สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ SACIT (Sustainable Arts and Crafts Institute of Thailand) เดินหน้าภารกิจการสืบสาน สร้างสรรค์ ส่งเสริมงานศิลปหัตถกรรมในทุกมิติ

ผศ.ดร.อนุชา ทีรคานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย กล่าวว่า SACIT มุ่งการส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทยในปี 2568 ด้วยนโยบาย สืบสาน สร้างสรรค์ ส่งเสริม เพื่อยกระดับงานศิลปหัตถกรรมในทุกมิติ โดยการสืบสาน มุ่งการอนุรักษ์งานคราฟต์ ดั้งเดิมที่กำลังเลือนหายไป เพื่อให้ยังคงอยู่ในตลาด และในวิถีชีวิตของคนไทย และมีความสอดคล้องกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง ขณะที่สร้างสรรค์ เป็นการทำให้งานคราฟต์มีความร่วมสมัยผ่านการออกแบบ รูปลักษณ์ การคัดเลือกนำวัสดุมาใช้ให้เหมาะสม ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคและคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และส่งเสริม การสร้างการรับรู้ในงานศิลปหัตถกรรม ถ่ายทอดองค์ความรู้ และจัดการวัฒนธรรมศิลปหัตถกรรม เพื่อกระตุ้นให้ผู้คนในทุกเจเนอเรชันเกิดความชื่นชอบและใช้ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยเพิ่มมากขึ้น ตลอดจนส่งเสริมด้านการตลาดผ่านการขยายช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมให้แพร่หลาย และเพิ่มโอกาสทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศ

SACIT เปิดภารกิจพลิกโฉมศิลปหัตถกรรมไทย

...

SACIT เปิดภารกิจพลิกโฉมศิลปหัตถกรรมไทย
SACIT เปิดภารกิจพลิกโฉมศิลปหัตถกรรมไทย

ผอ.SACIT กล่าวต่อว่า เพื่อให้งานศิลปหัตถกรรมไทยเกิดการเปลี่ยนที่เป็นรูปธรรม SACIT จึงมีการดำเนินงานใน 4 มิติ อาทิ มิติแรกคือ “หัตถศิลป์ที่คิดถึง” ซึ่งปี 2568 จะเน้นสร้างความตระหนักถึงกลุ่มงานหัตถศิลป์ประเภทเครื่องรัก-เครื่องมุก และงานหัตถศิลป์ล้านนาประเภทเครื่องเขิน ซึ่งปัจจุบันนับว่าเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่ใกล้สูญหาย เหลือครูผู้สร้างสรรค์น้อยราย จึงเป็นที่มาของการเตรียมเปิดงานประชุมวิชาการด้านศิลปหัตถกรรมครั้งที่ 1 “SACIT Symposium 2025” ภายใต้แนวคิด “Crafting Sustainability across ASEAN and Beyond” เวทีเพื่อการนำเสนอและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เชิงวิชาการ และนวัตกรรมเกี่ยวกับงานคราฟต์ รวมถึงผลงานการสร้างสรรค์สำหรับกลุ่มงานหัตถกรรมที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์-สืบสาน ซึ่งถือเป็นหนึ่งในกระบวนการผลักดันงานศิลปหัตถกรรมไทยให้เติบโตและสร้างความเชื่อมั่นในตลาดทั้งไทยและต่างประเทศ โดยมีกำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 8-9 สิงหาคม 2568 ณ สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน)

SACIT เปิดภารกิจพลิกโฉมศิลปหัตถกรรมไทย
SACIT เปิดภารกิจพลิกโฉมศิลปหัตถกรรมไทย

นอกจากนี้ SACIT ยังมุ่งเน้นการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งไม่เพียงให้ความสำคัญต่อการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม แต่ยังใส่ใจต่อเรื่องชุมชน สังคม รวมถึงกลุ่มคนผู้ผลิตงานหัตถศิลป์ไทยทั่วทุกภูมิภาค ให้ความสำคัญต่อเรื่องของสุขภาพ จัดทำงานวิจัยด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงต่อสุขภาพของกลุ่มผู้ผลิตงานคราฟต์ โดยศึกษาถึงความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการทำงานพร้อมหาแนวทางในการป้องกันและฟื้นฟู อีกทั้งยังมุ่งมั่นในการส่งเสริมและขยายโอกาสให้กลุ่มคนหลากหลายสามารถเข้าถึงกระบวนการผลิต และการบริโภคงานคราฟต์ ทั้งในมิติทางสังคมและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบางทั้งหลายที่มีศักยภาพ ตลอดจนส่งเสริมเรื่องโอกาสช่องทางการตลาด ผ่านการประสานความร่วมมือกับการท่าอากาศยาน โดยมีแผนการขยายพื้นที่รองรับผลิตภัณฑ์งานคราฟต์จากชุมชน เพื่อจัดจำหน่ายสินค้าที่ระลึกที่มีความร่วมสมัย ณ บริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ เป็นต้น.

...

อ่าน "คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ" ทั้งหมดที่นี่