เปิดใจ เด็กนักเรียนเคยเข้าค่ายธรรมะโหด เผย มีการสร้างสถานการณ์ให้ครูขอโทษเด็ก บีบบังคับให้เด็กสารภาพว่าเป็นเพศที่สาม เชื่อรุ่นน้องป่วยพบจิตแพทย์ มีส่วนจากค่ายธรรมะ...
จากกรณีกระทู้แฉค่ายธรรมะ บังคับเด็กร่วมกิจกรรม ไม่เช่นนั้นจะไม่ผ่าน โดยกิจกรรมมีการเปิดคลิปน่ากลัว สะเทือนใจ กดดันจนเด็กร้องไห้ตลอด 3 วันในค่าย ทำให้หลังจบกิจกรรมมีเด็กบางคนเกิดอาการแปลกๆ ร้องไห้ทุกวัน ก้มกราบทุกคนในบ้านทุกคืน จนต้องพาไปพบจิตแพทย์ และต้องหยุดเรียน 1 ปี
ล่าสุด วันที่ 27 พ.ย.61 ผู้สื่อข่าวได้สอบถาม นายกานต์ โสมสัย นิสิตชั้นปีที่ 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ตนเองเคยเข้าค่ายธรรมะ เมื่อปี 2556 ตอนนั้นเรียนอยู่ชั้น ม.5 ในเรียนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดชุมพร ทางโรงเรียนจัดให้มีกิจกรรมเข้าค่ายธรรมะ เป็นเวลา 3 วัน 2 คืนที่โรงเรียน แจ้งว่าเพื่อมุ่งเน้นให้นักเรียนมีความอดทน รักเพื่อน รักครู
นายกานต์ เล่าว่า กิจกรรมแรกที่ต้องทำคือ ให้นักเรียนเข้าห้องประชุม ทุกคนต่างถอดรองเท้าไว้หน้าห้อง แต่ถอดแบบระเกะระกะ ทางรุ่นพี่และครู จึงนำเชือกรองเท้าที่ถอดไม่เป็นระเบียบ มามัดเชื่อมกันเป็นคู่ แล้วนำไปแขวนคอ รวมถึงมื้อเที่ยงระหว่างกินข้าว พระอาจารย์ที่เป็นวิทยากรได้เปิดวิดีโอ การฆ่า ทารุณ เชือดสัตว์ อุบัติเหตุ และภาพที่มีแต่เลือดสาด คาดว่าเพื่อให้นักเรียนกินข้าวไม่ลง ข้าวที่เหลือก็นำไปเททิ้ง
จากนั้นรุ่นพี่และครู จะนำข้าวที่เหลือไปเทรวมกัน แล้วนำไปให้ครูกินเพื่อให้นักเรียนสำนึกผิด สอนให้รู้ว่าไม่ควรกินข้าวทิ้งขว้าง โดยอ้างว่าเป็นข้าวที่กินเหลือ แต่ความจริงคือข้าวใหม่ แต่ก็ทำให้รู้สึกแย่ ซึ่งตนในฐานะผู้เคยร่วมเข้าค่ายธรรมะก็ไม่เข้าใจว่า กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ทำไมต้องใช้วิธีการแบบนี้
...
นอกจากนี้ มีการสร้าง "ความกดดัน" เช่นมีการบีบบังคับให้สารภาพว่าใครเป็นเพศที่สาม ใครดื่มสุรา เสพสารเสพติด หรือสร้างสถานการณ์ให้ครูมาขอโทษนักเรียน เนื่องจากที่ทำหน้าที่ครูไม่ดี ซึ่งตนมองว่าไม่ใช่หน้าที่ของครูที่ต้องมาขอโทษแบบนี้ ในตอนนั้นยอมรับว่า หมดศรัทธาในศาสนา ทำให้สร้างเกราะในการใช้ชีวิตในค่าย จึงไม่มีผลต่อสภาพจิตใจมากนัก ส่วนคนอื่นๆ หลังจบค่ายก็ไม่มีใครป่วยทางจิต
ส่วนรุ่นน้องคนที่ป่วย เชื่อว่า สาเหตุ มาจากการเข้าค่ายธรรมะ เพราะก่อนเข้าค่ายน้องเป็นคนเรียนเก่งมาก สดใส ร่าเริง พอหลังจบค่ายน้องมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป
นายกานต์ ยังระบุอีกว่า หลังตัวเองได้เข้ามาเรียนในคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้รับความรู้ว่า ค่ายธรรมะ เป็นกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แต่ที่โรงเรียนทำ ไม่ได้พัฒนานักเรียนแต่อย่างใด เป็นการทำผิดวิธีด้วยซ้ำ ยืนยัน ไม่ได้ว่าโรงเรียนไม่ดี แต่อยากให้ทางโรงเรียนออกมาชี้แจงวัตุประสงค์ของการจัดกิจกรรมค่ายธรรมะ และอยากให้กรณีน้องที่ป่วยเป็นกรณีตัวอย่าง
ส่วนประเด็นที่มีการบังคับให้นักเรียนทุกคนต้องเข้าค่ายธรรมมะ มองว่าการจัดการเรียนการสอนด้านจริยธรรม ควรมองที่ตัวผู้เข้าค่ายด้วยว่าเป็นอย่างไร เหมาะสมหรือไม่ เด็กแต่ละคนทนความกดดันได้ในระดับที่ต่างกัน ควรหากิจกรรมที่เหมาะสมกับเด็กนักเรียน และเกิดประโยชน์ให้มากที่สุด.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง