เคล็ดลับการดูพระสมเด็จวัดระฆังที่เซียนไม่ยอมบอก EP.2 หมอกฤษณ์ คอนเฟิร์ม เผยต่อจากตอนที่แล้วไปแล้ว 8 ข้อ ที่บอกเล่าวิธีการดูผิวพระสมเด็จ คุณสมบัติเบื้องต้นของพระจะต้องมี และเป็นแบบไหน วันนี้เรามาคุยกันถึงเรื่องพระสมเด็จวัดระฆังกับเคล็ดลับการดู ฉบับทางลัดตอนจบ

วิธีดูสมเด็จวัดระฆัง (ภาค2)

ข้อที่ 9. ในกรณีของการใช้รักน้ำเกลี้ยง

พระสมเด็จวัดระฆัง มักนิยมลงรักน้ำเกลี้ยง ..ซึ่งนิยมทาผิวพระสมเด็จ ..ไม่ให้เสียหายชำรุด และ จะนิยมลงรัก ..ปิดทอง หรือ ชาด หรือ สมุก หรือ เทือก เพื่อความสวยงามยิ่งลงรักดำ ..มักจะปิดทองไปด้วย ..

การทารักน้ำเกลี้ยง ..เป็นการรักษาผิวพระสมเด็จ.. เมื่อรักดำหลุดร่อนไป ..ก็จะคงสภาพของรักน้ำเกลี้ยงให้เห็นตามผิวพระสมเด็จจะมีสีน้ำตาลอ่อนๆ ..

แต่บางองค์ ..ที่มีการลงชาดแดงจากจีน..
สภาพผิวพระสมเด็จ ..จะมีสีแดงลูกหว้าแดงอมม่วง ..

ข้อที่ 10. ว่าด้วยเรื่องของน้ำหนักบ้าง 

เนื้อพระสมเด็จที่แห้งมากๆ แบบไม่ใช้เลย..จะมีน้ำหนักเบากว่าปกติ ..ถ้าเป็นพระสมเด็จที่ไม่ได้ถูกนำมาใช้งาน ..
แต่เมื่อไรพระสมเด็จ ..ที่ผ่านการใช้งาน ..ห้อยคอ สภาพความชื้น ..เหงื่อ ..ก็มีโอกาสถูกดูดซับด้วยเหงื่อ มากขึ้น ..ทำให้พระสมเด็จมีความหนึกนุ่ม และมีน้ำหนักมากขึ้น ..แต่โดยรวมพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์นิยมต้องมีน้ำหนักตึงมือ รู้สึกได้ ..

ข้อที่ 11. เรื่องน้ำมันตั้งอิ้ว

เมื่อเวลาล่วงเลยเข้าสู่ร้อยกว่าปี ย่อมมีอะไรที่จะบ่งบอกถึงสภาพของน้ำมันตั้งอิ้วแน่นอน ..เพราะตั้งอิ้วจะมีสัณฐานขาวขุ่น..ด้วยกาลเวลาผ่านไปร้อยกว่าปี..ตั้งอิ้วจะเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาล..ตามปกติของสิ่งที่เรียกว่า..น้ำมัน..

...

สิ่งที่จะบอกเราว่าเก่าถึงอายุได้ ..
ตัวอย่างเช่น ..
ผิวมุก..
คราบน้ำมันตั้งอิ้ว ..
รอยจ้ำๆ ..ของน้ำมันตั้งอิ้ว ..
หลุมบ่อของน้ำมันตั้งอิ้ว..
การซึมลึกของน้ำมันตั้งอิ้ว
การตกผลึกของน้ำมันตั้งอิ้ว
การไหลเยิ้มฉ่ำของน้ำมันตั้งอิ้ว
และสีวรรณะน้ำมันตั้งอิ้ว..
เป็นต้น

ข้อที่ 12. เนื้อพระจะต้องไม่กระด้าง 

พระสมเด็จวัดระฆังทุกองค์ ..
ต้องมีความหนึกนุ่ม ..แห้ง ยุบ แยก ย่อ ย่น
ผิวพระต้องดูแล้วไม่ตึงไปทั้งองค์ ..
ไม่มีความกระด้าง สีวรรณะของผิว ..และร่องรอยที่ปรากฏไม่ได้เกิดจากการตบแต่ง ..
แต่จะดูเป็นธรรมชาติ ..
ธรรมชาติที่เกิดจากความเก่าของปูนอายุเกือบ 150 ปี..

ข้อที่ 13. ขอบพระไม่แน่น ไม่เรียบ ไม่ทื่อ

เนื่องจากสมัยก่อน ..การแกะพระสมเด็จออกจากแม่พิมพ์ ..จะต้องมีการตัดขอบพระสมเด็จให้สวยงาม..
โดยการตัดด้วยความคมของไม้ตอกตัด..
ดังนั้นขอบด้านข้างของพระสมเด็จทุกด้านจะไม่เรียบตรงเหมือนกับการปั๊มพระสมเด็จจากโรงงาน..

ด้านข้างของพระสมเด็จ ..
จะมีลักษณะไม่เรียบ ..มีรอยขรุขระ..การครูดของมวลสาร ..เนื้องอก ..การทับถม.. ซ่อมแซมตัวเองตามธรรมชาติ ..บางครั้งจะสังเกตเห็นเป็นหลุมของเนื้อพระสมเด็จชัดเจน ..

ข้อที่ 14. เนื้อพระต้องไม่แตกระแหง แบบนาแล้ง

อันนี้เป็นเทคนิค ..
พระสมเด็จวัดระฆังส่วนใหญ่ ..ต้องไม่มีการแตกระแหง ..แบบทุ่งนาที่แห้งเกรียม..

การที่มีเส้นแตกระแหงใหญ่ๆ ..ในพระเก๊..
ตามประวัติเริ่มใช้ .." น้ำมันชักเงาไม้ (ตั้งอิ้ว) "
แล้วเกิดจากการนำพระสมเด็จไปให้ความร้อน ..ด้วยกระทะ หรือเตาอบ ซึ่งเจตนาคงต้องการเร่งให้พระแห้ง.. จึงทำให้เนื้อพระดูแห้ง แยก แตก ผิดธรรมชาติไปอย่างชัดเจน ..แบบนี้ไม่ดีขาดความงดงาม ..

ข้อที่ 15. เรื่องคราบแป้งโรยพิมพ์ (ตามภาษาวงการ)

สีขาวอมเทา ..ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก ..เล่าขานตามความเชื่อก็ว่าเป็นแป้งรองพิมพ์เพื่อให้แกะพิมพ์ง่าย ..

อันนี้ข้อเท็จจริงควรเป็นอย่างไร ..แต่ที่แน่ๆ
ถ้าว่าด้วยเรื่องวิทยาศาสตร์ก็ว่าจุดนี้ใช้เป็นจุดตายจุดหนึ่งได้ ..เพราะสิ่งเหล่านี้คือแคลเซียมที่คลายออกมาจากเนื้อพระที่มีเนื้อหาหลักๆ ..คือปูนเปลือกหอย ลักษณะสีสันวรรณะสวยงามหลากหลายสี ..
มองด้วยตาเปล่าออกสีมุกๆ พลิกเปลี่ยนมุมบางทีออกเป็นสีรุ้งเลยก็มี (แล้วแต่มุมที่แสงตกกระทบ) ..

...

การเกิดจะเกิดตามแหล่งมิติที่ลึกๆ ต่ำๆ ตามแอ่งต่างๆ ..ก่อตัวกันเป็นมิติหนาขึ้นจนอิ่มตัว ..และจะกระจายออกไปรอบๆ ที่ใกล้เคียงอย่างเบาบาง ..

ซึ่งก็มีเงื่อนไขของการเกิดตามหลักของวิทยาศาสตร์ทั่วไป ..

ตามทฤษฎีบอก 50 ปี ต่อ 0.05 mm ถ้าหากไม่นำพระสมเด็จอายุเกือบ 150 ปีนี้..ไปล้างผิวเล่นเสียก่อน

เราก็จะได้เห็นคราบแคลเซียม ..แร่แคลไซต์ (Calcite) เหล่านี้จะเกิดเป็นมิติที่สวยงามไล่ระดับความเข้มกันไป ..

คราบเหล่านี้เราจะล้างเท่าไร ก็สามารถเกิดขึ้นมาใหม่ได้ครับ ..เมื่อเนื้อพระเริ่มแห้งจริงๆ ..แล้วก็ไม่ได้หายออกไปไหน ..เพียงแต่เจือจางลงไปเท่านั้น

ส่วนที่โดนล้างโดนถูเยอะก็เจือจางเยอะ ..ตรงที่โดนน้อยก็เจือจางน้อย ..

ของพระเก๊จะแคล้นๆ ขาวปลื้อๆ ..เลอะเทอะไปทั่วองค์ไม่มีระเบียบ ..บางครั้งทำโดยการนำไปต้มเกลือมาผึ่งให้แห้งแล้วเอา ..พู่กันปัดๆ ส่วนที่ไม่สมควรเกิดออก ..ตบแต่งให้พอสวยงาม..
บางงานจะเป็นการราดน้ำปูนซีเมนต์มา..จะเลอะๆ เขรอะๆ..แข็งๆ..กระด้างตา..

...

ข้อที่ 16. ความหนึกนุ่มสว่างตา

ความหนึกนุ่มตา..เวลาดูพระด้วยตาเปล่า..
ความหนึกนุ่มตาจะดูคล้ายเราดูขนมไหว้พระจันทร์..ดูหนึบๆ..
ถ้าพระแท้..คนรุ่นเก่าเรียกว่า..มีสง่าราศรี..ไม่หมองตา..มีออร่า..
ที่สำคัญพระแท้ๆ โดยมากจะดูขาวใหม่ แต่พระปลอมมักจะดูเก่าเกินความเป็นจริง เหมือนจงใจให้เก่าครับ