นอกจากตระเวนถ่ายภาพแนวมินิมอล ขาว-ดำ ซึ่งชื่นชอบที่สุด สุรินทร์ บัญญัติปิยพจน์ ที่ปรึกษากิตติม ศักดิ์สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และชมรมภาพถ่ายขาวดำแห่งประเทศไทย ยังสนใจเรื่องราวในอดีตและประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้ผลงานภาพถ่ายของ อาจารย์ปิง สุรินทร์ มักมีเกร็ดเรื่องราวที่หยิบยกจากบันทึกประวัติศาสตร์มาเล่าหรือบรรยายประกอบ หรือสอดแทรกแนวคิด อย่างเช่น ตอนจัดนิทรรศการ Landscape ขาวดำ ชื่อ Passage ที่เดินทางไปถ่ายภาพหลายประเทศ อาจารย์ปิง ก็นำหลักธรรม และคติเตือนใจของพระอาจารย์หลายองค์ มาติดไว้ทุกภาพ เพราะอยากให้ผู้ชม เกิดความลึกซึ้ง มีแรงบันดาลใจจากภาพนั้นๆ เหมือนตัวเอง--อาจารย์ปิง จึงเป็นช่างภาพชั้นนำ ที่มีแนวการทำงานและการนำเสนอเฉพาะตัว และยังทำงานช่วยส่วนรวมอยู่เสมอ ทำให้เป็นช่างภาพที่ใครๆต้องการตัว (เพราะค่าตัวไม่คิด ออกค่าใช้จ่ายเอง และยังยกรายได้จากการจัดนิทรรศการไปช่วยสังคม)

ครั้งหนึ่ง อาจารย์ปิง จึงรับเชิญ ราเมศ พรหมเย็น ผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียม สยาม) ซึ่งเริ่ม โครงการพัฒนาพื้นที่ย่านวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ในเขตเมืองเก่าของกรุงเทพฯ หรือ เกาะรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ พ.ศ.2562 โดยนำเรื่องราวในอดีต ทั้งแง่มุมวัฒนธรรรม ภูมิทัศน์ ฯลฯ มารวมไว้ในหนังสือ ชื่อ เรื่องเล่า ชาวเกาะ จาก 14 นักเขียนรับเชิญ อาทิ ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ เล่าเรื่อง แมวหอกลอง สนามไชย ในประวัติศาสตร์จากปากแมว เรื่อง เจ้าคุณเทศ กับ วังประตูสามยอด ของ รศ.ดร.พีรศรี โพวาทอง เรื่อง ลาล ซิงห์ พ่อค้าเร่แห่งพาหุรัด โดย อนันต์ชัย วีระนันทชัย เรื่อง คุณหญิงตุ่มกับบ้านหัวลำโพง ของ ศ.ดร.บัณฑิต จุลาสัย และ ดร.รัชดา โชติพานิช และ โหน่ง ตลาดน้อย เขียน ป้าน้อยกับผีหัวลำโพง โดยมีภาพประกอบจาก 12 ช่างภาพและนักเขียนภาพ อาทิ ธีรวัฒน์ นุชเจริญผล จิรภาส สระโร ปริวัฒน์ อนันตชินะ นักรบ มูลมานัส สุรินทร์ บัญญัติปิยพจน์ ภูริชญา ปัญญาสมบัติ ฯลฯ--อ่านแล้ว วางไม่ลง เพราะได้ความรู้เรื่องเก่าที่มีเสน่ห์

...

หลังจากนี้ เพื่อนๆ ก็รอฟังเรื่องเล่าสนุกๆ จาก อาจารย์ปิง ซึ่งเพิ่งกลับจากบูดาเปสต์ ที่ภรรยา นุสรา (อัสสกุล) และครอบครัวน้องสาว นภสร–ศานติ ประนิช จัดไปลุยเที่ยวกินและถ่ายภาพมาเป็นหนึ่งในทีมช่างภาพทางการที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาล ในการถ่ายภาพเหตุการณ์ต่างๆที่เกี่ยวเนื่องกับขบวนเรือพระราชพิธีพยุหยาตราทางชลมารค เพื่อบันทึกไว้ที่ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร--คนที่เคยเห็น อาจารย์ปิง แต่งตัวง่ายๆสบายๆ ไม่สนใจแฟชั่น จึงได้เห็นลุคเนี้ยบ เพราะต้องโกนหนวดโกนเครา ตัดผมสั้น และใส่สูทหล่อให้ยิ่งร้อนขึ้น แถมต้องแบกอุปกรณ์กล้องหนักเป็นสิบกิโล ไปเดินท่อมๆหามุมกล้องเพื่อบันทึกภาพผู้คน เหตุการณ์ สถานที่ ฯลฯ ตั้งแต่เช้าจนจบพระราชพิธี โดยไม่สนใจครีมกันแดด spf 60 ที่ คุณนุส มาดามคนสวยซึ่งกลัวแดดสุดๆ จัดไปให้ เพราะปิ้งแดด เพื่อรอถ่ายภาพที่แสงเงาถูกใจ จน spf เท่าไหร่ ก็ยอมแพ้.

หนึ่งในผลงานอาจารย์ปิง ที่ Johphur, India ซึ่งเน้นถ่าย สถานที่ แต่ให้มีคนอยู่แบบตัวเล็กๆ เพื่อให้ sense of scale.
หนึ่งในผลงานอาจารย์ปิง ที่ Johphur, India ซึ่งเน้นถ่าย สถานที่ แต่ให้มีคนอยู่แบบตัวเล็กๆ เพื่อให้ sense of scale.

โสมชบา

คลิกอ่านคอลัมน์ "ของว่างวันอาทิตย์" เพิ่มเติม