...โลกยากปฏิเสธเทคโนโลยีนิวเคลียร์มีส่วนช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของผู้คนให้ดีขึ้นมานานแล้วหลายทศวรรษ เครื่องมือและอุปกรณ์วิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ที่ใช้งานได้จริงยุคปัจจุบันนี้นั้นมีดีมากกว่าแค่ผลิตไฟฟ้า หลายประเทศใช้นิวเคลียร์ช่วยตอบสนองงานด้านการแพทย์ การเกษตร และอุตสาหกรรมอื่นๆมากมาย
วิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ถูกนำประยุกต์ใช้งานด้านเกษตรอย่างกว้างขวาง ช่วยลดความอดอยากทั่วโลกลงได้อย่างมาก เพราะเก็บเกี่ยวผลผลิตการเกษตรได้มากขึ้นและช่วยป้องกันอาหารเน่าเสียดีขึ้น
กระบวนการฉายรังสีถูกนำมาใช้กับเมล็ดพันธุ์พืชถึงชั้นโครโมโซมของเมล็ด ช่วยให้พืชที่เพาะปลูกมีคุณสมบัติเฉพาะตัวโดดเด่นยิ่งขึ้น เก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็วขึ้น พืชทานลมและทนศัตรูพืชดีขึ้น
และสำคัญที่สุดคือ ไม่มีธาตุกัมมันตรังสีหลงเหลืออยู่ในพืช ดังนั้น เทคนิคนี้จึงถือว่าปลอดภัยต่อมนุษย์...
ประเด็นการป้องกันผลผลิตทางการเกษตรเน่าเสียคือสิ่งที่ทั่วโลกอยากเอาชนะมานาน ปัญหานี้สำคัญมากในพื้นที่การเกษตรเขตอากาศร้อนชื้น เทคโนโลยีฉายรังสีอาหารจะใช้รังสีแกมมาช่วยทำลายแบคทีเรีย ช่วยยืดอายุผลผลิตที่วางจำหน่าย เป็นอีกทางเลือกหนึ่งใช้แทน “วิธีการรมยา” และ “การถนอมอาหารด้วยสารเคมี”
การฉายรังสีเป็นวิธีการปลอดภัยและได้ผลมากกว่า ทั้งยังไม่มีสารพิษตกค้างในอาหาร...
ส่วนการฉายรังสีเพื่อควบคุมศัตรูพืชผ่านเทคนิค “ทำให้แมลงเป็นหมัน” ทั้งใช้วิธีการเดียวกันนี้ “ต่อยอด” ฉายรังสีป้องกันโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะนำโรค อาทิ ไข้ซิก้า ไข้เลือดออกและไข้ชิคุนกุนยา โดยเทคนิคการใช้แมลงเป็นหมัน (SIT) คือหนึ่งในเทคนิคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุดเพื่อควบคุมสัตว์รบกวนจำพวกแมลง
ผลลัพธ์ที่ได้ทางเศรษฐกิจคือ ปริมาณผลผลิตการเกษตรเพิ่มขึ้น การสูญเสียอาหารเน่าเสียน้อยลงและการใช้ยาปราบศัตรูพืชลดลง หลายสิบประเทศนำวิธีการและเทคนิคเหล่านี้ไปใช้แล้ว รวมถึงเวียดนาม จีน โมร็อกโก โรมาเนีย และชิลี
...
“องค์การนิวเคลียร์แห่งสหพันธรัฐรัสเซีย” (รอสอะตอม) อ้างงานวิจัยเหล่านี้ในฐานะผู้นำอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ระดับโลก...ข้อมูลเท็จจริงหรือข้อดีข้อด้อยมากน้อยเพียงใดคงต้องแสวงขยายผลกันเพิ่มเติม...
อานุภาพ เงินกระแชง