ภารกิจดาวเทียมสำรวจดาวอังคารชื่อมาร์ส เอ็กซ์เพรส (Mars Express) ขององค์การอวกาศยุโรป (European Space Agency-ESA) ถูกปล่อยออกจากโลกเมื่อวันที่ 2 มิ.ย.2546 และเดินทางไปถึงดาวอังคารใน 6 เดือนต่อมา ดาวเทียมได้ยิงเครื่องยนต์ต้นกำลังเข้าสู่วงโคจรรอบดาวเคราะห์สีแดงเมื่อวันที่ 25 ธ.ค.ในปีเดียวกัน ปี พ.ศ.2561 นี้ก็เป็นวาระครบรอบ 15 ปีของจุดเริ่มต้นแผนการด้านวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของดาวอังคาร

Credit : NASA MGS MOLA Science Team
Credit : NASA MGS MOLA Science Team

เมื่อไม่นานมานี้ยานมาร์ส เอ็กซ์เพรส ได้ค้นพบสิ่งที่บ่งชี้ว่าใต้พื้นผิวดาวอังคารที่เป็นน้ำแข็งนั้นเคยเป็นทะเลสาบ และล่าสุดกล้องถ่ายรูปสเตอริโอความละเอียดสูง (High Resolution Stereo Camera-HRSC) บนยานก็ได้บันทึกภาพความสวยงามของแอ่งน้ำแข็งโคโรเลฟ คราเตอร์ (Korolev crater) ที่ตั้งชื่อตามเซอร์เก โคโรเลฟ บิดาแห่งเทคโนโลยีอวกาศโซเวียต แอ่งแห่งนี้ตั้งอยู่บนที่ราบทางตอนเหนือของดาวอังคาร ในแอ่งมีน้ำแข็งหนาราว 1.8 กิโลเมตร โดยภาพถ่ายมาเป็นแถบจำนวน 5 แถบในวงโคจรที่แตกต่าง และนำมารวมเข้าด้วยกันสร้างเป็นภาพเดียว ทำให้มีมุมมองที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นของภูมิประเทศทั้งในและรอบแอ่งโคโรเลฟที่กว้างราว 82 กิโลเมตร

...

Credit : ESA/DLR/FU Berlin, CC BY-SA 3.0 IGO
Credit : ESA/DLR/FU Berlin, CC BY-SA 3.0 IGO

การที่แอ่งเป็นน้ำแข็งก็เนื่องมากจากปรากฏการณ์ที่เรียกว่าการควบแน่นด้วยความเย็น (cold trap) ซึ่งส่วนที่ลึกที่สุดของแอ่งโคโรเลฟทำหน้าที่เป็นกับดักความเย็นตามธรรมชาติ อากาศที่เคลื่อนไหวเหนือน้ำแข็งที่เย็นตัวลงและจมลง ก่อให้เกิดชั้นของอากาศเย็นที่อยู่เหนือน้ำแข็ง ทำให้น้ำแข็งในแอ่งมีเสถียรภาพของความเย็นอย่างถาวร.