หลายคนที่ได้ดูละครเรื่อง พรหมลิขิต ที่กำลังฮอตฮิตอยู่ตอนนี้ อาจจะดูแล้วเกิดคำถาม และอยากรู้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และสังคมในสมัยอยุธยา เพื่อจะได้เข้าใจวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ในสมัยนั้นกันมากขึ้น

โดยหนึ่งในเรื่องราวที่น่าสนใจคือข้อมูลเกี่ยวกับระบบชนชั้นทางสังคมในสมัยนั้น ที่ยังไม่มีความเท่าเทียมกันนัก คนที่สถานะต่ำกว่า ก็มักจะแสดงความเคารพเหล่าเจ้าขุนมูลนาย ขณะที่ชนชั้น "ทาส" ก็จะไม่มีสิทธิเสรีภาพใดๆ

และแฟนละครหลายคนอาจจะสงสัยว่า "ยายกุย" และ "แม่กลิ่น" อยู่ในชนชั้นไหนของสังคมในสมัยอยุธยา ซึ่งทั้ง 2 คนนี้ ถือเป็นสามัญชนทั่วไป ไม่ใช่ทาส และไม่ใช่เจ้าขุนมูลนาย (ขุนนาง)

แต่ ยายกุย และ แม่กลิ่น คือ "ไพร่" สังกัด ออกญาวิสูตรสาคร (พี่หมื่น) หรือเรียกว่า "ไพร่สม" ซึ่งบ้านของ ออกญาวิสูตรสาคร กับ แม่นายการะเกด ถือว่าอยู่ในชนชั้นเจ้าขุนมูลนาย (ขุนนาง)

เพราะในละคร ยายกุย และ แม่กลิ่น นั้นมีอิสระ สามารถประกอบอาชีพ สร้างบ้านเรือนได้ และมีส่งส่วยบ้าง เช่น ตอนที่ ยายกุย สั่งให้ แม่กลิ่น นำผักผลไม้ไปให้บ้าน พี่หมื่น ส่วนทาสไม่สามารถทำเช่นนี้ได้

...

สำหรับความหมายของ "ไพร่สม" คือ ไพร่ที่พระมหากษัตริย์ประทานให้กับเหล่าเชื้อพระวงศ์และเหล่าขุนนาง หรืออาจได้มาจากวิธีอื่นๆ ซึ่ง ไพร่สม เจ้านายมีสิทธิ์จะใช้ให้ไปทำงานอะไรก็ได้ หรือนำส่วย สิ่งของมามอบให้กับเจ้านายที่ตนอยู่ใต้การปกครอง.