กำลังเป็นประเด็นร้อนในแวดวงการเกษตรของไทย ที่มีทั้งผู้สนับสนุนและผู้คัดค้าน เมื่อคณะกรรมการวัตถุอันตราย มีมติด้วยคะแนน 16 ต่อ 5 เสียง ไม่ยกเลิกการใช้สารเคมีเกษตร 3 ชนิด ได้แก่ ‘สารพาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต ในพืช  6 ประเภท ได้แก่ ยางพารา ปาล์ม มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด และไม้ผลที่ขึ้นทะเบียน โดยจะพิจารณาเรื่องนี้อีกครั้งใน 2 ปีข้างหน้า เว้นแต่สามารถหาสารเคมีชนิดอื่นมาทดแทนได้ ส่วนที่เหลืออีก 5 เสียง งดออกเสียง

เรียกว่า การลงมติของคณะกรรมการวัตถุอันตราย เมื่อ 14 ก.พ.62 ได้ยืนยันตามมติเดิมในวันที่ 23 พ.ค.61 อนุญาตให้ใช้ สารพาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต ในพืชเศรษฐกิจหลักของไทยทั้ง 6 ประเภท ได้อีก 2 ปี จากนั้นจึงจะมีการพิจารณากันอีกครั้ง เนื่องจากตอนนี้ต้องฟังข้อมูลจากทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายเกษตรกรที่จำเป็นต้องใช้ เพราะหากยกเลิกทันที เกษตรกรจะได้รับผลกระทบทันที ยังไม่มีสารอื่นมาทดแทนในขณะนี้

ผลการลงมติที่ออกมา ได้สร้างความผิดหวังให้แก่ภาคประชาสังคมอย่างยิ่งหลังจากได้พยายามรณรงค์เรียกร้องให้รัฐบาลไทย ‘แบน’ สารพาราควอต เนื่องจากที่ผ่านมา มีงานวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารพาราควอต  คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต ออกมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างย่ิงในปัจจุบัน มีถึงอย่างน้อย 51 ประเทศทั่วโลกที่ ‘แบน’ ไม่อนุญาตให้ใช้สารพาราควอตไปเรียบร้อย

...

*รู้จักสารพาราควอต คนไทยไม่คุ้น ต้องชื่อนี้ ‘กรัมม็อกโซน’

สารพาราควอต เป็นสารเคมีกำจัดวัชพืชชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นที่นิยมที่สุดในโลก เนื่องจากราคาไม่แพง และไม่จำเป็นต้องใช้ปริมาณมาก แต่เห็นผลในการปราบวัชพืชให้ตายเรียบ โดย สารพาราควอต ออกฤทธิ์หยุดยั้งการเติบของเซลล์วัชพืช เฉพาะส่วนที่เป็นสีเขียว จึงทำลายการสังเคราะห์แสงของใบไม้ เมื่อฉีดพ่นไปโดนส่วนที่เป็นใบสีเขียว จะทำให้วัชพืชแห้งเหี่ยวและตายภายในเวลาแค่ 1-2 ชั่วโมง โดยไม่แพร่กระจายเข้าสู่ระบบรากและโคนต้น อีกทั้งยังสามารถใช้ได้กับพืชผลหลายชนิด

สำหรับในประเทศไทยนั้น พาราควอต เป็นที่รู้จักในชื่อการค้าว่า ‘กรัมม็อกโซน’ (Grammoxone) และถือเป็นยาฆ่าวัชพืช (ยาฆ่าหญ้า) ที่เกษตรกรไทยนิยมใช้มากที่สุดในพืชไร่ ทั้งไร่อ้อย มันสำปะหลัง ยางพารา

*ปี 2560 ไทยนำเข้าสารพาราควอตกว่า 4.4 หมื่นตัน

ตามรายงานของบีบีซี ภาคภาษาไทย ระบุว่า ปี 2560 ไทยได้นำเข้าสารพาราควอต ปริมาณถึง 44,501 ตัน คิดเป็นมูลค่านับ 3,816 ล้านบาท ถือเป็นมูลค่าสูงสุดเป็นอันดับหนึ่งของวัตถุอันตรายที่นำเข้ามาในประเทศไทย ส่วนอันดับ 2 คือ สารไกลโฟเซต ซึ่งไทยนำเข้า 59,852 ตัน คิดเป็นมูลค่า 3,283 ล้านบาท

* ข้อโต้แย้ง เกี่ยวกับอันตรายของสารพาราควอต

บีบีซี รายงานว่า ตามข้อมูลของสำนักงานสิ่งแวดล้อมสหรัฐฯ (EPA) ระบุว่า พาราควอต มีพิษสูง แค่การกินเพียงจิบเดียวก็ทำให้เสียชีวิตได้ โดยไม่มียาถอนพิษ

ในขณะที่ปี 2552 องค์การอนามัยโลก ได้จัดให้สารพาราควอต เป็นสารเคมีอันตรายปานกลาง แต่มีข้อสังเกตในรายงานว่า มีผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวหากถูกดูดซึมเข้าไปในร่างกาย และเป็นอันตรายแก่ชีวิตหากรับประทาน หรือสัมผัสกับผิวหนังในบริเวณกว้าง

นายอำนาจ เกตุขาว แกนนำ เครือข่าย คนอินทรีย์วิถีเมืองลุง และ ภาคี เครือข่าย ร่วม เดินเท้า ไป ยัง ทำเนียบรัฐบาล เมื่อ 19มิ.ย.61 เรียกร้อง ให้ รัฐบาลประกาศ แบน สารเคมีกำจัด ศัตรูพืช วัตถุอันตราย 3 ชนิด คือ พาราควอต - คลอร์ไพลิฟอส - ไกลโซเฟส อย่างไม่มีเงื่อนไข
นายอำนาจ เกตุขาว แกนนำ เครือข่าย คนอินทรีย์วิถีเมืองลุง และ ภาคี เครือข่าย ร่วม เดินเท้า ไป ยัง ทำเนียบรัฐบาล เมื่อ 19มิ.ย.61 เรียกร้อง ให้ รัฐบาลประกาศ แบน สารเคมีกำจัด ศัตรูพืช วัตถุอันตราย 3 ชนิด คือ พาราควอต - คลอร์ไพลิฟอส - ไกลโซเฟส อย่างไม่มีเงื่อนไข

...

*อย่างน้อย 51 ประเทศทั่วโลก แบน พาราควอตกันแล้ว

ตามรายงานของบีบีซี ยังระบุด้วยว่า ปัจจุบันมีประเทศต่างๆ อย่างน้อย 51 ประเทศทั่วโลก ที่ยกเลิกการใช้สารพาราควอต รวมทั้งประเทศในสหภาพยุโรป ที่ยกเลิกเมื่อปี 2550

โดยศาลแห่งสหภาพยุโรป มีคำสั่งยกเลิกการใช้พาราควอต เนื่องจากข้อกังวลด้านสุขภาพ และการประเมินความปลอดภัยในสารเคมี รวมทั้งการไม่นำรายงานผลกระทบต่อโรคพาร์กินสันมาพิจารณา

ส่วนที่เอเชีย มีถึง 9 ประเทศ ได้แก่ จีน กัมพูชา ลาว คูเวต เกาหลีใต้ ศรีลังกา ซีเรีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเวียดนาม ห้ามใช้สารพาราควอต ส่วนประเทศที่จำกัดการใช้ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์

ในขณะที่ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เป็นกลุ่มประเทศที่ยังไม่ยกเลิกพาราควอต แต่จำกัดการใช้อย่างเข้มงวด..