มาต่อกันที่งานเสวนา “การพัฒนาเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารสู่ตลาดโลก” โดยสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม)...ข้าวไทย จะแข่งขันในอุตสาหกรรมการผลิตข้าวได้ ต้องพัฒนาทุกด้าน ควบคู่กันไปทั้งห่วงโซ่การผลิต โดยมีหัวใจหลัก ใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม เพิ่มมูลค่า
แต่อีกนัยที่เป็นหัวใจของการพัฒนาดังกล่าว ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ซีพี ออลล์ มองไปถึงเจเนอเรชันใหม่ ที่ควรให้เข้ามาบริหารจัดการด้านการเกษตรและอาหารอย่างมืออาชีพ สามารถดึงเอาทรัพยากรมาบูรณาการเข้ากับองค์ความรู้ ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้
เพราะคนรุ่นใหม่พวกนี้มีความรู้ความเข้าใจเทรนด์พฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคดิจิทัล ความสนใจอาหารเพื่อสุขภาพของคนยุค 4.0 ปรับเปลี่ยนเป็น “FoodTech” การผสานระหว่างธุรกิจและเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน ควรส่งเสริมความสะดวกต่อกันทั้งผู้ซื้อผู้ขาย
รวมถึงการเตรียมพร้อมกับสังคมผู้สูงอายุ
ที่ผู้ประกอบการต้องปรับตัวก้าวทันเสมอ โดยเฉพาะขณะนี้ เทคโนโลยีคือจุดแข็งของธุรกิจอาหาร ต้องกล้าลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเพิ่มคุณภาพ โดยใช้นวัตกรรมช่วยสร้างมูลค่า ถ้าจะส่งออกก็ต้องศึกษากฎหมายของประเทศนั้นๆ
กล่าวโดยสรุป เกษตรยุคใหม่คือการสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าและบริการ สร้างสรรค์นวัตกรรมด้วยการวิจัยและพัฒนา สถานประกอบการ จะต้องเตรียมคนในอนาคตให้มีทักษะพร้อมทำงานจริง
...
และสถาบันการศึกษาจึงควรเตรียมความพร้อมบุคลากรรุ่นใหม่ของประเทศด้านการเกษตรและอาหาร ปรับเปลี่ยนหลักสูตรให้เข้ากับยุคสมัย ให้ผู้สำเร็จการศึกษาสั่งสมความเชี่ยวชาญเฉพาะทางพร้อมทำงาน มีความรู้ความสามารถตลอดห่วงโซ่ธุรกิจทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน อันเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความมั่นคงทางอาหาร พลังงาน สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
เพื่อให้ได้บัณฑิตคุณภาพตรงตามความต้องการของสถานประกอบการ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหาร พัฒนาการผลิตและธุรกิจได้อย่างยั่งยืนในตลาดโลก สอดคล้องไปกับนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศชาติ.
สะ–เล–เต