วงเสวนาคณะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ไอร์แลนด์ แนะ ไทยแก้ขัดแย้งการเมืองด้วยการเจรจา ระบุต้องมีเจรจาลับบางเรื่อง ก่อนที่จะออกเป็นข้อตกลงเปิดเผยต่อสาธารณะทั้ง 2 ฝ่าย ต้องมีความมุ่งมั่นจริงใจแก้ปัญหาเป็นจุดเริ่มต้น
วันที่ 26 ส.ค. ที่สถาบันพระปกเกล้าฯ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ไอร์แลนด์ นำโดย นายเลน ไวน์ ผู้อำนวยการโครงการระหว่างประเทศ ศูนย์เกลนครีเพื่อสันติภาพและความสมานฉันท์ พร้อมด้วย นายโทมัส คิส อดีตรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศแห่งสาธารณรัฐไอร์แลนด์ จากพรรค Fianna Faill นายอเล็กซ์ มาสกีย์ ประธานกรรมาธิการพัฒนาสังคมประจำสภาไอร์แลนด์เหนือ นายคริสโตเฟอร์ แม็กจิมซี สมาชิกสภาที่ปรึกษาแห่งเมืองเบลฟาสต์ นายแซมมี ดักลาส สมาชิกสภาไอร์แลนด์เหนือ (เบลฟาสต์ตะวันออก) พรรค DUP และนายไมเคิล คับเบิร์ด โฆษกองค์กร cloister ซึ่งทำงานกับกลุ่มอดีตนักโทษการเมือง เดินทางมาบรรยาย แลกเปลี่ยนประสบการณ์การสร้างกระบวนการสันติภาพ
นายโทมัส กล่าวว่า การสร้างขบวนการสันติภาพ จำเป็นต้องมีผู้นำที่มีความน่าเชื่อถือ มีความมุ่งมั่นและกล้าหาญ เป็นคนที่คนอื่นเชื่อใจ จะนำไปสู่กระบวนการสันติภาพ บางครั้งเราจะต้องยอมรับความคลุมเครือที่สร้างสรรค์ จะทำให้กระบวนการนี้ เดินหน้าไปได้ และประเด็นต่างๆ เพื่อก้าวข้ามปัญหาไป เช่น กรอบเวลาว่าจะวางอาวุธ ซึ่งอาจจะคลุมเครือ แต่ก็ต้องยอม บางครั้งยากมาก สำหรับจะวางเงื่อนไข ด้านอังกฤษบอกว่าจะไม่มีความเห็นแก่ตัวในไอร์แลนด์เหนือ ทุกฝ่ายต้องไม่มี ส่วน รธน.ต้องให้ความสำคัญกับกลุ่มเห็นต่าง เพราะฉะนั้น ต้องใช้วิธีการฉันทามติ เป็น สำหรับไอร์แลนด์ มีการพูดถึงการหยุดยั้งความรุนแรงอย่างถาวรและเป็นที่มาของข้อตกลงหยุดยิง ข้อตกลง Good Friday ได้รับความยอมรับสาธารณชนทางตอนใต้ 94.4% และทางตอนเหนือ 70.1% และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง รธน. และองค์ประกอบสำคัญ คือ การพูดคุยในทางลับ ก่อนการออกแถลงการณ์ทางการ และที่สำคัญคือ ตนคิดว่าถ้าทำให้เป็นเรื่องของนานาชาติ จะได้รับการสนับสนุนด้วย
...
นายคริสโตเฟอร์ กล่าวว่า ความจำเป็นของกระบวนการสันติภาพ คือ กระตุ้นกระบวนการทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้น นักการเมืองต้องเข้ามาจัดการข้อขัดแย้งอย่างมีประสิทธิภาพและไม่ติดกับ หรือละเลยคิดว่า กระบวนการนี้เสร็จสิ้นแล้ว
นายอเล็กซ์ กล่าวว่า กระบวนการสันติภาพบางครั้ง จำเป็นต้องเก็บข้อมูลบางอย่างเป็นความลับ เราไม่ต้องการพูดโกหกหรือจริง แต่ควรเอาข้อมูลทั้งหมดออกสู่สาธารณะสร้างความไว้วางใจ เชื่อใจต่อสาธารณะ และอัตลักษณ์ของคนไอริช คือ ต้องยอมรับสิ่งที่อีกฝ่ายเป็นอย่างมีศักดิ์ศรี
สำหรับการแก้ไขปัญหาในประเทศไทยนั้น นายอเล็ก กล่าวว่า คนไทยต้องมีความหวังจากความรู้ที่ว่า เมื่อไรก็ตามมีข้อแย้งก็ต้องมีข้อตกลงกัน ส่วนการทำข้อตกลงเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ต้องมุ่งมั่นแก้ไขความขัดแย้ง เป็นจุดเริ่มต้นที่คนไทยและผู้นำไทยตกลงกัน และเจรจาให้ได้