ชาเครื่องดื่มกลิ่นหอมที่มีผู้บริโภคมากเป็นอันดับสองของโลกรองจากน้ำ เพราะชามีคุณประโยชน์มากมาย ทั้งสารต้านอนุมูลอิสระลดอัตราการเกิดมะเร็ง ลดการเกิดตะกอนในเส้นเลือดฝอยและอื่นๆอีกมาก

ชามีการปลูกในประเทศไทยตามภูเขาทางภาคเหนือของประเทศ โดยกระจายอยู่ในหลายจังหวัด ได้แก่ จ.เชียงใหม่ จ.เชียงราย

ชาแบ่งตามกระบวนการผลิต แบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ ชาเขียว ชาอู่หลง และชาดำ ชาคุณภาพที่ดีต้องเพาะปลูกในสภาพแวดล้อมที่ดี ทั้งดิน น้ำ และอากาศ

แหล่งเพาะปลูกชา นับเป็นสิ่งสำคัญ หากดินและแหล่งน้ำที่ใช้มีโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว แคดเมียมปนเปื้อน

ชาที่เก็บจากแหล่งนั้นก็อาจมีตะกั่ว แคดเมียมปนเปื้อนอยู่ด้วย เมื่อเราทานเข้าไปร่างกายก็ได้รับตะกั่ว และแคดเมียมเข้าไปด้วยเช่นกัน

เมื่อร่างกายได้รับตะกั่ว และแคดเมียมบ่อยๆ จะทำให้เกิดอาการหายใจลำบาก เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก น้ำหนักลดและอาการอื่นๆ

วันนี้สถาบันอาหาร ได้สุ่มเก็บตัวอย่างชา 5 ตัวอย่าง จากพื้นที่ใน จ.เชียงราย และกรุงเทพฯ เพื่อนำมาวิเคราะห์การปนเปื้อนของโลหะหนัก 2 ชนิด คือ ตะกั่วและแคดเมียม

ผลวิเคราะห์ปรากฏว่า มีชา 3 ตัวอย่าง ที่พบตะกั่วปนเปื้อน และมี 1 ตัวอย่าง ที่พบปนเปื้อนเกินค่ามาตรฐานที่กำหนด

ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 (พ.ศ.2529) เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อนที่กำหนดให้มีตะกั่วปนเปื้อนในอาหารได้ไม่เกิน 1 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม

ส่วนแคดเมียมพบการปนเปื้อน 1 ตัวอย่าง

ทางที่ดีก่อนดื่มชา แนะนำให้ใช้น้ำร้อนล้างใบชา เทรินออกก่อนหนึ่งครั้ง เพื่อลดปริมาณสารปนเปื้อน และเพื่อความปลอดภัย.



...

ไทยรัฐ+สถาบันอาหารโครงการอาหารปลอดภัย