เคล็ดลับการดูพระสมเด็จวัดระฆังที่เซียนไม่ยอมบอก อย่าไปวิตกกังวลว่าจะดูยาก
ไม่ต้องมีเทคนิคมากมาย ให้เราคิดซะว่าทั้งหมดคือ "หลักความเป็นจริงอย่างเดียว" ถามว่าคืออะไร? คำตอบก็คือวิทยาศาสตร์ทั่วไปในชีวิตประจำวันของเรานี่
ข้อที่ 1. คุณสมบัติในเบื้องต้นของพระที่จะต้องมี
คือ ..เนื้อหาต้องมีการยุบ ..การย่นตัว..แยกยุบตัว.. ถามเพราะอะไร? .. คำตอบ..ก็เพราะอายุการสร้างที่ยาวนานล่วงมาจนถึงเกือบ.. 150 ปี.. สารอินทรีย์ ..อะไรต่ออะไรที่ผสมอยู่ในเนื้อพระ.. ย่อมมีการสลายผุพังไปตามธรรมชาติ.. เพราะฉะนั้นก็ย่อมเกิดการยุบตัวลงไปของเนื้อพระ ..หรือการหดตัวลงไปของก้อนผงพุทธคุณ .. นี่ก็เรื่องง่ายๆ ที่เราไม่ต้องเก่งก็พอเดาได้ .. ถ้าเจอแบบเรียบงดงามมาก ..บ่งชี้ ..พระยุคหลังแน่นอน
ข้อที่ 2. ลักษณะของผิวพระสมเด็จ
จะต้องเห็นการปริแยกชัดเจนแบบธรรมชาติ ..ส่วนใหญ่รอยปริแยกที่เห็นชัดจะอยู่บริเวณ.. - ด้านหลังพระ ..บริเวณขอบของพระสมเด็จ ..ไม่มากก็น้อย.. - ด้านหน้าพระ .:บริเวณขอบของพระสมเด็จ ..เส้นซุ้ม..และวงแขน ..มีการยุบตัว..
ข้อที่ 3. พื้นผิวของพระสมเด็จต้องมีลักษณะเป็นรอยย่น
แนวๆ หนังไก่ หรือออกฟูๆ .. ผิวลักษณะนี้ ..จะมีการเกิดปฏิกิริยาตามธรรมชาติ เพราะเนื้อพระสมเด็จ ..ค่อนข้างละเอียด.. และเปียกชื้น.. หลังนำออกจากแม่พิมพ์มาผึ่งลม ..การหดตัวจะเกิดขึ้น ..เนื่องจากเนื้อพระแห้งไม่สม่ำเสมอกัน ..ส่วนผสมของมวลสารก็แตกต่างกันไปในแต่ละครั้ง .. บางองค์จะมีลักษณะ ..รอยย่นฟูมาก ..จนทำให้รูปร่างขององค์พระเลือนไป .. พระเลียนแบบทำได้ยาก .. อาจจะถือเป็นการดูจุดตายของพระสมเด็จวัดระฆังเลยทีเดียว .. ส่วนที่เรียกว่า .. "รอยย่นสังขยา " นั้น .. จะพบได้ในพระสมเด็จบางองค์.. บริเวณด้านหลัง .. เมื่อดูผ่านกล้องส่องพระแล้ว ..จะเหมือนผิวของขนมสังขยา .. ลักษณะนี้เกิดจาก.. การปาดหลัง..ขณะผิวที่เปียกของพระขณะพิมพ์ ..ขาดความสม่ำเสมอในส่วนผสมของมวลสาร เมื่อแห้งจึงยุบหดตัวไม่เท่ากัน ..ริ้วคลื่นจึงปรากฏคล้ายสังขยา ..
...
ข้อที่ 4. พระสมเด็จวัดระฆังทุกองค์
ต้องมีริ้วรอยเกิดขึ้นไม่ว่า ..จะเป็นเส้นสายต่างๆ ที่ประกอบกันเป็นองค์พระ ..ตลอดทั้งแนวเส้นจะต้องไม่เป็นเส้นคมชัดสวยงามเกินไป ..ต่อให้เก็บดีอย่างไรก็สวยงามไม่ได้ เพราะท่านอายุเยอะแล้ว ..จะต้องมีริ้วรอยธรรมชาติ ..ที่เป็นริ้วรอยขยุกขยิกให้เห็นบ้าง..
... เส้นต่างๆ เหล่านี้จะเกิดขึ้นทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นเส้นซุ้ม พระเกศ ..วงแขนทั้ง 2 ข้าง ..พระเพลา ..ตลอดจนเส้นบังคับพิมพ์ ..ทุกอย่างจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านกายภาพ..
ข้อที่ 5. พระสมเด็จเมื่อดูภาพโดยรวมแล้วจะต้องเห็นว่ามีความแห้งตามธรรมชาติ
พระสมเด็จจะต้องไม่สด หรือเปียก ชื้นแฉะ เป็นอันขาด ..นอกเสียจากจะเป็นเนื้อแบบแก่ตังอิ้ว..
พระสมเด็จอายุร้อยกว่าปี ..อายุของมวลสารที่มีปูนเปลือกหอยเป็นหลัก ..มวลสารผงพุทธคุณทั้งหลาย.. ที่ทำจากดินสอพองสีขาว ..เกสรดอกไม้ ..เมื่อผสมกันเป็นเนื้อเดียวกัน ..จะต้องเห็นสภาพแห้งตามอายุพระ บางครั้งจะเห็นมีลายแตกลายงาเล็กๆ เต็มไปหมด ..
บริเวณซอก มุม บนพระสมเด็จ เช่น ซอกรักแร้ มุมฐานพระ หรือบริเวณตามพื้นผิวผนังองค์พระ..
พระสมเด็จบางองค์ ..ที่ผ่านการลงรักจีน..จะเห็นได้ชัดเจนว่า ..รักต้องแห้งสนิท ..และมีการหลุดร่อนชัดเจน ..
ข้อที่ 6. พระสมเด็จวัดระฆังส่วนใหญ่
จะมีผงพุทธคุณ หรือก้อนมวลสาร ซึ่งมีขนาดเล็ก-ใหญ่ ไม่แน่นอน ..
แต่ก็ไม่ปรากฏใหญ่จนเกินไป ..แม้กระทั่งรูปร่างก็ไม่แน่นอนว่าจะเป็นลักษณะไหน ..แต่ที่แน่ๆ ไม่มีเหลี่ยมมีคมจนรู้สึกได้ ..
สีวรรณะของผงพุทธคุณและปูนเปลือกหอย..
ควรมีสีขาวอมน้ำตาล อมเหลือง ไม่ใช่ขาวใหม่ และที่สำคัญก้อนมวลสารเหล่านี้ ต้องมีความห่างกับเนื้อพระพอสมควร ..
บางก้อนจะมีการหดตัว ..และยุบตัวเป็นหลุมเห็นได้ชัดเจน ..เรียกว่า .."บ่อน้ำตา"
บางส่วนก้อนมวลสารหลุดออกจากเนื้อเกิดเป็นหลุม เรียกว่า .."หลุมโลกพระจันทร์" ..
ส่วนตำแหน่งที่เกิดจะไม่แน่นอน มีให้เห็นทั้งด้านหน้า และหลังพระสมเด็จ ..
ข้อที่ 7. พระสมเด็จวัดระฆัง
ต้องมีคุณลักษณะพิเศษ ..ในเรื่องของการ ..ม้วนตัว ..หรือห่อตัวอย่างเห็นได้ชัดเจน ..
จะสังเกตได้ชัดเจน บริเวณเส้นซุ้ม วงแขน ตามมิติต่ำๆ ทั้งหลาย จะมีลักษณะ หด ห่อตัว ม้วนตัว คล้ายๆ เส้นขนมจีน ..
...
ข้อที่ 8. พื้นผิวมีรอยเหี่ยว เป็นริ้วรอย
พื้นผิวบนเนื้อของพระสมเด็จวัดระฆังนั้น จะต้องเห็นรอยเหี่ยว ..ริ้วรอยธรรมชาติ ..ถ้าไม่เห็นเลย.. นี่แปลก ..