สวัสดีท่านผู้ชม วันนี้สนามพระแน่นหน่อย จึงขอเริ่มเลย องค์แรกคือ พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์เส้นด้าย วัดใหม่อมตรส กรุงเทพฯ สเปกครบตามความนิยม พระแท้ ดูง่าย สภาพสมบูรณ์ สวยเดิมๆ และลอกคราบกรุ เปิดเห็นเส้นศิลป์ พิมพ์พระ คมชัดเต็มจอ....สภาพแบบนี้เป็นพระหายาก ราคาแพงมากด้วย เพราะมีคนเสาะหามากที่สุดพิมพ์หนึ่ง เพราะชื่อพิมพ์ที่มีความหมายดี ว่าจะทำอะไรก็เจริญรุ่งเรือง มีแต่ได้ เจ้าของพระคือ เสี่ยโต้ง บางแค

พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์เส้นด้าย วัดใหม่อมตรส ของโต้ง บางแค.
พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์เส้นด้าย วัดใหม่อมตรส ของโต้ง บางแค.
  • อีกองค์ ก็กรุเดียวกันเป็น พระผงสุพรรณ หน้าหนุ่ม ที่เวลานี้คนหากันมาก จนเป็นพระซื้อง่ายขายคล่อง มีออกมาถูกซื้อเรียบ แบบองค์นี้ ของ เสี่ยแมน เฉลิมบุรี ซึ่งได้พระแท้ ดูง่าย สภาพสมบูรณ์ สวยพอประมาณ

...

พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าหนุ่ม วัดพระศรีรัตน มหาธาตุ ของแมน เฉลิมบุรี.
พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าหนุ่ม วัดพระศรีรัตน มหาธาตุ ของแมน เฉลิมบุรี.
  • องค์ที่สอง เป็น พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้ากลาง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อ.เมืองสุพรรณบุรี พระพิมพ์ เนื้อดิน ผสมว่านเกสรดอกไม้ ๑ เดียวในกรุ พบพร้อมพระพิมพ์พระพุทธรูป เครื่องทองสมบัติล้ำค่า ในองค์พระปรางค์เจดีย์ วัดพระศรี รัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี เมื่อราวปี พ.ศ.๒๔๕๖ ครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองสุพรรณบุรี ลักษณะเป็นพระพิมพ์รูปทรงสามเหลี่ยมยอดตัด ด้านหน้าเป็นพิมพ์พระพุทธศิลป์สมัยอู่ทอง นั่งปางสะดุ้งมาร ด้านหลังมีรอยกดพิมพ์นิ้วมือ ด้านข้างมีรอยตัดเป็นเส้นริ้ว ที่เรียก “รอยตัดตอก” แยกได้ ๓ พิมพ์ คือ หน้าแก่ หน้ากลาง หน้าหนุ่ม สีเนื้อมีเหลือง เขียว ดำ แดง พระได้รับความ นิยมสูง เพราะพุทธศิลป์แห่งยุค และอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ครอบจักรวาล จนได้รับคัดเลือกจาก ตรียัมปวาย เป็นพระของแผ่นดินชุดเบญจภาคี องค์นี้ของ เสี่ยมีชัย เถาเจริญ ฟอร์มทรงองค์พระตรงสเปก เนื้อพระแน่นแกร่ง แก่มวลสาร เกิดแสงเงา ที่บ่งบอกอายุอย่างเป็นธรรมชาติ แบบที่เรียกว่า “เนื้อจัด” ผิวเนื้อคลุมด้วยคราบฝ้าราดำ ตามสภาพพระกรุ พุทธศิลป์สมัยอู่ทอง ตอนนี้เป็นพิมพ์ที่มีการซื้อขายคล่องตัว เพราะพระพิมพ์นิยมเบอร์ต้น หายาก แพงลิบ คนจึงหันมาให้ความสนใจพระพิมพ์รอง ที่ราคาพอจ่ายไหว และยังได้พระสวยกว่าพิมพ์ใหญ่หลายองค์ด้วย
พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้ากลาง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ของมีชัย เถาเจริญ.
พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้ากลาง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ของมีชัย เถาเจริญ.
  • ถัดไป คือ พระนางพญา พิมพ์สังฆาฏิ วัดนางพญา อ.เมืองพิษณุโลก ซึ่งได้รับการจัดอันดับตามขนาด เป็นพิมพ์หัวแถว ในกลุ่มพระพิมพ์เล็ก ของพระสกุลนางพญา องค์นี้ของ เสี่ยโจ๊ก ลำพูนเป็นพระสภาพสมบูรณ์ เด่นสุด ที่สีเนื้อแดงเข้ม ซึ่งมีคราบฝ้าราดำขึ้น จับแน่นเข้าเนื้อ ทำให้องค์พระดูงดงามเข้มขลัง มีพลัง คลาสสิกด้วยความเก่า
พระนางพญา พิมพ์สังฆาฏิ วัดนางพญา ของโจ๊ก ลำพูน.
พระนางพญา พิมพ์สังฆาฏิ วัดนางพญา ของโจ๊ก ลำพูน.

...

  • ตามมาด้วย เหรียญ ๒๕ พุทธศตวรรษ พ.ศ.๒๕๐๐ เนื้อเงิน พุทธสมาคม ซึ่งจัดสร้างเป็นเหรียญที่ระลึก ในการ ก่อสร้างพุทธมณฑล ในโอกาสที่พระพุทธศาสนา มีอายุมาถึงปีกึ่งพุทธกาล พ.ศ.๒๕๐๐ โดย จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี มอบหน้าที่ให้พุทธสมาคมแห่งประเทศไทยจัดสร้าง มี พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ เป็นประธาน กำหนดนาม ว่า “พระเครื่อง ๒๕ พระพุทธศตวรรษ” ออกให้ประชาชนร่วมทำบุญบูชา นำรายได้สมทบสร้างพุทธมณฑลสถาน พระเครื่อง ๒๕ พระพุทธศตวรรษ มีหลายแบบ อาทิ พระพุทธรูปบูชา จำลององค์พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑล และพระเครื่องปางลีลาแบบพระประธาน มีเนื้อทองคำ ๒,๕๐๐ องค์ เนื้อชิน ๒,๕๐๐,๐๐๐ องค์ เนื้อดิน ๒,๕๐๐,๐๐๐ องค์ กับเนื้อเงิน เนื้อนาก สร้างมอบพระเกจิฯผู้เข้าร่วมพิธีกับกรรมการอีกจำนวนหนึ่งและกองกษาปณ์ได้จัดสร้างเหรียญใบเสมา ๒๕ พุทธศตวรรษ ขึ้นจำนวนหนึ่ง โดย ร.๙ เสด็จฯไปทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ พุทธมณฑลสถาน เมื่อ ๒๘ ก.ค.๒๔๙๘ และเสด็จฯเททองหล่อ “พระพุทธปฏิมา ประธานพุทธมณฑลจำลอง และทรงกดพิมพ์พระเครื่อง ๒๕ พุทธศตวรรษ เนื้อดิน ๓๐ องค์ ณ มณฑลพิธีวัดสุทัศน์ เมื่อ ๑๑ ก.พ.๒๕๐๐ พิธีพุทธาภิเษกมี ๒ วาระ คือ นำมวลสารศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมดเข้าพิธี เมื่อวันที่ ๘ ก.พ.๒๕๐๐ ณ พระอุโบสถ วัดสุทัศน์ โดยพระคณาจารย์ ๑๐๘ รูป อีกวาระ จัดวันที่ ๒ พ.ค.๒๕๐๐ นำพระเครื่องทั้งหมดเข้าพิธีพุทธาภิเษก ในพระอุโบสถวัดสุทัศน์มีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์วัดบวรนิเวศฯ เป็นประธานสงฆ์ จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นประธานฆราวาส พร้อมด้วยสมเด็จพระราชาคณะ ๒๕ รูป เจริญพระพุทธมนต์ พระเกจิ ๑๐๘ รูป ปลุกเสก ๒ วาระ ๖ วัน ๖ คืน องค์นี้ของ เสี่ยเพชร–อิทธิ ชวลิตธำรง เป็นเหรียญเงิน สร้างมอบพระเกจิฯผู้เข้าร่วมพิธีกับกรรมการ เป็นเหรียญบล็อกเดียวกับเนื้อทองคำ (มีเข็ม)--ปัจจุบันเหรียญสภาพงาม คมชัด เดิมๆแบบนี้ หลักแสนมานานแล้ว

...

เหรียญ ๒๕ พุทธศต วรรษ เนื้อเงิน พ.ศ.๒๕๐๐ พุทธสมาคมจัดสร้าง ของ อิทธิ ชวลิตธำรง.
เหรียญ ๒๕ พุทธศต วรรษ เนื้อเงิน พ.ศ.๒๕๐๐ พุทธสมาคมจัดสร้าง ของ อิทธิ ชวลิตธำรง.
  • อีกรายการเป็น เหรียญหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ ปัตตานี รุ่นเลื่อนสมณศักดิ์ บล็อกนิยม พ.ศ.๒๕๐๘ จัดสร้างโดย ท่านพระครูวิสัยโสภณ (ทิม ) เป็นเหรียญที่ระลึกที่ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท พัดขาว ฝ่ายวิปัสสนา เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๘ เป็นเหรียญปั๊มทรงเสมา ด้านหน้าเป็นรูปจำลององค์หลวงปู่ทวด นั่งสมาธิเต็มองค์ ด้านหลังเหรียญเป็นรูปจำลองหลวงปู่ทิมหน้าตรง มีอักษรบอกนาม พระครูวิสัยโสภณ (ทิม) งานเลื่อนสมณศักดิ์ ๐๘ จัดสร้างเหรียญทองคำ ไม่เกิน ๒๐ เหรียญ เนื้อเงินหลักร้อย เนื้ออัลปาก้า ๓,๐๐๐ เหรียญ เนื้ออัลปาก้าชุบนิกเกิล ๑๐,๐๐๐ เหรียญ เนื้ออัลปาก้าชุบนิกเกิลบล็อกไม่มีเส้นปาก ๑๐,๐๐๐ เหรียญ เนื้อทองแดง ๒,๐๐๐ เหรียญ --รวมๆแล้วไม่เกิน ๒๕,๐๐๐ เหรียญ บล็อกแม่พิมพ์แยกเป็น ๒ แบบ บล็อกมีเส้นปาก กับบล็อกไม่มีเส้น และตัวตัดข้างแยกเป็น ๒ แบบ คือ หยาบกับละเอียด เหรียญนี้ของ ผศ.ดร.สุภาภรณ์ เกียรติสิน เป็นบล็อกพิมพ์นิยม ปัจจุบันได้รับความนิยมสูงสุด ในสกุลเหรียญหลวงปู่ทวด ราคาแซงสูงกว่าเหรียญรุ่นแรก เพราะเชื่อกันว่าเป็นเหรียญที่มีอานุภาพศักดิ์สิทธิ์ ส่งเสริมผู้ใช้บูชา โดยเฉพาะข้าราชการ จะได้เลื่อนยศ ตำแหน่งเร็ว--คนหนึ่งคือ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ที่มีเหรียญรุ่นนี้ใช้บูชาเป็น ๑ ใน ๓ พระประจำตัว

...

เหรียญรุ่นเลื่อนสมณศักดิ์ บล็อกนิยม พ.ศ.๒๕๐๘ หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ ของ ผศ.ดร.สุภาภรณ์ เกียรติสิน.
เหรียญรุ่นเลื่อนสมณศักดิ์ บล็อกนิยม พ.ศ.๒๕๐๘ หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ ของ ผศ.ดร.สุภาภรณ์ เกียรติสิน.
  • เหรียญอีกรายการเป็น เหรียญหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ระยอง ของ อัยการวัชรินทร์ ภาณุรัตน์ อัยการนักสะสมพระ ซึ่งพักหลัง ท่านกุ๊ก–วัชรินทร์ หายไปพร้อมโควิด เพิ่งกลับมารื้อกรุ จัดพระสวยๆมาให้แฟนๆดู -- โดยบอกว่าก่อนส่งพระมาได้นำไปเช็กมาแล้ว 100 ตา
เหรียญหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ระยอง ของอัยการวัช รินทร์ ภาณุรัตน์.
เหรียญหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ระยอง ของอัยการวัช รินทร์ ภาณุรัตน์.
  • ดูเครื่องรางของขลัง คือ พญาเต่าเรือน เนื้อโลหะผสม หล่อโบราณ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน อ.โพทะเล จ.พิจิตร เชื่อกันว่าท่านสร้างพร้อมรูปเหมือนพิมพ์ขี้ตา และเหรียญจอบเล็ก เพื่อทดลองหลอมโลหะและเทพิมพ์ เพื่อเตรียมสร้างเหรียญหล่อจอบเล็กและรูปหล่อพิมพ์ขี้ตา และที่เทเป็นรูปเต่า เพราะเต่าเป็นสัตว์ในพุทธชาดก ท่านจึงสร้างให้มีเมตตามหานิยมโชคลาภเพื่อแจกศิษย์ใกล้ชิดทุกวันนี้ถือเป็นเครื่องรางชิ้นเอก ราคา พญาเต่าเรือน เนื้อโลหะเทหล่อโบราณ รูปแบบโดดเด่น สภาพเดิมๆแบบนี้เสี่ยเต่า พระเครื่อง บอกว่าหลายแสน เล่ากันนิดว่า ตอนพระพุทธเจ้ายังเป็นพระโพธิสัตว์ เสวยพระชาติเป็นเต่ายักษ์ ชื่อสุวรรณกัจฉปะ เพราะมีวรรณเหมือนทองจนมีเรือพ่อค้าถูกคลื่นใหญ่อับปาง พ่อค้าหลายร้อยคน ก็ลอยคอร้องไห้ กราบไหว้บนบานเทวดาให้ช่วย พญาเต่าทองโพธิสัตว์ ที่แหวกว่ายอยู่ในมหาสมุทรจึงให้พ่อค้าขึ้นบนหลัง พาข้ามมหาสมุทร ๗ วัน ๗ คืน ไปส่งที่เกาะ แต่พ่อค้าซึ่งไม่ได้กินอะไรเลยต่างหมดแรงจะตาย เต่าทองโพธิสัตว์จึงเสนอให้กินเนื้อ แต่พวกพ่อค้ายกมือไหว้ ไม่ยอมฆ่าเต่า เต่าโพธิสัตว์จึงคลานขึ้นไปยอดภูเขา แล้วตั้งจิตอธิษฐานว่า หากได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต ขอให้กระดูกอกจงแตกทำลาย เลือดและเนื้อจงเป็นก้อนน้อยก้อนใหญ่เป็นส่วนๆกัน แต่กระดองอย่าเพิ่งแตกทำลาย จงเป็นนาวา (เรือ) พาพ่อค้าให้พ้นจากความตาย แล้วพญาเต่าก็ปล่อยตัวตกจากยอดเขาลงมากระทบเชิงเขาจนตาย ให้เนื้อเป็นอาหารพ่อค้า ซึ่งรับรู้ความตั้งใจของพญาเต่าอย่างโศกเศร้า แล้วก็ได้เนื้อเต่าเป็นเสบียงระหว่างเดินทางกลับเมืองพาราณสี โดยใช้กระดองเต่าเป็นเรือ รอนแรมไปหนึ่งเดือนจนถึงบ้าน
พญาเต่าเรือน เนื้อโลหะผสมหล่อโบราณ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ของเต่า พระเครื่อง.
พญาเต่าเรือน เนื้อโลหะผสมหล่อโบราณ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ของเต่า พระเครื่อง.
  • ถัดไปเป็นมุมใหม่เอี่ยมที่เพิ่งได้ไอเดีย ว่าตลอด ๒๕ ปีมานี้ สนามพระวิภาวดีพบเจอวัตถุมงคลเป็นหมื่นๆองค์ ซึ่งแน่นอนมีแท้น้อยกว่าเทียม แต่ทีมงานก็เน้นให้ท่านผู้ชมได้ศึกษาเรียนรู้ดูพระกันมาอย่างตั้งใจ ซึ่งหลายท่านเก่ง ดูพระเป็น แต่ก็ยังพบว่ายังมีความนิยม (ขอใช้คำง่ายๆว่า เล่นพระ ละกัน) ที่อยู่นอกตำรามาตรฐานกันมากส์ ดูจากคนมากมายที่ไปส่องพระตามแผงพระ ส่วนใหญ่เป็นแผงริมถนน หรือตลาดนัด ซึ่งจะบอกว่า คนกลุ่มนี้เล่นพระผิดทางหรือไม่ เราคงไปว่าใครไม่ได้ เพราะการเล่นพระมีหลายจุดประสงค์ บางคน เชื่อมั่นพระตัวเอง บางคนมีพระที่มีคุณค่ากับตัวเอง หรือพบอานุภาพ หรือเล่นสนุก หรือได้ลองตาตัวเอง ฯลฯ แม้จะไม่มีค่านิยมในตลาดพระ ก็ไม่สนใจ เพราะไม่ได้คิดจะขาย--ซึ่งนักเล่นพระกลุ่มนี้มีมากมาย และมากกว่านักเล่นพระมาตรฐานด้วยซ้ำ สนามพระวิภาวดีจึงลองเปิดมุมเล็กๆ “พระใหม่วันนี้ เก่าวันหน้า” เพื่อให้เห็นว่ายังมีพระจัดสร้างดี สร้างสวย แต่อาจไม่ได้รับความนิยมอีกมากมาย ซึ่งเวลาเห็นพระแบบนี้ เซียนพระจะบอกแบบถนอมน้ำใจ (ที่ไม่ซื้อ) ว่า ถ้าใช้แล้วดี พี่ก็เก็บไว้บูชาเถอะ เป็นอันรู้กันว่ายังไม่ถึงมาตรฐานที่ตลาดพระต้องการ--กติกาก็ง่ายๆ บอกชื่อแซ่และเล่าถึงพระที่ส่งมา เพราะบางมุม น่าจะมีประโยชน์ ให้ข้อคิดต่อแฟนๆ สนามพระเหมือนกัน
  • องค์นี้ของ เสี่ยวีรพันธุ์ พงษ์วัฒนานุสรณ์ ได้มรดกจากคุณพ่อ วีระศักดิ์ ซึ่งเป็นลูกศิษย์ก้นกุฏิวัดบวรฯ บวชเรียนกับเจ้าประคุณสมเด็จญาณฯ และได้ไปธุดงค์ ดูแลสมัยท่านไปอยู่ที่เขาชีจรรย์ จึงได้เรียนพระธรรมกับเจ้าพระคุณสมเด็จฯ--เพราะเป็นคนวัดคุณพ่อจึงสนใจพระเครื่อง และเก็บพระไว้มากมาย ตั้งแต่ลูกชายยังไม่เกิด
พระหลวงพ่อทวด สวัสดี มรดกพ่อ ของวีรพันธุ์ พงษ์วัฒนานุสรณ์.
พระหลวงพ่อทวด สวัสดี มรดกพ่อ ของวีรพันธุ์ พงษ์วัฒนานุสรณ์.
  • สำหรับ พระหลวงปู่ทวด คุณพ่อมีเก็บไว้มากที่สุด ส่วนใหญ่เป็นของ โกฮ้วน เซียนภาคใต้ สายหลวงปู่ทวด--ซึ่งบางคนว่าใช่ บางคนว่าไม่ใช่ แต่ เสี่ยวี บอกว่าไม่สนใจตรงนั้น เพราะเป็นพระที่พ่อให้ จบข่าว ลากันด้วย เรื่องปิดท้าย ในร้านเสริมสวยย่านชานกรุง ซึ่งเปิดใหม่ แต่งร้านสวยทันสมัย จึงมีสาวๆไปทำผมกันตลอดวัน โดยในร้านมีมุมกาแฟเล็กๆ ให้ลูกค้า หรือผู้ติดตาม มีที่นั่งรออย่างไม่เบื่อ สัปดาห์ที่ผ่านมา มี เสี่ยสุธีร์ เซียนพระ ไปกินกาแฟทุกวัน จนพนักงานคุ้นหน้า วันหนึ่งจึงเข้าไปทักว่า มานั่งรอภรรยาทุกวันเลยนะคะ ดีจัง แต่ เสี่ยสุธีร์ ทำหน้าขุ่น ขมวดคิ้ว ผมยังไม่มีเมีย--แต่ที่ไปทุกวัน เพราะไปเฝ้าเจ๊ เจ้าของร้าน ซึ่งไม่ได้คิดจะจีบเจ้าของ แค่รอจังหวะจีบซื้อพระนางพญา ในคอเจ๊เจ้าค่ะ อามิตตพุทธ.

สีกาอ่าง