นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 ที่องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือองค์การนาซา ร่วมมือกับองค์การอวกาศยุโรปและหน่วยงานอวกาศของอิตาลี ในภารกิจส่งยานอวกาศแคสสินีไปสำรวจดาวเสาร์ ซึ่งภารกิจนี้ได้สิ้นสุดลงในปี พ.ศ.2560 โดยยานดังกล่าวได้เผาไหม้ร่วงจมลงสู่พื้นดาวเสาร์ไปเป็นที่เรียบร้อย แต่ข้อมูลที่ยานเก็บรวบรวมไว้คือสิ่งที่มีคุณค่ามหาศาลต่อนักวิทยาศาสตร์และนักดาราศาสตร์

ล่าสุด ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์กในเยอรมนี ได้นำข้อมูลจากยานแคสสินีมาตรวจสอบและค้นพบข้อมูลที่น่าตื่นเต้นของดวงจันทร์เอนเซลาดัส (Enceladus) จันทร์บริวารดวงหนึ่งของดาวเสาร์ ที่สงสัยมาเนิ่นนานว่าจะเอื้อต่อการอาศัยอยู่ของสิ่งมีชีวิต โดยพบโมเลกุลสารอินทรีย์ที่มีความซับซ้อนและมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตพวยพุ่งออกมาพร้อมกับน้ำพุร้อน ผ่านรอยแตกของเปลือกน้ำแข็งบนผิวดาว นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่า สิ่งที่ค้นพบนี้แสดงให้เห็นว่าสารประกอบอินทรีย์บนพื้นผิวดาวและความผันผวนตามฤดูกาลของก๊าซมีเทนในชั้นบรรยากาศ ถือเป็นหลักฐานชิ้นเยี่ยมที่บ่งบอกว่าในครั้งโบราณกาลดาวเคราะห์เพื่อนบ้านของโลกเรานั้นอาจมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่

อย่างไรก็ตาม แม้ดวงจันทร์เอนเซลาดัสอาจจะมีสภาวะที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้จริง แต่ก็เป็นไปได้เช่นกันว่าสารประกอบอินทรีย์ที่พบนี้ อาจเกิดขึ้นได้จากแหล่งที่มาอื่นๆ เช่น จากอุกกาบาต หรืออาจเกิดจากกิจกรรมในปล่องน้ำร้อนใต้ทะเลที่อยู่ลึกลงไปในดวงจันทร์เอง แต่ก็ยังไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าขณะนี้บนดวงจันทร์เอนเซลาดัสมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่.