นัก​วิทยาศาสตร์​สหรัฐฯ​สืบ​รู้ความ​ลับของ​ยุง​ที่​เป็น​พาหะ​ของ​โรค​มาลาเรีย​แล้ว​ว่า โปรด​เท้า​ที่​มี​กลิ่น​มาก​กว่า​เนื้อตัว​ส่วน​ใด​ของ​คน​ทั้งหมด

นักศึกษา​ปริญญา​เอก​เ​รม​โก ซู​เออ​ร์ มหาวิทยาลัย​วา​เก​นนิน​เก​น ได้​พบ​จาก​การ​ติดตาม​ศึกษายุง​ตัวเมีย​ที่​เป็น​พาหะ​ของ​โรค​ไข้จับสั่น ​รู้​ว่ามัน​อาศัย​กลิ่น​ก๊าซ​คาร์บอนไดออกไซด์ จาก​ลม​หายใจ​ออก​ของ​คน ตั้งแต่​จาก​ระยะ​ห่างๆ ครั้น​พอ​เข้า​ใกล้ มัน​จะ​เปลี่ยน​ทิศทางมุ่ง​เข้า​จู่โจม​เท้า​ของ​ผู้​ที่​มี​กลิ่น​แรง​เป็น​เป้าหมาย​ทันที

เขา​ยัง​ได้​พบ​ว่า​แบคทีเรีย​ที่​อาศัย​อยู่​ตาม​เท้า​ของ​เรา ทำให้​เกิด​กลิ่น​ต่างๆ ขึ้น 10 ชนิด และ​ยุง​จะ​ได้​กลิ่น​เหล่า​นี้​ได้​ถึง 9 ชนิด แต่​ที่​สำคัญ​เขา​ได้​พบ​ว่า มี​กลิ่น​ที่​เกิด​จาก​แบคทีเรีย​เหล่า​นี้​อยู่ 5 ชนิด ที่​อาจ​นำ​มา​ใช้​เป็น​ยา​ป้องกัน​ยุง​ได้ ด้วย​เหตุ​ว่า​มัน​มี​คุณสมบัติทำให้​ยุง​ไม่ได้​กลิ่น​ก๊าซ​คาร์บอนได​ออกไซด์ที่​ระเหย​ออก​ไป​จาก​ลม​หายใจ​ออก.