องค์พระธาตุหริภุญชัย.

พระธาตุ...มีนัยเป็น 2 ความหมาย...คือ พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า กับสถานที่หรือ พระเจดีย์ที่ประดิษฐานพระบรมธาตุ...

พระธาตุ...แต่ละแห่งนั้นจะแฝงไว้ด้วยพลังแห่งความศักดิ์สิทธิ์ โดยมีตำนานเล่ามูลเหตุที่สร้างและมีความสัมพันธ์ เชื่อมโยงกับการเสด็จโปรดสัตว์ของพระพุทธเจ้า ซึ่งต่อมา สถานที่นั้นๆก็จะกลายเป็นเมืองสำคัญ ที่ต้องบันทึกไว้ภายใต้จิตศรัทธา...

ตำราโหราศาสตร์ของล้านนา...ได้สืบสานความเชื่อว่า คนเราที่เกิดมาในโลกเมื่อสิ้นอายุขัยแล้ว ดวงวิญญาณจะกลับไปสถิตอยู่ตามพระธาตุเจดีย์ ประจำปีเกิด โดยกำหนดตามศาสตร์ว่า...

...ประจำปีชวดคือ พระธาตุจอมทอง ปีฉลูพระธาตุลำปางหลวง ปีขาล พระธาตุช่อแฮ ปีเถาะพระธาตุแช่แห้ง ปีมะโรง พระธาตุวัดพระสิงห์ มะเส็งพระธาตุพุทธคยา มะเมีย พระธาตุชเวดากอง มะแมพระธาตุดอยสุเทพ วอก พระธาตุพนม ปีระกาพระธาตุหริภุญชัย จอ พระธาตุเกตุแก้วฯและ ท้ายสุดปีกุนคือ พระธาตุดอยตุง...

พระธาตุหริภุญชัย เป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมืองลำพูน ปัจจุบันอยู่ในวัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร จังหวัดลำพูน พระเจดีย์ธาตุองค์นี้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ โดยมีเรื่องเล่ากันสืบมาเป็นตำนานว่า...ครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จฯมาประทับสถานที่แห่งนี้ ทรงพุทธพยากรณ์ว่าในอนาคตจะเป็นนครหริภุญชัย โดยมี “พระสุวรรณเจดีย์” ประดิษฐานกระหม่อมธาตุ เป็นมิ่งขวัญ...

พระยาชมพูนาคราช กับ พระยากาเผือก จึงทูลขอพระเกศาธาตุและโกศแก้วใหญ่บรรจุไว้ในถ้ำใต้ที่ประทับ ราวๆปี 1420 ก็ปรากฏตามพุทธทำนายด้วย พระเจ้าอาทิตยราช ผู้ครองนครหริภุญชัยทรงให้รื้อวังถวายให้เป็นเขตพุทธาวาส ขุดหาพระบรมธาตุแล้วบรรจุโกศทองคำนำประดิษฐานไว้ในองค์พระธาตุหริภุญชัย....

...

กาลต่อมา...พระนางเจ้าจามเทวีจากเมืองละโว้มาครองเมืองหริภุญชัย ซึ่งมีความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระธาตุหริภุญชัยเป็นยิ่ง เมื่ออัญเชิญพระเสตังคมณี มาประดิษฐานคู่บ้านคู่เมือง ก็นำมาประดิษฐานใน เขตพุทธาวาสพระธาตุหริภุญชัย

และต่อมา...พระพุทธรูปองค์นี้ได้กลายเป็นต้นแบบในการสร้างพระรอดหริภุญชัย ซึ่งได้มอบหมายให้พระมหาฤาษี 5 ตน จัดหาวัตถุมงคลโดยเอาดินจากสะดือเมืองกับว่านมงคล 108 และมวลสารศักดิ์สิทธิ์หลายหลากมารวบรวม ให้มีอิทธิพลังเป็นพระมหามงคลคู่แผ่นดิน ปกป้องรักษาเป็นนิรันตราย

และ...เป็นมหามงคลคุ้มครองแคล้วคลาดให้...พระรอดอยู่คู่กับพระธาตุหริภุญชัย...

องค์พระธาตุหริภุญชัยมีอายุเข้าสู่กาลนาน องค์ประกอบถึงกาลแห่งอายุขัยสู่การชำรุดทรุดโทรมลงเรื่อยๆ ล่วงถึงสมัยของ พญาสรรพสิทธิ์กษัตริย์แห่งราชวงศ์จามเทวี ก็ได้โปรดให้ปฏิสังขรณ์ เมื่อ สมัยพญามังราย ก็โปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์...

ถึงปี 2551...คือยุคปัจจุบันได้มีการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ คณะกรรมการฯมีฉันทานุมัติให้เปลี่ยนปลียอดฉัตรกับใบฉัตรใหม่เป็นทองคำ 96.5% แทนของเก่าที่ชำรุดตามกาลเวลา

โดย...ของเดิมนั้นมอบหมายให้ พระราชปัญญาโมลี เจ้าอาวาสวัดพระธาตุหริภุญชัยและเจ้าคณะจังหวัดลำพูน เป็นผู้เก็บรักษา (...ปลียอดฉัตรของเดิมสร้างในสมัยพระเจ้าอาทิตยราชเป็นทองคำมีอายุเกือบพันปี ในการบูรณะครั้งนี้ได้นำบางชิ้นส่วนไปเป็นส่วนผสมกับชุดใหม่เพื่อสืบสานความเข้มขลัง...)

ถึงปีนี้ (2558)...เป็นวาระพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระชนมายุ 88 พรรษา และในช่วงของการ ฉลองกฐินพระราชทาน ประจำปี (22 พฤศจิกายน) ถือเป็นมงคลซ้อนมหามงคลคณะกรรมการฯ จึงถือเป็นสำคัญยิ่ง จัดสร้างของ ที่ ระลึกอันเป็นสิริมงคลที่ต้องประทับไว้ในแผ่นดิน...

แล้วมติก็มาลงตัวเป็นเอกฉันท์คือสร้างเป็นพระรอดหริภุญชัย โดยเอา ทองคำจากปลียอดฉัตรกับใบฉัตรพระธาตุหริภุญชัยที่สร้างในสมัยพระเจ้าอาทิตยราชเป็นมวลสารหลัก โดยมีมวลสาร 4 เนื้อคือ ทองคำ เงิน นวโลหะ และทองจังโก

พระราชปัญญาโมลี นำคณะกรรมการเข้ากราบขอเมตตาพระมหาเถรานุเถระสมเด็จพระราชาคณะ 3 พระองค์มี สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำฯ สมเด็จพระวันรัตน์ วัดบวรนิเวศน์ฯ สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ วัดสัมพันธวงศ์ เจิมอธิษฐานสรงน้ำปลียอดฉัตรทองคำ ก่อนนำมาเป็นมวลสารมงคล

...

พร้อมกันนี้...ได้แต่งตั้ง อาจารย์ลักษณ์ เรขานิเทศ โหรแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นประธานทอดกฐินพระราชทาน ณ วัดพระธาตุหริภุญชัยปีนี้ เป็นกรรมการรวบรวมมวลสาร ซึ่งได้เอาฉนวนทองคำจากการเจิมของสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ วัดราชบพิตร สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดเทพศิรินทร์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์วัดสุทัศน์ สมเด็จพระพุฒาจารย์วัดไตรมิตรฯ ร่วมหลอมเป็นมวลสาร...

ในการนี้ได้พ่วงด้วยการสร้างพระรอดเนื้อผง ซึ่งใช้มวลสารจากตำหรับเดิมที่สร้างขึ้นในรุ่นแรก โดย เสริมมวลสารมงคลเพื่อเพิ่มความเข้มขลัง ด้วยผงว่านมหามงคลกับผงไม้มงคลต่างๆ ราวๆ 300 รายการ และก็ประเดิมกดพิมพ์ในวันเดียวกันกับที่เททอง คือ วิสาขบูชาแห่งปี 2558...คือ 1 มิถุนายน...

...

นำเข้าพิธี พุทธาเทวามังคลาภิเษก แบบข้ามวันข้ามคืนระหว่าง 27 กับ 28 กรกฎาคม โดยพระสงฆ์ในระดับราชาคณะและเกจิอาจารย์จากทั่วทุกภาค และเสริมพิธีกรรมให้ครบถ้วนด้วยพราหมณ์หลวงจากสำนักพระราชวัง โดยจะเปิดตัว...จ่ายแจกเป็นที่ระลึกเริ่ม 22 พฤศจิกายน...

....อันเป็นกาลฉลองกฐินพระราชทานประจำปี 2558...!!!

ก้อง กังฟู