สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 18 ในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์
ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน้อยเล็ก เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 10 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 14 กันยายน จ.ศ. 1171 (พ.ศ. 2352) เวลาสี่ทุ่มเศษ เนื่องจากวันประสูตินั้นเป็นวันเริ่มสวดมนต์ตั้งพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระองค์จึงได้รับพระราชทานนามว่าพระองค์เจ้าฤกษ์ พ.ศ. 2365 เมื่อพระชันษาได้ 13 ปี ได้ผนวชเป็นสามเณร ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร โดยมีสมเด็จพระอริยวงษญาณ (มี) เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วศึกษาภาษาบาลีตามคัมภีร์มูลกัจจายน์กับพระญาณสมโพธิ (รอด) จนชำนาญ ผนวชได้ 4 พรรษา ก็ประชวรด้วยพระโรคทรพิษ จึงลาผนวชมารักษาพระองค์จนหายประชวร สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพโปรดให้ผนวชเป็นสามเณรอีกครั้ง ณ พระราชวังบวรสถานมงคล พ.ศ. 2372

เมื่อมีพระชันษาครบ 20 ปี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ลาสิกขาบทเพื่อทำการสมโภชพร้อมกับสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์ ที่จะทรงผนวชเป็นสามเณรในเวลานั้น ได้สมเด็จพระอริยวงษญาณ (ด่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นนุชิตชิโนรส เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระวินัยรักขิต วัดมหาธาตุ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ผนวชแล้วศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะเป็นพระภิกษุ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งธรรมยุติกนิกาย ก็ได้ทรงเข้าถือธรรมเนียมนั้นตาม ทรงทำทัฬหีกรรม ณ นทีสีมา โดยมีพระสุเมธมุนี (ซาย พุทฺธวํโส) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อทรงเป็นพระภิกษุเป็นพระกรรมวาจาจารย์ แล้วศึกษาพระปริยัติธรรมต่อในสำนักพระวิเชียรปรีชา (ภู่) แม้จะไม่เคยสอบพระปริยัติธรรม แต่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวก็พระราชทานตาลปัตรสำหรับพระเปรียญที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าทรงเคยรับ ให้ทรงใช้ต่อ ปีวอก พ.ศ. 2379 ทรงติดตามพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ย้ายไปประทับ ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ในการนี้พระองค์ท่านได้โปรดให้มีการสั่งทำพระรูปหล่อที่จัดสร้างขึ้นที่ประเทศอิตาลีที่มีชื่อเสียงในด้านปฏิมากรรมของโลกในการจัดสร้างครั้งนั้น มีวัตถุมงคลที่สร้างในคราวเดียวกัน 4 แบบคือ
...
1. พระรูปหล่อพระพุทธชินสีห์
2. พระรูปหล่อพระพุทธเจ้าปางทรมานกาย
3. พระรูปหล่อกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
4. พระรูปหล่อสมเด็จพระวันรัต (แดง)
ชี้ตำหนิ

พระบูชารูปเหมือนสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์เป็นรุ่นแรกที่ทำจากประเทศอิตาลี ถือว่าเป็นงานศิลปะชั้นครู ช่างปั้นจะดูงานขององค์นี้เป็นต้นแบบ ความประณีตของงานช่วงแขนมองเห็นเส้นเลือดชัดเจน ลักษณะและเอกลักษณ์ของสังฆาฏิองค์พระมีความละเอียดพริ้วไหวและมีความเป็นธรรมชาติ

ถือว่าเป็นงานศิลปะชั้นครู ช่างปั้นจะดูงานขององค์นี้เป็นต้นแบบ ลักษณะและเอกลักษณ์ของสังฆาฏิองค์พระมีความละเอียดพริ้วไหวและมีความเป็นธรรมชาติ

ด้านในขององค์พระจะมีลักษณะคล้ายๆ กระเบื้องเซรามิกแล้วเคลือบด้วยทองแดงอีกชั้นซึ่งเป็นเทคโนโลยีเก่าที่ต่างประเทศทำได้ก่อนเรากว่า 100 ปี

คอลัมน์ : หยิบกล้องส่องพระ by โทน บางแค
Line : @tone8888
เพจ : โทน บางแค FC.
...