เป็นที่ทราบกันมานานพอสมควรแล้วที่หมอนำเรียนต่อเนื่องในคอลัมน์สุขภาพหรรษาหมอดื้อ ไทยรัฐ ตั้งแต่กำเนิดของโปรตีน พรีออน โรคคูรู (kuru) ในมนุษย์ ต่อด้วยวัวบ้า (BSE) และเชื่อมโยงมาถึงสมองเสื่อมแบบต่างๆที่เกิดจากโปรตีนพิษบิดเกลียว (misfol ded protein) และตามต่อ เป็นกระบวนการ มีขั้นมีตอน

ทั้งนี้ สมองเสื่อมยี่ห้อผู้ร้ายที่สำคัญคือ อัลไซเมอร์และมีลูกน้องพาร์กินสัน ที่ชอบเรียกลูกพี่มากินโต๊ะด้วย ยังพร้อมกับมีก๊กมีเหล่าชื่อต่างๆโดยมีอาการแตกต่างกันออกไป

แต่กลไกพื้นฐานและการเชื่อมโยงส่งผ่านโปรตีนพิษมีลักษณะคล้ายคลึงกันแล้วแต่ เริ่มจากสมองส่วนไหนและกระจายไปสมองจุดใดบ้างทำให้อาการของโรคต่างกันออกไป

สำหรับสมองเสื่อมอัลไซเมอร์เริ่มจากโปรตีน อมิลอยด์ ทาว ที่สะสมเป็นขั้นตอนทำให้สมองผิดปกติแปรปรวน เซลล์สมองตายและมีการอักเสบ แบบ necroptosis รายงานในเดือนกันยายน 2023 โดยต่อมามีราย งานในเดือนพฤษภาคม 2023 พิสูจน์ว่าตัวจุดชนวนเกิดจากเซลล์ astroglia จุดปะทุ โปรตีนอมิลอยด์ให้เหนี่ยวนำทาวจนมีความเสียหายเกิดพยาธิสภาพ

...

เหล่านี้มีการสะสมมานับ 10 ถึง 15 ปีก่อนที่จะมีอาการและเป็นที่มาถึงมีการปฏิวัติรูปแบบการวินิจฉัยและการรักษาป้องกันให้เริ่มก่อนที่จะมีอาการให้เร็วที่สุด ในเดือนกรกฎาคม 2023 และรับรองว่าการตรวจเลือด ถือเป็นมาตรฐานในการวินิจฉัยและติดตามการดำเนินโรค (ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ จุฬาได้พัฒนาจนสำเร็จแล้ว และทำการตรวจมาตลอดจนปัจจุบัน) และโปรตีนทาว มีความเฉพาะเจาะจงกับอัลไซเมอร์

เมื่อตรวจในเลือดไม่ใช่ทาว 181 ยังมีทาว 217 และ 231 และยังมีตัวอื่นเช่น 202 และ 205 เป็นต้น ซึ่งในอนาคตจะได้มีการนำมาใช้เพื่อหาความสัมพันธ์กับระยะเวลาการเกิดและการพัฒนาของโรค โดยใช้ตรวจควบรวมกับตัวชี้วัดของเซลล์ astroglia และระดับการทำลายสมอง (NFL)

จนกระทั่งดัชนีชี้วัดการอักเสบรวมทั้งผลกระทบจากความผิดปกติของเส้นเลือด และต่อไปควบคู่กับการหาโปรตีนซินแนป (synaptic protein) ซึ่งในปัจจุบันยังเป็นการหาในน้ำไขสันหลัง

เหล่านี้จะทำให้ทราบได้ถึงการวินิจฉัยและระบุขั้นตอนรวมทั้งระดับความรุนแรงได้แม้ว่าจะยังไม่มีอาการก็ตาม

การป้องกันชะลอจนกระทั่งถึงการรักษาต้องไม่ลืมที่สำคัญ ก็คือ เรื่องอาหาร ผัก ผลไม้ ลดเนื้อสัตว์ จนถึงงด โดยมีไก่ได้บ้างและเน้นโปรตีนจากสัตว์น้ำ จากถั่วทั้งที่มีและไม่มีเปลือกและฝัก ตลอดไปจนกระทั่งถึงชาดำ แดง เขียว เป็นต้น และการออกกำลังซึ่งทำได้แบบเข้มข้นคาร์ดิโอหรือแบบตามสภาพสังขารแต่ต้องไม่นั่ง อ้อยอิ่ง แบะแฉะ ดังที่พบแล้วว่าถ้าในวันหนึ่งนั่ง 10 ชั่วโมงขึ้นไปจะเร่งสมองเสื่อมมากขึ้น

แต่กระนั้น การออกกำลังแม้จะแสดงให้เห็นผลได้ชัดเจนก็ตาม แต่ก็ยังไม่สามารถพิสูจน์กลไกได้จนกระทั่งถึงในหนูทดลอง โดยพบว่าหนูที่ปรับแต่งเป็นอัลไซเมอร์ เมื่อทำการให้หนูขยันออกกำลังปรากฏว่าโปรตีนอมิลอยด์การขยุ้มตัวของตะกรัน plague ลดลงอย่างชัดเจน

ทั้งนี้โดยที่มีตัวขจัดหรือตัวเลาะโปรตีนพิษเหล่านี้คือ Irisin ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ถูกกระตุ้นจากการออกกำลังและหลั่งมาจาก fibronec tin type III do main-containing 5 (FNCD5)

ทั้งนี้ ตั้งแต่เริ่มแรกเป็นที่รู้จัก irisin ว่าเป็นตัวควบคุมเมตาบอลิซึมของกลูโคสและไขมัน จากการที่เร่ง browning ของเนื้อเยื่อไขมันสีขาว ต่อมามีการพบว่า FDCN5/irisin ยังอยู่ ในสมองหนูและสมองมนุษย์โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นความจำ hippocampus และปริมาณของ irisin จะลดน้อยถอยลงในสมอง ส่วนนี้และในน้ำไขสันหลังของคนป่วยด้วยโรค อัลไซเมอร์ รวมทั้งในสมองหนูที่ใช้เป็นโมเดลของโรคนี้เช่นกัน

...

การศึกษาในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ยังพบว่าระดับในน้ำไขสันหลังของ irisin สัมพันธ์กับระดับของ Abeta42 และแต้มคะแนนในการตรวจต้นทุนสมองด้วย mini-mental state exam (MMSE) ที่เราใช้กันเป็นประจำ

การออกกำลังเมื่อทำการทดสอบในมนุษย์พบว่าจะเพิ่มปริมาณของ irisin ในกระแสเลือด และในหนูปกติที่ขยันออกกำลังจะมี การแสดงออกของยีน Fndc5 ในสมอง hippocampus และมีปริมาณโปรตีน FNDC5 ในสมอง hippocampus ของหนูปรับแต่งอัลไซเมอร์

รายงานในวารสาร neuron เดือนพฤศจิกายน 2023 จากคณะทำงาน Harvard Medical School และภาคี ทำการชำแหละกระบวนการ โดยใช้โมเดลเซลล์เพาะเลี้ยงอัลไซเมอร์สามมิติ และแสดงให้เห็นว่า irisin ทำให้เซลล์ astrocyte ไหลหลั่งเอนไซม์ชื่อ neprilysin (NEP) โดย downregulate สัญญาณของ ERK-STAT 3 ทำให้พยาธิสภาพ อมิลอยด์ เบต้า ลดลงอย่างชัดเจน

การปล่อย NEP ของ astrocyte ที่มีการกระตุ้นจาก irisin จะมีตัวรับ integrin alphaV/beta5 บน astrocyte

การใช้ irisin ใส่เข้าไปในเซลล์ ReN-mGAP (ซึ่งจะผลิตโปรตีน ทาว และเกิดพยาธิสภาพการแสดงออกของทาวภายใน 3 อาทิตย์) ไป 1.5 อาทิตย์ พบว่า ระดับของ sarkosyl-soluble และ-insoluble paired helical filament (PHF)-1+ pTau (Ser396/Ser404) ในเวลาเพียง 5 อาทิตย์

การอักเสบซึ่งเป็นกลไกสำคัญของโรคนี้ (neuroinflammation) รวมถึงปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจากเซลล์ astrocyte

ทั้งนี้ irisin จะลดการสร้างและปล่อยสารอักเสบ โดยเจาะจงเป้าหมายจาก extracel lular stimuli (IL-6, C3 และ S100 beta) และที่ผิวเซลล์ (c3aR) จนถึงนิวเคลียส (STAT3 และ NF-kB p65) ที่จุดชนวนการปฏิบัติการของยีนเป้าหมายทั้งหลายทั้ง IL-6 C3 STAT3 Apoe และ Gfap

รายงานนี้แสดงให้เห็นถึงช่องทางอีกหนึ่งช่องทางในการป้องกัน จนกระทั่งถึงรักษาโรคอัลไซเมอร์ โดยเฉพาะการใช้ irisin เป็นต้น

...

ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้เป็นเครื่องแสดงที่ตอกย้ำว่าแม้มีโปรตีนพิษปะทุ จะมีอาการหรือยังไม่มีก็ตาม ห้ามสิ้นหวัง มีหนทางมากมาย ที่ทำให้เรายังมีร่างกายดีและสมองสดใสไปได้ตลอด.

หมอดื้อ

คลิกอ่านคอลัมน์ “สุขภาพหรรษา” เพิ่มเติม