สมุนไพร “รางจืด” นั้น ขึ้นชื่อว่าในส่วนใบ สามารถนำมาใช้ขับพิษออกจากร่างกายได้ บรรพชนมีการนำมาใช้สืบต่อความรู้กันมาเป็นเวลานานแล้ว

ลักษณะของรางจืดนั้นเป็นไม้เถา เนื้อแข็ง ใบเดี่ยวใหญ่ประมาณฝ่ามือ ดอกเป็นสีม่วงแกมน้ำเงิน แต่ละถิ่นอาจมีชื่อเรียกต่างกันไปบ้าง เช่น กำลังช้าง เผือก ขอบชะนาง เครือเขาเขียว ยาเขียว (กลาง) คายรางเย็น (ยะลา) จอลอดิเออ ชั้งกะ ปั้งกะล่ะ พอหน่อเตอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ดุเหว่า ทิดพุด (นครศรีธรรมราช) น้ำนอง (สระบุรี)

ถึงแม้ว่าแต่ละถิ่นที่จะเรียกชื่อต่างกัน แต่สรรพคุณนั้นใช้ได้ตรงกัน นั่นคือใช้ขับพิษได้ แต่สำหรับคนที่ไม่เคยใช้อาจจะงุนงงสักหน่อยว่าใช้อย่างไร ปริมาณมากน้อยแค่ไหน

เรื่องนี้คุณพิทักษ์ ตีเหล็ก เขียนตอบในจด หมายข่าว อภัยภูเบศรสาร ของโรงพยาบาลเจ้า พระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี ฉบับเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมาว่า การใช้รางจืดกับคนที่กินยาฆ่าหญ้านั้น ให้ใช้  ใบรางจืดประมาณ 10 ใบสด ตำหรือคั้นสด ผสมกับน้ำซาวข้าวประมาณหนึ่งแก้ว ดื่มทันทีจะได้ผลดีที่สุด สำหรับคนที่ใช้ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้าในการเกษตรควรใช้ก่อนฉีดยาและหลังฉีดยาในวันเดียวกัน

...

อีกวิธีหนึ่งคือใช้ ใบแห้งชงน้ำร้อน หรือต้มน้ำดื่มบ่อยๆ ราวหนึ่งสัปดาห์ หรือจนกว่าอาการจะดีขึ้น

สำหรับเกษตรกรทั่วไปที่ใช้สารเคมีเป็นประจำ สามารถใช้แบบชงชาหรือต้มน้ำดื่มได้สัปดาห์ละ 1-2 ครั้งเป็นประจำ

หากดื่มต่อเนื่องทุกวัน  แนะนำให้รับประทานสัปดาห์เว้นสัปดาห์เนื่องจากรางจืดมีฤทธิ์เป็นยาเย็น อาจทำให้ร่างกายเย็นเกินไปได้

สำหรับคนทั่วไปที่ไม่ได้ใช้ยาฆ่าหญ้า  ใช้รางจืดได้เช่นกันโดยเฉพาะ แก้เมาค้างหรือดื่มหนัก ใช้ได้ทั้งการกินสดๆ และแห้ง คือเอาใบสด 4-5 ใบ ใส่ครกตำผสมน้ำหรือน้ำซาวข้าว คั้นเอาน้ำดื่ม หรือจะใช้ส่วนที่เป็นรากและเถารางจืดสดตำคั้นก็ได้ ส่วนแบบแห้งใช้วิธีชงเป็นชา.