เทคนิค 8 ประการ..แบบง่ายๆ ในการแสวงหาพระสมเด็จ
1. ฝึกสายตาบ่อยๆ ชำนาญมากกว่า
- สังเกตพระที่มีผิวแห้ง หรือขุยยุ่ยๆ ในเนื้อปูนสุก และเนื้อปูนดิบละเอียดแน่น มีผิวเหลือบมุกสีชมพูอ่อน..เมื่อมองไกลๆ วรรณะออกเหลืองอมน้ำตาล (ตัวประสานเนื้อ)
- โดยการกวาดสายตาดูตามแผงพระทั่วไปๆ ได้อย่างรวดเร็ว ทั้งพิมพ์ทรง สี ขนาด ลักษณะ ความหนาบาง โดยรวมๆ ..จะสามารถสังเกตพระสมเด็จแท้ๆ แยกออกจากพระโรงงานได้โดยง่าย แต่...ก็จะมีพระโรงงานทำสี แช่สารเคมี พลาสติกอัด โปะหรือพอกสารเคมีสารพัด เพื่อเลียนแบบวรรณะของตัวประสานปะปนบ้างพอสมควร
- การฝึกสายตาบ่อยๆ ..จะสามารถแยกสีของพระสมเด็จแท้ออกจากสีของพระโรงงาน "ทอดน้ำมัน" ได้มากขึ้น..เรื่อยๆ อย่างน้อยที่สุดจะแยกพระโรงงานออกได้ไม่น้อยกว่า 90% ของพระที่มีในตลาด
2. วิธีดูพระสมเด็จแบบไหน
- สังเกตพระที่มีเนื้อปูดขาวๆ มันๆ แบบหลากอายุที่ไล่สีจากขาวซีดๆ ไปถึงขาวอมเหลือง หรือน้ำตาลอ่อน ..ตามผิวองค์พระ ..ตามเส้นซุ้มและตามพื้นองค์พระ
- ที่มีลักษณะเป็นหินอ่อน หรือเนื้อเกินจากผิวเดิม ..ปูดหรือพอกหนา..
- คล้ายกระเบื้องเคลือบ..
- ผิวที่ดูเป็นลูกคลื่นแบบฉ่ำๆ หลากอายุ (สีเข้มอ่อนแก่)
- มวลสารที่ปูดจะดูว่ามีอายุน้อย (สัมผัสอากาศ/ออกซิเดชัน)แบ่งเป็นช่วงของอายุ ..เป็นชั้นๆ มีสีขาวที่ชั้นบนสุด สีขาวปนเหลืองอ่อนที่ชั้นกลางๆ และสีเข้มขึ้นเมื่อไล่ลงมาถึงชั้นล่าง (ฐานของเนื้อปูด)
3. ดูลักษณะของผิว
- สังเกตพระที่มีผิวสีนวลๆ แบบผงแป้งฉาบบางๆ ที่ไม่มีริ้วรอยของการโปะ
- ที่อาจจะเป็นผิวคล้ายของเค็ม..เช่นผิวของปลาหมึกแห้ง หรือเป็นหลุมโพรงแบบปลายเข็ม, บ่อน้ำตา ที่มีปากกว้าง ขอบคมกระจัดกระจายทั่วๆ ไป
- ผิวภายในและที่ก้นหลุม จะมีลักษณะของผงละอองขาวนวลเหมือนผงแป้งโรย..ถึงขั้นนี้จะแยกพระโรงงานออกไปได้ไม่น้อยกว่า 99% ทำให้มีโอกาสพลาดลดน้อยเหลือเพียง 1%...
...
4. ขอส่องดูเนื้อพระ
- เมื่อมองไกลจะต้องดูแห้ง ..หนึกนุ่ม.. เมื่อมองใกล้จะต้องดูฉ่ำชุ่มตาเป็นจ้ำๆ แบบวงฟองเต้าหู้ ..มีมวลสารหลากชนิดตามหลักในตำราพื้นฐานทั่วไปที่เขียนแสดงไว้ (มวลสารหลัก 5 ชนิด) เนื้อจะต้องมีจุดฉ่ำที่ชัดเจน มีจำนวนยิ่งมากยิ่งดี จะช่วยให้เห็นความแท้ที่ดูง่าย
- และเมื่อมองผ่านเลนส์ขยาย..จุดฉ่ำทุกจุดจะต้องเป็นวงคลื่นแบบไล่ระดับความแห้ง (Moisture gradations) ให้พยายามมองหาจุดฉ่ำทั้งด้านหน้า ..ด้านข้าง และด้านหลัง (ทุกๆ ด้าน) ต่อไปก็มองหารูน้ำตาที่มีทางไหลของคราบน้ำตา (แบบรูแย้ หรือรูจิ้งหรีด)...ที่เป็นทางเข้า_ ออก และที่ปากรูจะมีคราบฟองเต้าหู้เป็นวงๆ ละเอียด และเม็ดปูดเป็นหย่อมๆ แบบหัวสิวที่มียอดเป็นหนองเต่งใส ..มีส่วนโคน (ฐานล่าง) จะดูด้านๆ
- ดูความยุบยุ่ยของมวลสารที่อ่อนตัวในหลุมตามผิวขององค์พระว่ามีร่องรอยของการเสื่อมสลายจริงหรือไม่.. ส่วนใหญ่จะหลงเหลือเศษซากให้เห็นได้ ...ว่าหลุมรูนี้เคยมีสิ่งใดอยู่ ถ้ามีครบดังที่ว่ามานี้ ..ก็พอจะวางใจได้มากถึง 70%..ว่ามีโอกาสแท้
5. ดูพิมพ์พระเพื่อหา
- มีความคมชัดในระดับที่เหมาะสมกับอายุหรือไม่
- มีความงามของศิลปะสกุลช่าง ..ตามแบบอย่างฝีมือช่างคล้องจองกับยุคสมัยที่สร้างหรือไม่..
- รูปองค์ทรงพระ ..ต้องไม่แอ่น ไม่บิดเบี้ยว หรือโค้งงอ..มากจนเกินไป ..ถ้ามีหรือพบ ก็ต้องมีเหตุผลที่อธิบายได้
6. ผิวองค์พระ เป็นริ้วเล็กๆ ไม่มีความคม
- ดูการแตกของผิวขององค์พระ แบบ "ริ้วเล็กๆ"..ที่เหลี่ยมสันของขอบและมุมต่างๆ จะมนไม่มีความคม
- เกิดจากการที่มีคราบน้ำมันตัวประสานและฟองเต้าหู้ หรือเนื้อปูด ..ขึ้นมาทับถมตกผลึก..โดยกระบวนการธรรมชาติ ไม่ใช่การโปะพอกตกแต่งผิว (เน้นความกลมกลืนที่ไม่ขัดตา)
- ผิวและเนื้อ ..ด้านหน้า, ด้านหลัง ..เป็นชนิดและแบบเดียวกัน..ที่ด้านข้างอาจจะมีรอยแยกให้เห็น แต่มักจะมีฟองเต้าหู้ปกคลุมแลดูเป็นลอนคลื่น
7. ดูตำหนิสำคัญของแต่ละพิมพ์
- ในเบื้องต้นยังไม่จำเป็นต้องดูลึกอะไรมาก..แค่ดูภาพรวมของพิมพ์ให้ได้ก่อน และเมื่อดูผ่านได้แล้ว ..มีโอกาสพลาดสูงสุดไม่เกิน 30% ให้ฝึกดูต่อไปเรื่อยๆ ..ในภาพรวมขององค์ประกอบทางศิลปะ ..ทางพิมพ์ทรงและทั้งตำหนิสำคัญที่อาจมี ..จนเข้าใจและขึ้นใจ ..ซึ่งทำให้มีโอกาสพลาดจะน้อยลงตามลำดับ ..จนเหลือต่ำกว่า 5% (ที่ต้องใช้ความชำนาญพิเศษเฉพาะตัวในการตัดสิน)
8. อย่ากังวลกับการพลาดไปเมื่อ.."ตีเก๊พระสมเด็จแท้"..เวลาไปเจอพระที่ก้ำกึ่ง
- ไม่ควรเสียเวลา..ลุ้นพระสมเด็จองค์นั้นให้แท้ เพราะโอกาสหน้ายังมีอีกมาก แต่ควรต้องกังวลกับการ..พลาดไปหยิบเอาพระโรงงาน..ที่พลาดแล้วจะ..ถอยยาก..ขอให้จดจำและปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ การกระทำดังนี้จึงจะมีโอกาสพลาดน้อยมาก (ลดความเสี่ยง)
ข้อสำคัญ
- จงอย่าเชื่อในนิทานใดๆ ..ไม่ว่าคนเล่านิทานคนนั้นจะเป็นใคร ..ก็ตาม
- ทุกๆ อย่างที่อยากรู้ให้อ่านและศึกษาดูจากองค์พระเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
อย่าเล่นพระด้วยหู..
จงเล่นพระด้วยตา..
อย่าเชื่อเรื่องเล่า..
อย่าเช่าเพราะโลภ..