การค้นพบซากดึกดำบรรพ์หรือ ฟอสซิล (fossil) ชนิดใหม่ๆ และข้อโต้แย้งต่างๆ ก่อเกิดความเข้าใจใหม่ๆ เกี่ยวกับบรรพบุรุษมนุษย์และสัตว์ ทำให้เป็นปีที่สำคัญของบรรพชีวินวิทยา เริ่มต้นที่กระดูกโคนขาชื่อ Toumai หรือ Sa- helanthropus tchadensis พบทางตอนเหนือของประเทศชาดเมื่อ พ.ศ.2544 ระบุว่าเก่าแก่ราว 7 ล้านปี เป็นสายพันธุ์ใหม่ในกลุ่มโฮมินิน (hominin) สัตว์ในเผ่าสายพันธุ์มนุษย์ แต่เมื่อต้นปีนี้มีผู้เชี่ยวชาญออกมาแย้งว่ากระดูกน่าเป็นของสัตว์จำพวกลิง 4 เท้า ข้อมูลใหม่อาจเปลี่ยนโฉมหน้าประวัติศาสตร์วิวัฒนาการมนุษย์ก็เป็นได้

และอย่างที่รู้กันว่าไดโนเสาร์ยักษ์เดินท่องไปตามดินแดนแถบแอฟริกันโบราณ อย่างพาราลิไททัน (Paralititan) จากอียิปต์ มีน้ำหนักราว 60,000 กิโลกรัม อาศัยอยู่ในปลายยุคครีเตเชียส หรือแบรคิโอซอรัส (Brachiosaurus) ไดโนเสาร์คอยาวตัวใหญ่จากแทนซาเนีย และสไปโนซอรัส (Spinosaurus) ชนิดกินเนื้อที่พบในประเทศไนเจอร์และแอฟริกาเหนือ ญาติของไทแรนโนซอรัส เร็กซ์ (Tyrannosaurus rex) แต่เมื่อเร็วๆนี้ แนวคิดเกี่ยวกับไดโนเสาร์ยักษ์ได้เปลี่ยนแปลงไป หลังจากพบไดโนเสาร์เลดูมาฮาดี มาฟูเบ (Ledumahadi mafube) อายุ 200 ล้านปีจากแอฟริกาใต้ หนักราว 12,000 กิโลกรัม ซึ่งเป็นไดโนเสาร์ขนาดใหญ่มากในยุคต้นจูราสสิก

นอกจากนี้ การค้นพบซากฟอสซิลสัตว์เลื้อยคลานที่เหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชื่อไซโนดอนต์ (cynodonts) อายุ 190 ล้านปี และกระดูกทารกของมันอีก 38 ซาก ก่อให้เกิดการทบทวนครั้งใหม่เกี่ยวกับวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลาน และที่น่าตื่นเต้นคือการค้นพบสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ 2 สายพันธุ์ในแอฟริกาใต้ โดยเฉพาะเตตระพอด (tetrapods) ที่อาจเชื่อมโยงช่องว่างที่หายไประหว่างปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน และอาจชี้ให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตที่ขึ้นมาสู่บนบกได้.

...

Ledumahadi mafube Credit : Viktor Radermacher