กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร ให้ข้อมูลด้วยในระยะนี้พบหนอนกออ้อยระบาดในพื้นที่ปลูกอ้อยที่สำคัญของประเทศในหลายจังหวัด
โดยมีผีเสื้อกลางคืนมาวางไข่บนใบอ้อย เมื่อฟักออกมาเป็นตัวหนอน จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มกัดกินอยู่บริเวณผิวใบหรือหน่ออ้อยเป็นระยะเวลาสั้นๆ จากนั้นจะเจาะเข้าไปภายในลำต้นที่อยู่หนอนกออ้อยระบาด แนะวิถีธรรมชาติบำบัดกองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร ให้ข้อมูลด้วยในระยะนี้พบหนอนกออ้อยระบาดในพื้นที่ปลูกอ้อยที่สำคัญของประเทศในหลายจังหวัด โดยมีผีเสื้อกลางคืนมาวางไข่บนใบอ้อย เมื่อฟักออกมาเป็นตัวหนอน จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มกัดกินอยู่บริเวณผิวใบหรือหน่ออ้อยเป็นระยะเวลาสั้นๆ จากนั้นจะเจาะเข้าไปภายในลำต้นที่อยู่บริเวณผิวดิน และตัวหนอนทั้งหมดจะเข้าไปรูเดียวกัน ทำลายต้นอ้อยอยู่ข้างในลำต้น ทำให้ส่วนยอดเหี่ยวแห้ง อ้อยไม่สามารถเจริญเติบโตได้ ถ้าระบาดมากๆ จะทำให้อ้อยสูญเสียน้ำหนักและความหวาน
...
ประกอบกับหนอนกออ้อยมีลักษณะอุปนิสัยชอบการเคลื่อนย้าย หลังจากทำลายหน่ออ้อยที่อยู่อาศัยให้ตายไปแล้ว จะย้ายไปทำลายหน่อใหม่ ดังนั้น หนอนกออ้อย 1 ตัว จึงสามารถทำลายอ้อยได้ 3-4 หน่อ หลังจากนั้นก็จะเข้าดักแด้อยู่ภายในลำต้น
นอกจากนั้นหนอนกออ้อยยังสามารถทำลายอ้อยได้ในทุกระยะการเจริญเติบโต ทำลายหน่อเมื่ออ้อยยังเล็กอยู่ ถ้าอ้อยอยู่ในระยะย่างปล้องและระยะเจริญเติบโตเต็มที่ หนอนกออ้อยจะเข้าทำลายตั้งแต่ระยะแตกกอจนถึงอ้อยเป็นลำได้เช่นกัน
สำหรับวิธีการป้องกันกำจัด กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย แนะนำให้เกษตรหมั่นสำรวจแปลงอ้อยอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง โดยเฉพาะเกษตรกรที่ปลูกอ้อย พันธุ์มาร์กอสคิว 130 ให้ระวังเป็นพิเศษเพราะเป็นพันธุ์ที่หนอนกออ้อยชอบมาก ถ้าพบการระบาดให้ตัดอ้อยทิ้งและนำหนอนไปทำลายหรือประกอบอาหาร
ถ้าพบการทำลายไม่เกิน 5% ให้ใช้ แมลงหางหนีบ ปล่อยในอัตรา 500 ตัวต่อไร่ เพื่อทำลายไข่และตัวอ่อนของหนอนกอ หรือใช้ แตนเบียน ไข่ทริโครแกรมม่า ปล่อยในอัตรา 12,000-20,000 ตัวต่อไร่ต่อครั้ง เพื่อควบคุมปริมาณไข่หนอนกอให้น้อยลง โดยปล่อย 5 ครั้ง แต่ละครั้งให้ห่างกัน 7-15 วัน ปล่อยหลังจากตัดอ้อยประมาณ 1 เดือน และในฤดูถัดไปไม่ควรเผาใบอ้อยเพราะจะเป็นการทำลายศัตรูธรรมชาติ เช่น มด ตัวห้ำ ตัวเบียน แมลงหางหนีบ แตนเบียนไข่ และแตนเบียนหนอน.บริเวณผิวดิน และตัวหนอนทั้งหมดจะเข้าไปรูเดียวกัน ทำลายต้นอ้อยอยู่ข้างในลำต้น ทำให้ส่วนยอดเหี่ยวแห้ง อ้อยไม่สามารถเจริญเติบโตได้ ถ้าระบาดมากๆ จะทำให้อ้อยสูญเสียน้ำหนักและความหวาน
ประกอบกับหนอนกออ้อยมีลักษณะอุปนิสัยชอบการเคลื่อนย้าย หลังจากทำลายหน่ออ้อยที่อยู่อาศัยให้ตายไปแล้ว จะย้ายไปทำลายหน่อใหม่ ดังนั้น หนอนกออ้อย 1 ตัว จึงสามารถทำลายอ้อยได้ 3-4 หน่อ หลังจากนั้นก็จะเข้าดักแด้อยู่ภายในลำต้น
นอกจากนั้นหนอนกออ้อยยังสามารถทำลายอ้อยได้ในทุกระยะการเจริญเติบโต ทำลายหน่อเมื่ออ้อยยังเล็กอยู่ ถ้าอ้อยอยู่ในระยะย่างปล้องและระยะเจริญเติบโตเต็มที่ หนอนกออ้อยจะเข้าทำลายตั้งแต่ระยะแตกกอจนถึงอ้อยเป็นลำได้เช่นกัน
สำหรับวิธีการป้องกันกำจัด กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย แนะนำให้เกษตรหมั่นสำรวจแปลงอ้อยอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง โดยเฉพาะเกษตรกรที่ปลูกอ้อย พันธุ์มาร์กอสคิว 130 ให้ระวังเป็นพิเศษเพราะเป็นพันธุ์ที่หนอนกออ้อยชอบมาก ถ้าพบการระบาดให้ตัดอ้อยทิ้งและนำหนอนไปทำลายหรือประกอบอาหาร
ถ้าพบการทำลายไม่เกิน 5% ให้ใช้ แมลงหางหนีบ ปล่อยในอัตรา 500 ตัวต่อไร่ เพื่อทำลายไข่และตัวอ่อนของหนอนกอ หรือใช้ แตนเบียน ไข่ทริโครแกรมม่า ปล่อยในอัตรา 12,000-20,000 ตัวต่อไร่ต่อครั้ง เพื่อควบคุมปริมาณไข่หนอนกอให้น้อยลง โดยปล่อย 5 ครั้ง แต่ละครั้งให้ห่างกัน 7-15 วัน ปล่อยหลังจากตัดอ้อยประมาณ 1 เดือน และในฤดูถัดไปไม่ควรเผาใบอ้อยเพราะจะเป็นการทำลายศัตรูธรรมชาติ เช่น มด ตัวห้ำ ตัวเบียน แมลงหางหนีบ แตนเบียนไข่ และแตนเบียนหนอน.
...