เอสคิว(SQ) มีความสำคัญต่อความสำเร็จในชีวิตอย่างมีความสุข.
ในยุคที่เต็มไปด้วยการแข่งขันและสภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ท่านผู้อ่านเคยสังเกตมั้ยครับว่า พฤติกรรมหรือรูปแบบการใช้ชีวิตของคนเราก็เปลี่ยนตามไปด้วย เปลี่ยนเร็วชนิดที่บางครั้งพอมามองย้อนกลับไปก็อดแปลกใจไม่ได้ สิ่งหนึ่งที่ผมรู้สึกและพบว่ามันเป็นข้อเท็จจริงคือ ที่ผ่านมาผมได้สัมผัสกับคนเก่งและมีความสามารถมากมาย แต่คนเหล่านั้นก็ไม่ได้จะมีความสุขและประสบความสำเร็จในชีวิตอย่างที่คาดหวังไว้ทุกคนไป มีเพียงบางส่วนที่มีความสุขกับชีวิตจริงๆ ขณะที่อีกหลายคนแม้จะเก่งไม่เท่า ความสามารถก็น้อยกว่า แต่กลับมีชีวิตที่มีความสุขมากกว่า ซึ่งผมก็มานึกถึงเหตุผลของความต่างเหล่านั้นหลายครั้ง ก็ยังไม่ได้คำตอบที่ชัดเจน
จนกระทั่งมาวันนี้ ผมจึงรู้ว่า การเป็นคนเก่ง เพราะมี ความฉลาดทางสติปัญญา (Intelligence Quotient : IQ) เป็นเลิศ พร้อมด้วยความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Quotient : EQ) เป็นเพียงส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้เราประสบความสำเร็จ แต่ปัจจัยสำคัญที่จะ ทำให้ประสบความสำเร็จ มีชีวิตอย่างมีความสุข เป็นที่รักของคนรอบข้างนั้น จำเป็นต้องมี “ความฉลาดทางสังคม” (Social Quotient : SQ) เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ ซึ่งเมื่อไม่นานนี้ผมได้ค้นพบบริบทที่คลายข้อสงสัยและทำให้เข้าใจเรื่องนี้กระจ่างขึ้นจากกิจกรรม “ผู้นำตัวน้อย หัวใจยิ่งใหญ่” ซึ่งเป็นแคมป์เพื่อการเสริมสร้างความฉลาดทางสังคมให้กับเด็กรุ่นใหม่ตั้งแต่วัยเด็ก งานนี้ สนับสนุนโดยนมผงตราหมี แอดวานซ์ โพรเท็กซ์ชัน สูตร 3 ของบริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด ซึ่งได้แบ่งกิจกรรมออกเป็นหลายโซน เพื่อฝึกฝนทักษะความฉลาดทางสังคมให้แก่เด็กๆอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย
...

ก่อนอื่นผมขอแนะนำให้ท่านผู้อ่านรู้จักกับปัจจัยสำคัญที่ว่านี้ก่อนนะครับ Social Quotient หรือเรียกสั้นๆว่า เอสคิว (SQ) คือ ความฉลาดทางสังคม เป็นความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของผู้คนและสังคมรอบข้างได้เป็นอย่างดี ใครที่เข้าใจคนรอบข้าง เข้าใจที่มาที่ไปของการเปลี่ยนแปลงรอบตัว ยอมรับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้ และสามารถปรับตัวใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางสิ่งเหล่านี้ได้อย่างมีความสุข ก็ถือว่า มีความฉลาดทางสังคมสูง และในทาง ตรงกันข้าม หากมีเอสคิวน้อยก็จะปรับตัวได้น้อย ไม่รู้ควรทำอะไรเมื่อไหร่ กับใคร อย่างไร หรือรู้สึกว่าตัวเองใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นด้วยความยากลำบากเสียเหลือเกิน
เอสคิว (SQ) เป็นหนึ่งใน Q ที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกว่า มีความสำคัญต่อการประสบความสำเร็จและใช้ชีวิตอย่างมีความสุข เหนือกว่าการมีไอคิว (IQ) และอีคิว (EQ) ที่ดี คงไม่มีพ่อแม่คนไหนที่อยากเห็นลูกเรียนเก่ง อารมณ์ดี แต่ปรับตัวเข้ากับใครไม่ได้ เกิดความคับข้องใจ และไม่มีความสุข ซึ่งแนวคิดนี้สอดคล้องกับข้อมูลของสถาบันเทคโนโลยีคาร์เนกี้ ในการติดตามสถิติของคนที่มีไอคิวดี ที่มีการฝึกอบรมทางด้านสมอง รวมทั้งมีทักษะความสามารถในการทำงานดี พบว่าคุณสมบัติดังกล่าวทำให้คนประสบความสำเร็จเพียง 15% เท่านั้น แต่อีก 85% มาจากปัจจัยด้านบุคลิกภาพ และการปฏิบัติต่อผู้อื่น หรือที่เรียกว่า การพัฒนาทักษะความฉลาดทางสังคมที่ดีนั่นเอง

ซึ่งเรื่องความฉลาดทางสังคมนี้ก็ตรงกันกับ “ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์” (Interpersonal Intelligence) ซึ่งเป็นหนึ่งใน ความฉลาดทางพหุปัญญา (Maltiple Intelligent) ตามทฤษฎีพหุปัญญาของ ฮาวเวิร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) ศาสตราจารย์ทางด้านจิตวิทยาพัฒนาการชาวอเมริกันแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งได้อธิบายไว้ว่า ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์ เป็นความสามารถที่จะสร้างความสัมพันธ์และเข้าใจผู้อื่น มองสิ่งต่างๆด้วยมุมมองของคนอื่นๆรอบตัว เพื่อให้เข้าใจว่าคนอื่นคิดอย่างไรและรู้สึกอย่างไร มีทักษะในการเข้าใจอารมณ์ความรู้สึก แรงบันดาลใจ และแรงกระตุ้นของผู้คน เป็นนักจัดการ แม้บางครั้งอาจจะดูเจ้ากี้เจ้าการไปบ้าง แต่ก็เพื่อให้เกิดความสงบสันติในกลุ่ม และทำให้เกิดความร่วมมือกัน โดยใช้ทั้งภาษาพูด ภาษากาย เช่น การสบตา การโน้มตัว ยิ้ม เพื่อสร้างความสัมพันธ์ให้สื่อสารกันได้ มีทักษะในการฟังและเข้าใจคนอื่น ใช้ความเห็นอกเห็นใจและความเข้าใจถึงอารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่นในการให้คำปรึกษาหรือประสานงานในกลุ่ม สร้างความเชื่อมั่นในกลุ่มได้ดี เป็นนักประสานและแก้ไขความขัดแย้ง ทำให้เกิดบรรยากาศที่ดีในระหว่างผู้คน
...
ที่น่าสนใจก็คือ การเสริมสร้างและพัฒนา เอสคิว หรือทักษะความฉลาดทางสังคมนี้ สามารถพัฒนากันได้ตั้งแต่แรกเกิดเลย ครับ เป็นความฉลาดที่มหัศจรรย์จริงๆ

ท่านผู้อ่านอาจจะมีคำถาม ว่า ทำได้จริงๆเหรอ? แล้วต้องทำอย่างไรล่ะ?
นายแพทย์พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์ กุมารแพทย์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรม คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล ท่านได้พูดถึงการเสริมสร้างเอสคิวว่า “ปัจจุบันแนวคิดในการให้ความสำคัญกับความฉลาดทางสติปัญญา (IQ) อารมณ์ (EQ) ถูกลดทอนลงจากความคาดหวัง ของพ่อแม่ยุคใหม่ไปแล้ว เมื่อมีผลวิจัยล่าสุดที่ระบุว่า กว่า 96% ของพ่อแม่ในยุคนี้หันมาให้ความสำคัญกับการอยู่รอดในสังคมอย่างมีความสุขของลูก มากกว่าการสร้างอัจฉริยภาพทางสติ ปัญญาและอารมณ์ให้กับลูก นั่นหมายความว่า พ่อแม่อยากให้ลูกมีสุขภาพจิตดี มีน้ำใจ ไม่ก้าวร้าว สามารถปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ซึ่งรวมถึงการรู้จักการเอาตัวรอดโดยไม่เอา เปรียบใคร และไม่ถูกใครเอาเปรียบด้วย ทั้งหมดนี้ คือ ความฉลาดทางสังคม หรือเอสคิว (SQ) ซึ่งจะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่สนับสนุนให้ลูกน้อยประสบความสำเร็จและมีชีวิตที่มีความสุข โดยพ่อแม่สามารถพัฒนาทักษะนี้ได้ตั้งแต่ลูกเกิด”
...
ได้ฟังอย่างนี้แล้ว มาดูกันนะครับว่า เราจะเสริมสร้างทักษะความฉลาดทางสังคมให้แก่ลูกน้อยตั้งแต่แรกเกิดได้อย่างไร?
เด็กแรกเกิด-6 เดือน เป็นช่วงที่คุณพ่อคุณแม่จะสามารถฝึกลูกน้อยได้ ด้วยการตอบสนองความต้องการของลูกได้อย่างเหมาะสมและทันที ก็จะทำให้เด็กเกิดความไว้วางใจ
เด็กวัย 6-12 เดือน เด็กช่วงวัยนี้เป็นช่วงที่พยายามแยกแยะตัวเองออกจากพ่อแม่ พยายามแสดงความเป็นตัวของตัวเอง ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถฝึกให้เขารู้จักการรอคอย เช่น อยากได้อะไร ก็ต้องอดทน รอคอยได้ ไม่ต้องตอบสนองทันที
เด็กวัย 1-3 ปี เป็นวัยเตาะแตะ เด็กวัยนี้สามารถรู้จักการปรับตัว สร้างความคุ้นเคยกับคนที่ไม่คุ้นเคย คุณพ่อคุณแม่สามารถฝึกให้ลูกสังเกตเด็กคนอื่นๆ เรียนรู้ความต่างของคนรอบข้าง ทำให้ลูกรู้จักสิทธิ์ในการเล่นของเล่นที่อาจต้องใช้ร่วมกับของคนอื่น ทำให้เด็กรู้จักการแบ่งปัน
วัย 3-5 ปี หรือวัยก่อนวัยเรียน เด็กในช่วงวัยนี้จะพร้อม และรู้จักเล่นร่วมกับเด็กคนอื่นในกิจกรรมเดียวกัน
พูดได้ว่า การเปิดโอกาสให้ลูกได้เรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว ได้คิด และทำกิจกรรมต่างๆอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย เป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาทักษะทางสังคม โดยเฉพาะการเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การใช้เวลาทำกิจกรรมร่วมกัน รวมถึงการแสดงความรักที่จะทำให้ลูกรู้สึกอบอุ่น ซึ่งเป็นพื้นฐานของพัฒนาการทางด้านอารมณ์ที่มั่นคง อันนำไปสู่การพัฒนาด้านสังคม ผ่านการทำกิจกรรมและเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งการเสริมสร้างเอสคิวนี้เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ลูกน้อยสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

...
เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว ท่านผู้อ่านที่เป็นคุณพ่อคุณแม่คงจะรีบหาวิธี หรือกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างเอสคิวของลูกกันตั้งแต่ตอนนี้เลย แต่สิ่งหนึ่งที่เราไม่อาจมองข้าม คือ การมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงของลูกน้อย การเจ็บป่วยอยู่เสมอเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาทักษะความฉลาดทางสังคม นั่นเป็นเพราะการพัฒนาเอสคิว จะเกิดขึ้นและเป็น ไปได้ดี ต่อเมื่อมีการปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นระหว่างพ่อแม่กับลูกน้อย ลูกกับเพื่อนในวัยเดียวกัน รวมถึงคนที่มีวัยต่างกัน
คุณหมอพงษ์ศักดิ์ยังได้ให้คำแนะนำอีกว่า “การเลือกโภชนาการที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย ร่วมด้วยการส่งเสริมให้ลูกมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้เขามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง โดยเฉพาะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ที่มีสารอาหารครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ ซึ่งในกรณีที่ให้นมแม่ไม่ได้ หรือหยุดให้นมแม่แล้ว ก็ยังสามารถเลือกนมให้ลูกดื่มให้เหมาะสมกับวัย การดื่มนมที่มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์อย่างแอล แรมโนซัส (L-RHAMNOSUS) ที่มีผลวิจัยมากที่สุด สายพันธุ์หนึ่ง และได้รับการยอมรับทางการแพทย์ว่า โดดเด่นด้วย 3 พลังการปกป้องในการช่วย ลดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจได้ถึง 37% ช่วยลดการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารลงถึง 60% และช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูกน้อย จะทำให้คุณพ่อคุณแม่มั่นใจที่จะให้เขาออกไปสัมผัสประสบการณ์ในโลกกว้าง เพื่อเรียนรู้การปรับตัวเข้ากับคนรอบข้าง พัฒนาความฉลาดทางสังคม พร้อม สู่การเป็นผู้นำตัวน้อย หัวใจยิ่งใหญ่ได้อีกทางหนึ่ง”
การมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงจะเป็นพื้นฐานที่ดีในการเรียนรู้สิ่งรอบตัวได้อย่างมั่นใจ และเพิ่ม โอกาสในการเข้าสังคมกับเพื่อนๆในวัยเดียวกัน เพื่อพัฒนาทักษะเอสคิว ที่ช่วยให้เด็กๆประสบความสำเร็จและเติบโตขึ้นอย่างมีความสุขในอนาคต พ่อแม่ยุคใหม่จึงต้องรับบทบาทผู้ปกป้องคนสำคัญ เพื่อเสริมความพร้อมสู่สังคมรอบด้าน สร้างประสบการณ์สู่ความสำเร็จให้ลูกรัก เติบโตไปเป็นผู้นำตัวน้อย หัวใจยิ่งใหญ่ ด้วยเอสคิว.
โดย : ปฏิภาณ
ทีมงานนิตยสาร ต่วย'ตูน