ข้าวกล้องงอก...ปัจจุบันเป็นที่นิยมแก่นักเปิบทั้งหลาย ด้วยมี คุณค่าทางโภชนาการสูง

นักวิชาการจึงทำการศึกษา วิจัยและพัฒนากระบวนการงอกของเมล็ดข้าว เพื่อเพิ่มมูลค่าในตลาดอุตสาหกรรมผลิตข้าวไทย

รศ.ดร.ธีรวรรณ บุญญวรรณ แห่งศูนย์วิจัยฟิสิกส์พลาสมาและลำอนุภาค พร้อมทีมวิจัย Rice Chemisitry Research Lab ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ทำการศึกษาการประยุกต์พลาสมาบริเวณจมูกข้าว (rice germ) เพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการของข้าวกล้องงอก

ซึ่งใช้วัตถุดิบจาก...ข้าวพันธุ์ไรซ์เบอรี่ (พันธุ์ข้าวเจ้าสีดำ) กับ ข้าวหอมพิษณุโลก 1 (พันธุ์ข้าวเจ้าขาว) โดยเข้าสู่ กระบวนการพลาสมาก๊าซผสมอาร์กอนและออกซิเจน ราว 5 ถึง 8 วินาที แล้วนำเมล็ดข้าวไปทำการงอก และตรวจสอบในช่วงคาบเวลาที่ต่างกันคือ 48 ชั่วโมง 72 ชั่วโมงและ 96 ชั่วโมง

ผลจากการวิจัยและทดลอง...พบว่าเมล็ดที่ผ่านการประยุกต์พลาสมามีอัตราการงอกดี ส่วน รากและลำต้นยาวกว่ากลุ่มที่ไม่มีการควบคุม ประยุกต์พลาสมา นอกจากนี้ยังส่งผลให้ คุณค่าทางโภชนาการของข้าวกล้องงอกเพิ่มขึ้น อีกด้วย

โดยในช่วงงอก 96 ชั่วโมง ข้าวไรซ์เบอรี่มีปริมาณ GABA สูงกว่า 25% ปริมาณ สารประกอบฟีนอลิก เพิ่ม 15% และองค์ประกอบ สารอินทรีย์ (สารประ-กอบฟีโนลิกโมเลกุลเล็ก Simple phenolics สารประกอบฟิวราน furans สารประกอบไพราน pyrans กรดไขมัน fatty acid และสารประกอบแอลกอฮอล์ alkoxide)

...มีปริมาณสัมพันธ์มากกว่ากลุ่มควบคุม และในตัวอย่างของ ข้าวเจ้าหอมมะลิพิษณุโลก 1 ก็มีแนวโน้มเช่นเดียวกัน

การศึกษาและวิเคราะห์...สามารถบ่งได้ว่า นวัตกรรมการประยุกต์พลาสมากับการเตรียมข้าวกล้องงอกมีศักยภาพในลักษณะทางกายภาพที่ดี ร่นระยะการตระเตรียม

...คุณค่าทางโภชนาการเพิ่มสูงและสามารถเพิ่มมูลค่าได้

...

ผลงานชิ้นนี้ยังเป็นงานวิจัย หากสนใจนำไปใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรม ติดต่อกับทีมงาน Rice Chemisitry Research Lab ได้ที่ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มช. ...เวลาราชการ...!!

 

ดอกสะแบง