ถือเป็นงานประกาศรางวัลทรงคุณค่าของวงการภาพยนตร์ไทยที่จัดต่อเนื่องยาวนานถึง 32 ปี สำหรับงานประกาศรางวัล “สุพรรณหงส์ครั้งที่ 32 ประจำปี 2566” จัดขึ้นโดย สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ ร่วมกับ กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) และ บริษัท ทรูโฟร์ยู สเตชั่น จำกัด (ทรูโฟร์ยู ช่อง 24)

ปีนี้มาในคอนเซ็ปต์ “แสงแห่งกันและกัน” ซึ่งไอเดียมาจาก “แสงแห่งศรัทธา” ที่ผู้สร้างหนังและผู้ชมภาพยนตร์ต่างร่วมกันรักษาและสอดส่องดูแล เปรียบได้ดั่ง “ความร่วมมือร่วมใจในกันและกัน” เพื่อก้าวไปสู่ “ยุคทอง” ครั้งใหม่ของหนังไทยต่อไป โดยจัดขึ้นในวันที่ 29 กันยายน 2567 ณ โรงภาพยนตร์สยามภาวลัย รอยัล แกรนด์เธียเตอร์ ชั้น 6 พารากอน ซีนีเพล็กซ์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน

...

หนังไทยทั้งหมดในปี 2566 ที่เข้าชิงรางวัลในปีนี้ทั้ง 54 เรื่อง ได้แก่ “สะพานรักสารสิน 2216”, “ไอ้ไข่ เด็กวัดเจดีย์”, “ทิดน้อย”, “ปรากฏการณ์”, “เธอกับฉันกับฉัน”, “ปลายทางฝัน ฉัน..มีเธอ”, “Me and The Magic Door”, “บังเอิญรัก ข่อยฮักเจ้า”, “เกม/ล่า/ตาย”, “รักได้แรงอก” , “ขุนพันธ์ 3”, “แสงกระสือ 2, “บ้านเช่า...บูชายัญ”, “เสือเผ่น๑”, “อาตมาฟ้าผ่า”, “หุ่นพยนต์” , “รักแรกโคตรลืมยาก”, “ผีฮา คนเฮ”, “เซียนหรั่งเดอะมูฟวี่”, “เด็กกว่าแล้วไง ก็หัวใจมัน I Rock You”, “ผู้บ่าวไทบ้าน อวสานอินดี้ ทองคำ+ปราณี”, “The Last Breath of Sam Yan”, “อีหนูอันตราย”

“ลอง ลีฟ เลิฟว์”, “ดับแสงรวี”, “คุณตูบสายดาร์ก ปิดเมืองกัด”, “มอนโด รัก I โพสต์ I ลบ I ลืม”, “นะหน้าทอง”, “แมนสรวง”,  “ไปรษณีย์ 4 โลก”, “100 วัน เกมอาฆาต”, “ปราณี”, “บินล่าฝัน”, “ธีซิส อมตะพันธุ์สยอง”, “กุมาร”, “ของแขก”, “สัปเหร่อ”, “นักรบมนตรา : ตำนานแปดดวงจันทร์”, “14 อีกครั้ง”, “อยากตาย อย่าตาย มรณาคาเฟ่”, “ธี่หยด”, “เพื่อน (ไม่) สนิท”, “เรดไลฟ์ รักละเลย”, “นาค เรื่องเล่าจากชาวบ้าน, “มนต์ดำสั่งตาย”, “อานนเป็นนักเรียนตัวอย่าง”, “ลับแลคำชะโนด”, “4 Kings2”, “สลิธ โปรเจกต์ล่า”, “สมมติ”, “ทะเลของฉัน มีคลื่นเล็กน้อย ถึงปานกลาง”, “อีสาน ซอมบี้”, “อวสาน เนตรนารี” และ “แฟนฉัน ความทรงจำสีจาง”

สำหรับรางวัลในปีนี้มีทั้งหมด 21 รางวัลด้วยกัน ได้แก่

1. รางวัลเทคนิคการสร้างภาพพิเศษยอดเยี่ยม (Best Visual Effects)
ได้แก่ "ขุนพันธ์ 3" : บริษัท ฮิวแมน ฟาร์ม วีเอฟเอ็กซ์ สตูดิโอ จำกัด, บริษัท เซอร์เรียล สตูดิโอ จำกัด, บริษัท ดาร์ค อาร์มี่ สตูดิโอ จำกัด

2. รางวัลเทคนิคพิเศษการแต่งหน้ายอดเยี่ยม (Best Make Up Effects)
ได้แก่ "ธี่หยด" : มีนา จงไพบูลย์, อัยมี่ อิสลาม, ศิวกร สุขลังการ, อาภรณ์ มีบางยาง, รุจิระ ไชยภัฏ

3. รางวัลออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม (Best Costume Design)
ได้แก่ "แมนสรวง" : กิจจา ลาโพธิ์, นักรบ มูลมานัส

4. รางวัลกำกับศิลป์ยอดเยี่ยม (Best Art Direction)
ได้แก่ "แมนสรวง" : นักรบ มูลมานัส, สุประสิทธิ์ ภูตะคาม

5. รางวัลดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (Best Original Score)
ได้แก่ "เธอกับฉันกับฉัน" : ชัพวิชญ์ เต็มนิธิกุล

6. รางวัลเพลงนำภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (Best Original Song)
ได้แก่ "สัปเหร่อ" เพลง 'ยื้อ' : ปรีชา ปัดภัย, เซิ้ง มิวสิก

...

7. รางวัลบันทึกเสียงและผสมเสียงยอดเยี่ยม (Best Sound)
ได้แก่ "ธี่หยด" : เอลวิน ที, บริษัท กันตนา ซาวด์ สตูดิโอ จำกัด

8. รางวัลลำดับภาพยอดเยี่ยม (Best Film Editing)
ได้แก่ "เพื่อน(ไม่)สนิท" : ชลสิทธิ์ อุปนิกขิต

9. รางวัลกำกับภาพยอดเยี่ยม (Best Cinematography)
ได้แก่ "เรดไลฟ์" : บุญยนุช ไกรทอง

10. รางวัลบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (Best Screenplay)
ได้แก่ "สัปเหร่อ" : ธิติ ศรีนวล

11. รางวัลนักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (Best Supporting Actress)
ได้แก่ "4 Kings 2" : อินทิรา เจริญปุระ

12. รางวัลนักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (Best Supporting Actor)
ได้แก่ "เพื่อน(ไม่)สนิท" : พิสิฐพล เอกพงศ์พิสิฐ

13. รางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (Best Actress)
ได้แก่ "เธอกับฉันกับฉัน" : ธิติยา จิระพรศิลป์

14. รางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (Best Actor)
ได้แก่ "สัปเหร่อ" : ชาติชาย ชินศรี

...

15. รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (Best Director)
ได้แก่ "สัปเหร่อ" : ธิติ ศรีนวล

16. รางวัลภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยม (Best Documentary Film)
ได้แก่ "The Last Breath of Sam Yan" : Young Film TH, บริษัท ฟองเมฆ จำกัด, สามย่านฟิล์ม

...

17. รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (Best Picture)
ได้แก่ "สัปเหร่อ" : บริษัท ไทบ้าน สตูดิโอ จำกัด, บริษัท มูฟวี่ พาร์ทเนอร์ จำกัด

รางวัลพิเศษ
1. สุพรรณหงส์เกียรติยศ (Lifetime Achievement Award) : รศ.บรรจง โกศัลวัฒน์ บิดาแห่งวิชาภาพยนตร์สมัยใหม่ไทย

2. รางวัลภาพยนตร์ส่งเสริมวัฒนธรรมไทยยอดเยี่ยม : สัปเหร่อ

3. ภาพยนตร์ไทยรายได้สูงสุดประจำปี 2566 : สัปเหร่อ

4. รางวัลภาพยนตร์ไทย ยอดนิยมประจำปี 2566 : ลอง ลีฟ เลิฟว์

เรียกว่าทุกรางวัลในปีนี้ เป็นการสร้างความภาคภูมิใจและส่งเสริมอุตสาหกรรมวงการภาพยนตร์ทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังโดยแท้จริง