อก็ให้ไปเรียนกวดวิชา ซึ่งลูกก็ตั้งใจเรียน อ่านหนังสือดึกดื่น พ่อเตือนให้พักผ่อน ลูกก็บอกยังไม่อยากพัก กลัวสอบไม่ได้ เสี่ยสมัคร ก็เลยบอกว่า พ่อมีตัวช่วย ว่าแล้วก็พาลูกไปบนกับพระประธานในวัดที่ตัวเองเคยบวช บอกว่าศักดิ์สิทธิ์มาก ใครอยากได้อะไรไปบนขอสำเร็จกันเยอะ พอถึงวัดกราบองค์พระแล้ว ก็พนมมืออธิษฐาน แล้วก้มลงกราบ แล้วพ่อก็พูดว่า พ่อบนถวายพวงมาลัยเจ็ดสีเจ็ดศอก หัวหมูบายศรีชุดใหญ่ ถ้าลูกสอบได้ แล้วลูกล่ะบนอะไรจะ ได้ช่วยจำ ลูกชาย ซึ่งรู้อยู่แล้วว่าพ่อต้องบนให้สอบได้ เลยไม่บนซ้ำ จึงบนให้พระดลใจพ่อให้ซื้อรถป้ายแดงให้ จะได้ขับไปเรียนมหา’ลัย เจ้าค่ะ อามิตตพุทธ.


สีกาอ่าง

คลิกอ่านคอลัมน์ "สนามพระ" เพิ่มเติม