จากความร่วมมือ ร่วมใจของหลายหน่วยงาน ทั้ง หน่วยซีล กู้ภัย และอื่นๆ ที่ร่วมภารกิจปฏิบัติการช่วยเหลือนักฟุตบอลเยาวชนทีมหมูป่า และผู้ฝึกสอน รวม 13 ชีวิต ที่ติดในถ้ำหลวง วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย อย่างแข็งขันตลอด 24 ชั่วโมงจนภาระกิจการค้นหา 13 ชีวิตทีมหมูป่า ได้สำเร็จแล้ว เมื่อคืนวันที่ 2 ก.ค. 61 โดยใช้เวลา 10 วันนั้น แสดงให้เห็นถึงในยามเกิดเหตุคับขัน คนไทยไม่เคยทิ้งกัน และมีน้ำใจช่วยกันอย่างเต็มที่

และยังมีอีกปรากฏการณ์ที่ทำให้ได้เรียนรู้ คือ นอกจากภูมิความรู้, ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในการค้นหา อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญ นั่นคือ การนำเทคโนโลยีมาใช้ค้นหาทั้ง 13 ชีวิต รศ.ดร.ชัยวัฒน์ คุประตกุล กูรูและผู้คร่ำหวอดด้านวิทยาศาสตร์เมืองไทย เปิดเผยกับ ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ ถึงประเด็น การช่วยคนที่ติดอยู่ในสถานการณ์คับขัน หรือวิกฤติ ที่ใกล้เคียงกรณี 13 ชีวิตติดถ้ำหลวง หรืออุบัติภัย ภัยพิบัติธรรมชาติอื่นๆ ที่เคยเกิดขึ้นในโลก เช่น แผ่นดินไหว ตึกถล่ม เครื่องบิน MH370 เทคโนโลยีช่วยชีวิตอย่างไร

ปริศนาการหายไปของเครื่องบิน สายการบินมาเลเซีย แอร์ไลน์ส เที่ยวบิน MH370 กัวลาลัมเปอร์-ปักกิ่ง พร้อมผู้โดยสารและลูกเรือ 239 ชีวิต ตั้งแต่ 8 มีนาคม 2557
ปริศนาการหายไปของเครื่องบิน สายการบินมาเลเซีย แอร์ไลน์ส เที่ยวบิน MH370 กัวลาลัมเปอร์-ปักกิ่ง พร้อมผู้โดยสารและลูกเรือ 239 ชีวิต ตั้งแต่ 8 มีนาคม 2557

...

ยุคแรก การกู้ภัย ใช้เพียงคนค้นหา

โดยที่ รศ.ดร.ชัยวัฒน์ ขอเริ่มเล่าถึงวิวัฒนาการของเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยค้นหาและกู้ภัย หรือที่เรียกใช้กันทั่วโลกว่า Search and Rescue ซึ่งในยุคแรกจะใช้เฉพาะคนอย่างเดียว โดยอาศัยข่าว และเบาะเเสต่างๆ เท่าที่มีซึ่งช่วยได้สำเร็จ และไม่สำเร็จบ้าง

แต่พอเข้ายุคใหม่ มีเทคโนโลยีใหม่ที่ช่วยในการมองเห็นในที่มืด หรือทะลุสิ่งกีดขวางและจับสัญญานความเคลื่อนไหวที่เล็กน้อย จนกระทั่งถึงกลางศตวรรษที่ 20 ก็มีเทคโนโลยีใหม่คือ ดาวเทียม เข้ามามีบทบาทสำคัญช่วยในปฏิบัติการค้นหา แล้วต่อมาก็เป็นเครือข่ายการสื่อสารทั่วโลก เกิดจากการทำงานร่วมกันของคอมพิวเตอร์กับดาวเทียมสื่อสาร และสายเคเบิ้ล

การใช้ดาวเทียม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ แบบเฉื่อย (Passive) มีกล้องตรวจจับสัญญาณจากพื้นโลก ซึ่งรับสัญญาณอย่างเดียว อีกชนิดเป็นแบบแอคทีฟ (Active) ไม่ใช่แค่ถ่ายภาพ รับสัญญาณเท่านั้น แต่สามารถส่งสัญญาณได้ด้วย เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทั้งส่วนที่เป็นแสงสว่าง และส่วนที่ตามองไม่เห็น คือ อินฟาเหรด, ไมโครเวฟ, วิทยุ, รังสีอัลตร้าไวโอเล็ต, รังสีเอ็กซ์, รังสีแกรมม่า โดยส่งมาที่ผิวโลก แล้วจับสัญญาณสะท้อนกลับคืน แล้วดูว่าสัญญานเปลี่ยนไปอย่างไร

“การใช้ดาวเทียมช่วยในการค้นหา ใช้ได้ในประเทศทั่วโลกที่เป็นทะเลทราย เช่น ซาอุดีอาระเบีย แต่โดยมากจะนำไปใช้ในปฏิบัติการทหารในสงครามทะเลทราย เนื่องจากทำให้เห็นคนในตอนกลางคืนได้ หากใช้รังสีอินฟราเรด โดยสวมหน้ากากที่มีอินฟราเรด มองทะเลทราย บ้าน ป่า คนเคลื่อนไหว ในยามค่ำคืนได้ชัดดั่งกลางวัน” รศ.ดร.ชัยวัฒน์ ยกตัวอย่าง พร้อมระบุประเทศในสแกนดินีเวีย ซึ่งเกิดเหตุเรือหายบ่อย และกรณี เครื่องบิน MH370 ของมาเลเซียที่หายไปอย่างลึกลับ

ทะเลในออสเตรเลียใช้โดรนตรวจจับการเคลื่อนไหวของฉลาม เพื่อป้องกันคนตกเป็นเหยื่อถูกฉลามทำร้าย
ทะเลในออสเตรเลียใช้โดรนตรวจจับการเคลื่อนไหวของฉลาม เพื่อป้องกันคนตกเป็นเหยื่อถูกฉลามทำร้าย
โดรน ไปได้ทุกแห่งที่ต้องการ แต่บินได้ไม่ไกล

เทคโนโลยีต่อมา เป็นเทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์ ดังเช่น โดรน โดย รศ.ดร.ชัยวัฒน์ ชี้แจงคุณสมบัติ บินไปทุกแห่งได้เร็ว และควบคุมให้บินตามจุดที่ต้องการ จอดนิ่งในอากาศได้ ถ้ามีจุดที่สงสัย สามารถซูมจากภาคพื้นดิน เพื่อให้ได้ภาพที่คมชัด ประมวลผลในลักษณะออฟไลน์ คือ ถ่ายรูปมาก่อน แล้วมาประมวลผลในคอมฯ

...

ดังกรณี ที่ถ้ำหลวง ซึ่งทีมทหารนาวิกโยธินอเมริกัน จากฐานทัพเรือ เกาะโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ก็ร่วมใช้โดรนที่ตรวจจับความร้อน บินสแกนถ้ำหลวง และปากถ้ำ พร้อมมีเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์หลายชุดในการประมวลผลที่ทำงานผสานกัน และใช้ค้นหาปล่อง ได้ และทีมวิศวกร ปตท.สผ. ร่วมกับกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กรมทรัพยากรธรณีก็นำโดรน พื้นที่ 1-2 ตารางกิโลเมตร ถ่ายภาพเพื่อทำแผนที่อย่างละเอียด แบบ 3 มิติ ช่วยในการวางแผนที่ให้ทีมกู้ภัยดำเนินการต่อ

“แต่หากใช้ในปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัย ก็มีข้อจำกัด คือ บินได้ไม่ไกล ในปัจจุบันมีการนำโกรยไปใช้มากในการทำข่าวด้วย” รศ.ดร. ชัยวัฒน์ให้ทัศนะ

แผ่นดินไหวรุนแรง 7.9 เขย่าเนปาล เมื่อ เม.ย. 2558
แผ่นดินไหวรุนแรง 7.9 เขย่าเนปาล เมื่อ เม.ย. 2558

...

หุ่นยนต์แมลง หรืองู เทคโนโลยีใหม่ กำลังพัฒนา ค้นหาผู้ประสบภัยจากการเต้นของหัวใจ

นอกจากนี้ยังมีเรื่องน่าสนใจ ในกรณีคนหายในถ้ำก็ส่งเรือดำน้ำหุ่นยนต์เข้าไปสำรวจได้ รศ.ดร.ชัยวัฒน์ ยังเปิดเผยข้อมูลอีกว่า มีการพัฒนาเป็นหุ่นยนต์เทคโนโลยีซึ่งกำลังพัฒนา ในการนำมาช่วยปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัย โดยเฉพาะเหตุ ตึกถล่ม หรือเกิดเเผ่นดินไหว มีคนติดอยู่ใต้ซากอาคาร

เป็นหุ่นยนต์มีลักษณะคล้ายแมลง หรืองู จะเลื้อยไปตามซอกตามช่อง เพื่อค้นหาคนที่ติดข้างใน หากมีการเคลื่อนไหวเล็กๆ น้อยๆ ที่รู้ว่าเป็นคน หากยังมีชีวิตอยู่ โดยมีตัวเซนเซอร์ตรวจจับแม้แต่การเต้นของหัวใจ หรือการเคลื่อนไหวเล็กๆ น้อยๆ ของคนที่ยังมีชีวิตอยู่

 “กรณีคนหลง หรือติดใต้ตึกถล่ม ก็ใช้หุ่นยนต์เล็กๆ เลื้อยหรือ มุดตามซอกซอนได้”

อุบัติภัยรุนแรงในรอบปี 58 แผ่นดินไหว 7.9 ที่เนปาล
อุบัติภัยรุนแรงในรอบปี 58 แผ่นดินไหว 7.9 ที่เนปาล

...

มือถือไม่ง้อไฟ ชาร์จผ่านไวไฟ มิติสุดล้ำ

อย่างไรก็ดี สำหรับเทคโนโลยีในอนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้น รศ.ดร.ชัยวัฒน์ เปิดเผยว่า นอกจากการใช้ดาวเทียมค้นหา ระบบการสื่อสารทั่วโลก ที่ปัจจุบันเชื่อมต่อกันหมดดังกล่าวข้างต้นแล้ว ตอนนี้กำลังพยายามพัฒนาเทคโนโลยีนำมาใช้ ในปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยจากเครื่องมือสื่อสารทุกชนิดโดยเฉพาะอย่างยิ่ง โทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะมีส่วนแสดงอัตลักษณ์เฉพาะตัวของแต่ละเครื่อง เครือข่ายศูนย์จะทราบ เพราะฉะนั้นสามารถไปค้นหาตำแหน่งการติดหรือสูญหายได้ เช่น คนหลงป่า คนติดบนภูเขา

แล้วปัญหาจากการที่โทรศัพท์มือถือแบตหมดล่ะ?

13 ชีวิตติดถ้ำหลวง นาน 9 วัน ถูกค้นพบเมื่อคืนวันที่ 2 ก.ค. 61
13 ชีวิตติดถ้ำหลวง นาน 9 วัน ถูกค้นพบเมื่อคืนวันที่ 2 ก.ค. 61

“มีการวิจัยและพัฒนาที่กำลังมีการกล่าวถึงกันในวงการวิชาการ คือ การชาร์จแบตมือถือจากทางไกล ซึ่งในปัจจุบันก็สามารถชาร์จแบตโดยไม่ใช้สายได้แล้ว คือ ชาร์จโดยใช้ไวไฟ แต่เป็นเพียงระยะใกล้ รศ.ดร.ชัยวัฒน์กล่าว

จากกรณีของถ้ำหลวงนี้ เป็นบทเรียนให้รู้ว่าแม้ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีทุกอย่าง แต่เทคโนโลยีก็ช่วยได้มาก ซึ่งการค้นหาและกู้ภัยจะสำเร็จได้ รศ.ดร.ชัยวัฒน์ ระบุว่า มีปัจจัย 2 สิ่งสำคัญ คือ คน กับเทคโนโลยี!

รศ.ดร.ชัยวัฒน์ คุประตกุล
รศ.ดร.ชัยวัฒน์ คุประตกุล