ภายหลังจากการจัดแสดงอย่างเป็นทางการครั้งแรกในประเทศไทยที่งานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 36 ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา BMW Group Thailand ได้รับเกียรติจาก ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะทำงาน ร่วมทดสอบรถยนต์ BMW i3 เมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อสัมผัสสมรรถนะยานยนต์ระบบไฟฟ้าสมบูรณ์แบบพร้อมเข้าเยี่ยมชมประสิทธิภาพด้านยนตรกรรมการผลิตของโรงงาน BMW Group Manufacturing Thailand ที่จังหวัดระยอง ซึ่งสอดคล้องกับความสนใจของรัฐบาลไทยที่กำลังวางแผนหามาตรการรองรับและสนับสนุน

BMW i3 ทดสอบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบในไทย
BMW i3 ทดสอบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบในไทย

...

BMW i3 ทดสอบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบในไทย
BMW i3 ทดสอบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบในไทย
BMW i3 ทดสอบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบในไทย

การลงทุนสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์ระบบปลั๊กอินไฮบริดรวมถึงสถานีบริการ ชาร์จไฟฟ้า โดยได้มีการเริ่มต้นพิจารณาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการจำหน่ายหรือการตั้งสถานีบริการน้ำมันให้สามารถจัดตั้งเป็นสถานีบริการที่ชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อเปิดโอกาสให้บริษัทเอกชนได้เข้ามาลงทุนต่อไปการทดสอบรถยนต์ BMW i3 ในครั้งนี้ เริ่มต้นจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถนนพระรามที่ 6 จนถึงพัทยาในระยะที่หนึ่งและจากพัทยาถึงโรงงานของ BMW Group Manufacturing Thailand จังหวัดระยอง ในระยะที่สอง รวมเป็นระยะทางทั้งสิ้น 193 กิโลเมตร จากนั้นได้เข้าเยี่ยมชมโรงงานของ BMW Group Manufacturing Thailand ซึ่งเป็นโรงงานแห่งแรกและแห่งเดียวในโลกของ BMW Group ที่สามารถผลิตยนตรกรรมหรูทั้ง 3 แบรนด์ ได้แก่ BMW / MINI / BMW Motorrad โดยมีคณะผู้บริหารจาก BMW Group Thailand และ BMW Group Manufacturing Thailand ให้การต้อนรับและร่วมประชุมหารือถึงแนวทางการพัฒนาศักยภาพในด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ด้านยานยนต์

BMW i3 ทดสอบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบในไทย
BMW i3 ทดสอบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบในไทย

...

BMW i3 ทดสอบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบในไทย
BMW i3 ทดสอบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบในไทย

BMW i3 เป็นนวัตกรรมยานยนต์ขับเคลื่อนด้วยระบบพลังงานไฟฟ้าที่มีความล้ำสมัยในด้านเทคโนโลยีที่สุดในโลกเป็นรถยนต์โดยสารคันแรกที่ผลิตจากเส้นใยพลาสติกเสริมคาร์บอน (CFRP) ซึ่งมีน้ำหนักที่เบากว่าเหล็ก 50 เปอร์เซ็นต์ และเบากว่าอะลูมิเนียมประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ แต่ยังคงแข็งแกร่งในระดับเดียวกันหรือดีกว่า ส่งผลให้ยานยนต์ระบบไฟฟ้าของ BMW มีน้ำหนักเบาเพียง 1,315 กิโลกรัม สมรรถนะ เร่งความเร็วจาก 0-100 กม./ชม. ได้ภายในเวลาเพียง 7.9 วินาที ด้วยกำลัง 170 แรงม้า พร้อมเทคโนโลยี BMW eDrive สามารถทำความเร็วสูงสุดที่ 150 กม./ชม.นอกจากนี้ BMW i3 ยังเป็นยานยนต์ระบบไฟฟ้าคันแรกของโลกที่มาพร้อมแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน 22 กิโลวัตต์ ระบบไฟฟ้าสามารถขับเคลื่อนได้ไกลถึง 130-160 กิโลเมตรในชีวิตประจำวัน และสามารถเพิ่มระยะขับเคลื่อน จากเครื่องยนต์เบนซิน 2 สูบ ขนาด 650 ซีซี ซึ่งมอบกำลัง 25 กิโลวัตต์/34 แรงม้า โดยเครื่องยนต์ดังกล่าวจะผลิตพลังงานไฟฟ้าเพื่อเพิ่มระยะขับเคลื่อนสูงสุดได้ถึง 300 กิโลเมตร

...

BMW i3 ทดสอบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบในไทย
BMW i3 ทดสอบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบในไทย
BMW i3 ทดสอบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบในไทย

...

รถยนต์พลังงานไฟฟ้า เริ่มได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้นทุกขณะ จากคุณประโยชน์ที่เหนือกว่ารถยนต์ทั่วไป ที่ใช้เครื่องยนต์และเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อน ซึ่งมีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและการปล่อยมลภาวะสูงกว่า เมื่อเชื้อเพลิงมีราคาพุ่งทะยานขึ้นอย่างต่อเนื่อง สภาวะของมลพิษที่ปกคลุมเมืองใหญ่ทั่วโลก ค่ายรถของเยอรมัน เจ้าของตราสัญลักษณ์ใบพัดสีฟ้า-ขาว BMW Group ได้ทำการค้นคว้าวิจัยรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ควบคู่ไปกับการพัฒนาปรับปรุงพลังงานจากมอเตอร์ ระบบชาร์จไฟ วัสดุน้ำหนักเบา และระบบ ActiveHybrid จนได้รถยนต์พลังงานสะอาดรุ่นใหม่ล่าสุด ที่เพิ่งจะเปิดตัวไปเมื่อช่วงปลายปี ค.ศ. 2013 โดยวางรากฐานของรถยนต์ในตระกูลนี้ ด้วยการใช้อักษร i นำหน้ารุ่น ส่งผลให้ค่ายรถจากแดนไส้กรอกเจ้านี้ มีผลิตภัณฑ์ยานยนต์ที่ก้าวไกล และครอบคลุมการใช้งานหลากหลายรูปแบบ หนึ่งในรถรุ่นดังกล่าว คือ BMW i3 e-DRIVE ยานยนต์คนเมืองยุคใหม่แห่งอนาคต

BMW i3 ทดสอบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบในไทย
BMW i3 ทดสอบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบในไทย
BMW i3 ทดสอบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบในไทย

น้ำหนักของตัวรถ คือ สิ่งที่บั่นทอนประสิทธิภาพของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าทุกคัน วิศวกรของ BMW พยายามลดทอนน้ำหนักส่วนเกินของ BMW i3 ด้วยการคัดเลือกวัสดุน้ำหนักเบามาประกอบขึ้นเป็นแชสซีส์และเปลือกตัวถัง โดยยังคงคำนึงถึงความแข็งแกร่งในการใช้งาน รองรับและปกป้องผู้โดยสารด้วยระบบความปลอดภัยขั้นสูง โครงสร้างหลักของ BMW i3 ในส่วนของแชสซีส์และโครงสร้างหลักของห้องโดยสาร ผลิตด้วยอะลูมิเนียมทรงกล่อง เป็นโครงสร้างที่เรียบง่ายและไม่มีความสลับซับซ้อน สำหรับการลดระยะเวลาการประกอบในขั้นตอนของสายการผลิต แชสซีส์ของ i3 ทนทานต่อแรงบิด รวมถึงกระจายแรงหากเกิดอุบัติเหตุ

BMW i3 ทดสอบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบในไทย
BMW i3 ทดสอบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบในไทย
BMW i3 ทดสอบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบในไทย

ในส่วนของห้องโดยสาร นักออกแบบของ BMW ใช้วัสดุที่มีความก้าวไกลด้านเทคโนโลยีวัสดุใหม่ของรถยนต์ วัสดุใหม่ดังกล่าว คือ CFRP หรือ Carbon Fibre-Reinforced Plastic มันคือ เปลือกตัวถังของรถแข่ง F1 ที่มีน้ำหนักเบาแต่มีความแข็งแรงสูง รองรับที่นั่งในรถแบบ 2+2 เนื่องจากคุณสมบัติของ Carbon Fibre-Reinforced Plastic สามารถรับและกระจายแรงไม่แตกต่างจากโครงสร้างที่ใช้โลหะ ในขั้นตอนของการวิจัยและพัฒนาโครงสร้างอย่างเข้มข้น ทำให้รถ i3 มีน้ำหนักรวมที่ 1,390 กิโลกรัม ซึ่งถือว่าเบามากในกลุ่มรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า แชสซีส์อัลลอยออกแบบให้ท่อนส่วนกลางลำตัวเป็นรูปอุโมงค์ เพื่อการวางแบตเตอรี่ ตำแหน่งของการวางยังผ่านการคำนวณค่าเพื่อตัวเลขในการกระจายน้ำหนักที่ดี ซึ่งจะส่งผลไปถึงการขับขี่ควบคุม นอกจากนั้น จุดศูนย์ถ่วงและฐานล้อรวมถึงระดับความสูงของตัวรถ ยังผ่านการทดสอบเพื่อลดค่าศูนย์ถ่วงลงให้ต่ำมากที่สุดตัวเลขการกระจายน้ำหนักหน้า-หลังที่ 50:50 ทำให้ i3 มีความเสถียรในทุกย่านความเร็ว

BMW i3 ทดสอบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบในไทย
BMW i3 ทดสอบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบในไทย
BMW i3 ทดสอบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบในไทย
BMW i3 ทดสอบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบในไทย
BMW i3 ทดสอบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบในไทย

ห้องโดยสารเน้นไปที่รูปแบบอันทันสมัย เพื่อเอาใจกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่นิยมรถยนต์พลังงานไฟฟ้า อุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงรูปแบบของโทนสีภายใน วัสดุที่ถูกคัดเลือกมาใช้กับตำแหน่งของการติดตั้งยังคงสื่อให้เห็นถึงสายพันธ์ุยานยนต์จาก BMW ห้องโดยสารแบบ 4 ที่นั่ง พร้อมกับพื้นที่เก็บสัมภาระส่วนท้าย มันมีงานออกแบบการเปิดประตูแบบตู้กับข้าว เพื่ออำนวยความสะดวกในการขึ้น-ลง ประตูแบบดังกล่าว ยังสร้างความรู้สึกที่โปร่ง โล่ง และทันสมัย มาตรวัดหน้าปัดทั้งหมดใช้จอภาพ LCD เน้นไปที่ความคมชัดและความง่ายในการใช้งาน

BMW i3 ทดสอบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบในไทย
BMW i3 ทดสอบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบในไทย
BMW i3 ทดสอบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบในไทย
BMW i3 ทดสอบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบในไทย
BMW i3 ทดสอบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบในไทย

จอมัลติฟังก์ชั่นในส่วนคอนโซลกลาง ใช้ในการแสดงผลระบบ i-DRIVE ผ่านแป้นควบคุมอันเป็นเอกลักษณ์ของ BMW ยุคใหม่ พวงมาลัยสามก้านหุ้มหนังแท้ ส่วนเบาะโดยสารมีให้เลือกทั้งแบบหุ้มหนังหรือผ้า คอนโซลยังมีงานไม้คาดในตำแหน่งของผู้โดยสารด้านข้างคนขับ คอนโซลผลิตจากโฟมขึ้นรูปหุ้มด้วยไวนิล วิศวกร และนักออกแบบของ BMW ทำการติดตั้งก้านสวิตช์ควบคุมการขับขี่ โดยสามารถปรับระบบการขับเคลื่อนผ่านก้านสวิตช์ ที่อยู่บริเวณด้านขวาของคอพวงมาลัย คล้ายกับการทำงานของก้านเกียร์อัตโนมัติ โดยมีตำแหน่งขับเคลื่อน D/P/N/R เรืองแสงสีแดงและสีเขียวในตำแหน่งที่กำลังถูกใช้งาน เพื่อทำให้ง่ายต่อการมอง รวมถึงความเรียบร้อยสวยงามรายละเอียดของชิ้นงานต่างๆ มีความประณีตสูง ตามสไตล์ของยานยนต์จากแดนไส้กรอกที่เน้นมาตรฐานของการผลิต

BMW i3 ทดสอบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบในไทย
BMW i3 ทดสอบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบในไทย
BMW i3 ทดสอบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบในไทย
BMW i3 ทดสอบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบในไทย
BMW i3 ทดสอบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบในไทย

มาตรวัดตรงหน้าคนขับ ใช้จอ LCD ขนาด 6.5 นิ้ว ที่ให้ความสว่างและความคมชัดสูง ส่วนจอของระบบ i-DRIVE ซึ่งควบคุมอุปกรณ์และระบบต่างๆ วางตำแหน่งไว้ที่กลางคอนโซลด้านบน เป็นจอ LCD ขนาด 8.8 นิ้ว ที่ออกแบบใหม่หมด แต่ยังคงคล้ายกับจอในรถรุ่น 3-Series f30 กึ่งกลางของเบาะคู่หน้า เป็นที่อยู่ของปุ่มสวิตช์ ควบคุมระบบ i-DRIVE รวมถึงสวิตช์ เลือกโหมดของการขับเคลื่อน แผงประตูและวัสดุที่ใช้ห่อหุ้มหลังคาเป็นผ้าสีเทาส่วนเบาะทั้งหมดเป็นแบบผ้าและหนัง ที่ใช้โทนสีเชื่อมโยงกับแผงคอนโซลและแผงประตูเพื่อความกลมกลืน โครงสร้างหลักของเบาะทำจากพลาสติกแทนที่โลหะแบบเก่าที่มีน้ำหนักมากกว่า ส่วนวัสดุที่ใช้ห่อหุ้มเบาะมีทั้งหนังแท้สีน้ำตาลอ่อนกับผ้าเนื้อดีสีเทา นักออกแบบของ BMW ต้องการที่จะทำให้ห้องโดยสารของ i3 มีความโปร่งโล่ง จึงใช้โทนสีอ่อนที่เข้ากับรูปแบบของตัวรถ สำหรับกระจกบังลมรอบๆ ห้องโดยสาร ยังมีส่วนในการสร้างความรู้สึกปลอดโปร่ง ด้วยการออกแบบให้มีบานกระจกทรงแปลกตา ฝาท้ายกับกระจกบังลมบานหลังแทบจะเป็นชิ้นงานเดียวกัน มันเกิดขึ้นจากความจงใจที่จะทำให้ i3 มีมุมมองที่สื่อให้เห็นถึงความล้ำสมัย

BMW i3 ทดสอบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบในไทย
BMW i3 ทดสอบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบในไทย
BMW i3 ทดสอบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบในไทย
BMW i3 ทดสอบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบในไทย

BMW i3 e-DRIVE ขับเคลื่อนด้วยพลังงานในรูปกระแสไฟจากแบตเตอรี่ ที่ส่งไปป้อนมอเตอร์ไฟฟ้า โดยทำการวางมอเตอร์ขับเคลื่อนไว้ที่ด้านหลัง สำหรับล้อขับเคลื่อนคู่หลัง แตกต่างจาก BMW i8 ที่ใช้มอเตอร์ขับเคลื่อนล้อคู่หน้า และใช้เครื่องยนต์ 3 สูบ วางกลาง ขับเคลื่อนล้อหลัง สำหรับมอเตอร์ไฟฟ้าของ i3 e-DRIVE นั้น สามารถสร้างกำลังได้สูงสุดถึง 125 กิโลวัตต์ หรือ 170 แรงม้า กับแรงบิดที่เพียงพอต่อการขับขี่ ทั้งในและนอกเมืองที่ 250 นิวตันเมตร แรงบิดสูงสุดทะลักออกมาให้ใช้ตั้งแต่การออกตัว ทำให้ i3 มีความกระฉับกระเฉง คล่องแคล่วว่องไวเมื่อขับในเมือง พลังงานจากแบตเตอรี่ในรูปของกระแสไฟฟ้าแรงดันสูง มีความเหนือชั้นในด้านของแรงบิด

ทั้งนี้ แรงบิดสูงสุดของรถยนต์แบบ Hybrid ยังคงต้องอิงกับแรงบิดสูงสุดของเครื่องยนต์เป็นหลัก แตกต่างจากรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าล้วนๆ แบบ i3 ที่แรงบิดสูงสุดมีให้ใช้ตั้งแต่การเริ่มต้นวิ่งออกตัวจากจุดหยุดนิ่ง อัตราเร่งจาก 0-100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงทำได้ 7.3 วินาที ส่วนความเร็วปลายไหลไปได้ถึง 150 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความเร็วสูงสุดของมันถูกล็อกไว้แค่ 150 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เนื่องจากเป็นยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ไม่จำเป็นต้องเร็วจี๋ระดับ 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งจะทำให้เกิดการสิ้นเปลืองกระแสไฟจากแบตเตอรี่โดยใช่เหตุ

BMW i3 ทดสอบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบในไทย
BMW i3 ทดสอบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบในไทย
BMW i3 ทดสอบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบในไทย
BMW i3 ทดสอบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบในไทย

แบตเตอรี่ใน BMW i3 e-DRIVE เป็นแบบลิเทียม-ไอออน 8 โมดูล 96 เซลล์ (แต่ละโมดูลมี 12 เซลล์) สามารถปล่อยแรงเคลื่อนไฟฟ้าในระดับ 360 โวลต์ จ่ายพลังงานไฟได้ 22 กิโลวัตต์ แบตเตอรี่ทั้งชุดเมื่อทำงานจะมีความร้อนแพร่ออกมา และทำให้อุณหภูมิของห้องเก็บแบตฯ สูงเกินความจำเป็น วิศวกรของ BMW จึงทำการติดตั้งอุปกรณ์หล่อเย็นเพื่อลดอุณหภูมิของแบตฯ ขณะทำงาน โดยอุณหภูมิแบตเตอรี่แบบลิเทียม-ไอออน จะสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ที่อุณหภูมิประมาณ 20 องศาเซลเซียส แบตฯ แบบลิเทียม-ไอออนของ i3 มีระยะเวลาในการชาร์จกระแสไฟ 6 ชั่วโมง ในการเสียบชาร์จจากไฟบ้าน หากต้องการชาร์จเร็วในสถานีชาร์จไฟ (ที่มีอยู่ทั่วไปในยุโรป ตามเมืองใหญ่ๆ) จะใช้เวลาในการชาร์จประมาณ 2.5 ชั่วโมง ส่วนอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ลิเทียม-ไอออน มีอายุเฉลี่ย 8 ปี หรือ 100,000 กิโลเมตร ซึ่งเป็นระยะเวลาในการรับประกันชุดแบตฯ ตามมาตรฐานของค่าย BMW Group

BMW i3 ทดสอบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบในไทย
BMW i3 ทดสอบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบในไทย
BMW i3 ทดสอบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบในไทย
BMW i3 ทดสอบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบในไทย

เครื่องยนต์ขนาดเล็กของ BMW i3 ไม่ได้มีไว้เพื่อขับเคลื่อนตัวรถแต่อย่างใดทั้งสิ้น เครื่องยนต์ของมันรับหน้าที่ในการปั่นกระแสไฟฟ้าประจุกลับไปเก็บในแบตเตอรี่สถานเดียวเท่านั้น เมื่อระบบฯ ตรวจพบว่า แบตฯ เริ่มมีกำลังไฟเหลือน้อย มันจะสั่งงานไปยังเครื่องยนต์ให้ติดตัวเองแบบอัตโนมัติทันที เครื่องยนต์สุดแหวกแนวของ BMW i3 เป็นเครื่องยนต์ตัวเล็กราวกับเครื่องรถตัดหญ้า มีปริมาตรความจุ 647 ซีซี มันเล็กพอๆ กับเครื่องยนต์ของมอเตอร์ไซค์ เป็นเครื่องแบบ 2 สูบ แถวเรียง เชื้อเพลิงเบนซิน สร้างเรี่ยวแรงได้ 34 แรงม้า สำหรับการรับหน้าที่ปั่นกระแสไฟฟ้าไปยังแบตเตอรี่

แรงบิดสูงสุดของเจ้าจิ๋ว 2 กระบอกสูบตัวนี้ อยู่ที่ 55 นิวตันเมตร ที่ 4300 รอบต่อนาที ส่วนถังเชื้อเพลิงของ i3 มีปริมาตรความจุเพียงแค่ 9 ลิตร สำหรับโหมดการขับเคลื่อนแบบประหยัด BMW 3 e-DRIVE ไปได้ไกลถึง 340 กิโลเมตร โดยที่เครื่องยนต์จะติดตัวเองในช่วงท้ายๆ ก่อนถึงจุดหมายปลายทาง ขึ้นอยู่กับการใช้คันเร่งของผู้ขับขี่เป็นหลัก เพื่อรองรับระยะทางการวิ่งทางไกลแบบจิบเชื้อเพลิงในช่วงท้ายๆ สำหรับการปั่นไฟไปเก็บยังแบตเตอรี่ โดยมีอัตราสิ้นเปลืองแค่ 0.6 ลิตรต่อระยะทาง 100 กิโลเมตร หรือ 166.67 กิโลเมตรต่อลิตร!!! เครื่องยนต์ขนาด 2 กระบอกสูบตัวนี้ ยังปล่อย CO2 เพียงแค่ 13 กรัม ต่อระยะทาง 1 กิโลเมตรเมื่อมันทำงาน ส่วนการวิ่งด้วยมอเตอร์เพียวๆ ค่ามลพิษของ BMW i3 จะเท่ากับศูนย์.

อาคม รวมสุวรรณ
E-Mail chang.arcom@thairath.co.th
Facebook https://www.facebook.com/chang.arcom